สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
สังคมศึกษา
(มัธยมศึกษาตอนปลาย)
สภาพภูมิศาสตร์กายภาพ
ลักษณะปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สำคัญและการป้องกันอันตราย
วิธีใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยประชาชนชุมชน
องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน
ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรดิน
ปัญหาการใช้ที่ดินไม่เหมาะสม และไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่
การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมอย่างไม่ถูกหลักวิชาการ ขาดการบำรุงรักษาดิน
การปล่อยให้ผิวดินปราศจากพืชปกคลุม ทำให้สูญเสียความชุ่มชื้นในดิน
การเพาะปลูกที่ทำให้ดินเสีย การใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืชเพื่อเร่งผลิตผล
ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพและสารพิษตกค้างอยู่ในดิน
การบุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตป่าไม้บนพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
รวมทั้งปัญหาการขยายตัวของเมืองที่รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม
และการนำมาใช้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม
หรือการเก็บที่ดินไว้เพื่อการเก็งกำไร โดยมิได้มีการนำมาใช้ประโยชน์แต่อย่างใด
นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของประชากรประกอบด้วยกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้น
ทำให้ความต้องการใช้ที่ดินเพื่อการขยายเมือง
และอุตสาหกรรมเพิ่มจำนวนตามไปด้วยอย่างรวดเร็ว โดย
ปราศจากการควบคุมการใช้ที่ดินภายในเมืองให้เหมาะสม
เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในเมือง หลายประการ เช่น ปัญหาการตั้งถิ่นฐาน
ปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม ปัญหาการจราจร ปัญหาสาธารณสุข ปัญหาขยะมูลฝอย
และการบริการสาธารณูปโภคไม่เพียงพอ
นอกจากนั้นปัญหาการพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินโดยธรรมชาติ เช่น การชะล้าง การกัดเซาะของน้ำและลม เป็นต้น และที่สำคัญคือ ปัญหาจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การทำลายป่า เผ่าป่า การเพาะปลูกผิดวิธี เป็นต้น ก่อให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดินทำให้ใช้ประโยชน์จากที่ดินได้ลดน้อยลง ความสามารถในการผลิตทางด้านเกษตรลดน้อยลงและยังทำให้เกิดการสทับถมของตะกอนดินตามแม่น้ำ ลำคลอง เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เป็นเหตุให้แหล่งน้ำดังกล่าวตื้นเขิน รวมทั้งการที่ตะกอนดินอาจจะทับถมอยู่ในแหล่งที่อยู่อาศัย และที่วางไข่ของสัตว์น้ำ อีกทั้งยังเป็นตัวกั้นแสงแดดที่จะส่องลงสู่พื้นน้ำ สิ่งเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ นอกจากนี้ปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน อันเนื่องมาจากสาเหตุดั้งเดิม
ตามธรรมชาติ คือ การที่มีสารเป็นพิษเกิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดดิน เช่น มีโลหะหนัก มีสารประกอบที่เป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้ดินเค็ม ดินด่าง ดินเปรี้ยวได้ โดยเฉพาะปัญหาการแพร่กระจายของดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินกิจกรรมเพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างไม่เหมาะสม และขาดการจัดการที่ดี เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำในบริเวณที่มีเกลือหินสะสมอยู่มาก น้ำในอ่างจะซึมลงไปละลายเกลือหินใต้ดิน แล้วไหลกลับขึ้นสู่ผิวดินบริเวณรอบ ๆ การผลิตเกลือสินเธาว์ในเชิงพาณิชย์ โดยการสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาต้มหรือตาก ทำให้ปัญหาดินเค็มแพร่ขยายออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น ยังมีสาเหตุที่เกิดจากสารพิษและสิ่งสกปรกจากภายนอกปะปนอยู่ในดิน เช่น ขยะจากบ้านเรือน ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมีตกค้างจากการใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เป็นต้น ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ป่าไม้
ภูเขา และแร่ธาตุ
แหล่งน้ำ
ทรัพยากรดิน
สัตว์ป่า สัตว์น้ำ
มลพิษทางอากาศ