สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม

การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

 

นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ปัญหาสภาพแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

1. ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาสาขาเกษตรกรรม ได้แก่ การเกิดปัญหาการลดลงของป่าไม้เพราะการบุกรุกเบิกพื้นที่ป่าเพื่อนำมาเป็นพื้นที่การเพาะปลูก เกิดปัญหาการเสื่อมโทรมของดินอันมาจากการทำไร่เลื่อนลอย การขาดแคลนน้ำใช้และการที่แหล่งน้ำเกิดเน่าเสีย เนื่องจากการใช้เคมีภัณฑ์และยาปราบศัตรูพืชมากเกินไป

2. ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาสาขาอุตสาหกรรม ได้แก่การที่โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งปล่อยควันเสียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ทำลายสิ่งของและปูชนียวัตถุ เครื่องจักรมีเสียงดังเกินไป โรงงานปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการปล่อยสารพิษที่อาจทำให้มนุษย์และสัตว์มีอันตรายถึงชีวิตได้

3. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาด้านอื่นๆ ได้แก่ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ การทำให้สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจนอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้

4. ปัญหาสภาพแวดล้อมเกิดจากสาเหตุหลายประการทั้งจากธรรมชาติและการกระทำของมนุษย์ เกิดจากความไม่ชัดเจนเรื่องกรรมสิทธิ์ ผลกระทบจากภายนอกและสินค้ามหาชน แนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แก่ การออกกฎระเบียบการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชนและการหามาตรการอื่นๆ

ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาสาขาเกษตรกรรม

การพัฒนาการเกษตรโดยการเพิ่มเนื้อที่การเพาะปลูกให้มากขึ้นอาจจำเป็นต้องมีการตัดไม้ ทำลายป่าตลอดจนการปรับเรียบพื้นที่ป่าเพื่อให้เหมาะสมแก่การเกษตร ทำให้เกิดปัญหาการลดลงของป่าไม้ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธาร อาจเกิดภาวะแห้งแล้งหรือเกิดภาวะน้ำท่วมอย่างฉับพลันเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆมาใช้แม้ว่าจะช่วยให้เพิ่มผลิตผลต่อไร่ได้มากขึ้น แต่ถ้าไม่มีความระมัดระวังอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การเสื่อมโทรมของดิน การทำลายสัตว์และแมลงซึ่งโดยธรรมชาตินั้นมีประโยชน์ต่อการเกษตร การใช้ยาปราบศัตรูพืชอาจทำให้มนุษย์ได้รับพิษจากยาหรือเคมีภัณฑ์เหล่านั้น บางครั้งอาจมีอันตรายถึงชีวิต

แนวทางแก้ไขได้แก่การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดิน แหล่งน้ำและป่าไม้ให้อยู่ในสภาพดี การรู้จักใช้วิธีการตามธรรมชาติในการแก้ไขปัญหาศัตรูพืช เช่น การให้นกเป็นผู้กำจัดแมลงมากกว่าการใช้ยาฉีดทำลายแมลงศัตรูพืช ตลอดจนการให้การศึกษาอบรมแก่ประชาชนให้รู้จักหลีกเลี่ยงอันตรายทั้งปวงที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรใหม่ๆ ซึ่งคงช่วยให้ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่รุนแรงนัก

ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาสาขาอุตสาหกรรม

การพัฒนาสาขาอุตสาหกรรมก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่างๆ คือ

1. ปัญหาอากาศเป็นพิษ ที่เกิดจากควันไฟโรงงาน
2. ปัญหามลพิษทางเสียงที่เกิดจากเครื่องจักรต่างๆ
3. ปัญหามลพิษทางน้ำเกิดจากการปล่อยน้ำทิ้ง น้ำเสียจากกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม
4. ปัญหาสารเป็นพิษที่เกิดจากของเหลือหรือกระบวนการณการผลิตของโรงงาน

สำหรับตัวอย่างที่เกิดขึ้น ได้แก่ โรงงานน้ำตาลปล่อยน้ำเสียลงในแม่น้ำ ทำให้ให้น้ำเน่า ประชาชนไม่สามารถใช้น้ำเพื่อบริโภคและอุปโภค ทำให้สัตว์น้ำตาย โรงงานชุบโลหะปล่อยสารโลหะหนักที่เป็นพิษออกมา โรงงานเคมีปล่อยสารที่เป็นพิษ

ปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาด้านอื่น

การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดตามเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ นั้นมีวิธีการทำอยู่หลายวิธี เช่น การก่อสร้างอาคารใหญ่สูงๆ เพื่อให้คนจำนวนมากอยู่อาศัยในบริเวณเดียวกัน การควบคุมเรื่องสิ่งขับถ่ายและของเสียต้องทำอย่างระมัดระวังเพื่อไม่เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกระทบต่อผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารเดียวกัน อาจกระทำโดยการสร้างอาคารหลายๆ หลัง ซึ่งอาจทำให้พื้นที่สีเขียวลดลง ขาดทัศนียภาพที่สวยงาม ขาดต้นไม้ใหญ่ที่ช่วยดูดซับอากาศเสีย ดูเสมือนเป็นป่าคอนกรีต อาคารสูงๆ อาจบังทิศทางลมและแสงแดดส่องไม่ถึงพื้นดิน และอาจมีปัญหาพื้นดินทรุดได้อย่างไม่ระมัดระวัง

สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อม

ปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำแม่กลองที่เกิดขึ้นในระยะ 10 ปี ที่ผ่านมาเกิดจากการที่โรงงานน้ำตาลหลายแห่งปล่อยน้ำเสียมากเกินไป ทำให้แม่น้ำเน่าเสีย ทั้งนี้เพราะโรงงานดังกล่าวถือว่าแม่น้ำแม่กลองเป็นสินค้าสาธารณะไม่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของตน จึงปล่อยน้ำเสียลง

ปัญหาดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นถ้ามีมาตรการเรื่องการห้ามปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำ แต่บังคับให้โรงงานดังกล่าวสร้างบ่อกักน้ำเสีย แล้วใช้กรรมวิธีกำจัดน้ำเสียให้มีคุณภาพพอที่จะปล่อยลงแม่น้ำได้ หรือมีการเก็บภาษีความเสียหายที่ก่อให้เกิดแก่บุคคลอื่น ตลอดจนให้มีการชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ได้รับความเสียหาย หรือมีการเจรจาต่อรองกันเองระหว่างผู้เป็นต้นเหตุและผู้เป็นเจ้าทุกข์ สิ่งเหล่านี้อาจช่วยให้ปัญหากระทบจากสิ่งแวดล้อมลดน้อยลงได้

ปัญหาสภาพแวดล้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สถาบันสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
นโยบายและแผนด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคต

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย