ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
(รัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี
การปกครองของไทยสมัยรัตนโกสินทร์
กฎหมายและการศาล
เศรษฐกิจสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สภาพสังคมและการศึกษา
การศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี
วรรณกรรมและศิปลกรรม
การป้องกันเอกราชของประเทศ
ความสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง
ประสูติเมื่อวันพุธแรม 4 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง พ.ศ. 2279 เป็นบุตรคนที่ 4
ของหลวงพินิจอักษร ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)
และเจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นพระนมในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เมื่อพระชนมายุได้ 21 ปี ทรงผนวชอยู่ที่วัดมหาทะลาย
เมื่อลาสิกขาบทออกมาได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กของพระเจ้าอุทุมพร
เมื่อพระชนมายุได้ 24 พรรษา ทรงดำรงตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี
ต่อมาได้แต่งงานกับนางสาวนาค พระชนมายุได้ 32 พรรษา
ได้เข้ามารับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา
ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เป็นพระยายามราชและเป็นเจ้าพระยาจักรี
ใน พ.ศ. 2320
ได้รับความดีความชอบที่ไปปราบหัวเมืองลาวได้
จึงได้รับพระราชทานตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และใน พ.ศ.2525
ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดีฯ
หรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงครองราชย์อยู่ 28 ปี
เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคชรา เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2352 มีพระชนมายุได้ 74 พรรษา
ถึงสมัยรัชกาลที่ 9 ทรงได้รับพระราชสมัญญาเป็น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ขณะเมื่อพระองค์ได้สถาปนาขึ้นเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
ช่วงระยะเวลานั้นได้สืบเนื่องมาจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
และการรบพุ่งกันมากในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บ้านเมืองทรุดโทรมเสียหายมาก
ดังนั้นพระองค์จึงต้องฟื้นฟูบ้านเมืองโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะฟื้นฟูอำนาจของอาณาจักรไทยขึ้นมาใหม่
ทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรม
โดยสืบทอดงานต่อจากสมัยของพระเจ้ากรุงธนบุรีซึ่งมีระยะเวลาค่อนข้างสั้น เช่น
การฟื้นฟูอำนาจทางการเมือง ได้แก่ สถาปนาศูนย์กลางอันมั่นคงของอาณาจักร เช่น
การสร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในอาณาจักร
การทำศึกสงครามป้องกันเอกราชของประเทศ
การขยายอำนาจและการรักษาอิทธิพลของไทยในเขตประเทศราช การฟื้นฟูความเจริญวัฒนธรรม
เช่น ขนบธรรมเนียมราชประเพณีต่างๆ การฟื้นฟูศาสนา การฟื้นฟูระบอบการปกครองและกฎหมาย
การฟื้นฟูศิลปกรรมต่างๆ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงเป็นผู้วางรากฐานการฟื้นฟูเหล่านี้ไว้
และรัชกาลที่ 2 และ 3 ทรงประสานงานต่อมา
สำหรับนโยบายการรักษาเอกราชความมั่นคงประเทศนั้น
นอกจากจะต้องทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องการรุกรานไทยแล้ว
ไทยยังต้องดำเนินนโยบายทางการทูตอย่างระมัดระวังกับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่ออย่างใกล้ชิดกับไทยด้วย