สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม

การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสิ่งแวดล้อม

1. ระดับผลกระทบสิ่งแวดล้อมหมายถึง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสรรพสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย จำแนกเป็นผลกระทบต่อกายภาพ ชีวภาพ การใช้ประโยชน์ของมนุษย์และคุณภาพชีวิต

2. การบริหารงานสิ่งแวดล้อมอย่างไร้หลักเกณฑ์ ย่อมไม่เกิดผลดี จึงมีการนำหลายสาขาวิชาเข้ามาประยุกต์กับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถจัดงานเข้าหมวดหมู่ได้ คือ สังคมเศรษฐกิจ แหล่งน้ำ ป่าไม้และสัตว์ป่า คุณภาพน้ำและการประมง ธรณีวิทยาและแหล่งแร่ อพยพประชากร ภาวะมลพิษ สาธารณสุขศาสตร์ โบราณคดีและการท่องเที่ยว และอิทธิพลด้านไฟฟ้า

3. งานศึกษาสิ่งแวดล้อมต่างกาล หมายถึง การปฏิบัติดูแลสิ่งแวดล้อมในระยะเวลาต่างกัน เมื่อจะสร้างโครงการหนึ่งโครงการใดขึ้น

4. ขั้นตอนในการศึกษางานสิ่งแวดล้อม หมายถึง การรายงานผลศึกษาหลายระยะเวลา หรือหลายครั้ง ตั้งแต่ริเริ่มโครงการไปจนถึงสิ้นสุดงานและต่อเนื่องไปจนถึงการพัฒนาโครงการให้ใช้ได้ดีตลอดอายุโครงการ

ระดับผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1. โครงการที่ต้องมีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต้องเป็นโครงการใหญ่ที่มีขนาดเกินมาตรฐานจำกัดของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และต้องศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 4 ระดับ คือ กายภาพ ชีวภาพ อุปโภค บริโภค และคุณภาพชีวิตของมนุษย์

2. โครงการดังกล่าวไม่ต้องทำการศึกษาสิ่งแวดล้อม เพราะเก็บน้ำไม่ถึง 100 ล้าน ลบ.เมตร พื้นที่เก็บน้ำไม่ถึง 15 ตารางกิโลเมตร ส่งน้ำให้เกษตรกรได้ไม่เกิน 80,000 ไร่

การบริหารงานสิ่งแวดล้อมตามสาขาวิชา

1. สหวิทยาการ คือ การนำวิชาการหลายสาขาเข้ามาประยุกต์เข้าด้วยกันเพื่อบริหารงานสิ่งแวดล้อม
2. เป็นการมองด้านมหภาค เพราะมีการพิจารณาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงผลกระทบที่จะมีต่อการลงทุนการเก็บภาษี การออมทรัพย์ การมีงานทำ และการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภาค

งานศึกษาสิ่งแวดล้อมต่างกาล

1. การศึกษาสิ่งแวดล้อมต่างกาล คือ การศึกษาสิ่งแวดล้อมทั้งก่อนก่อสร้างโครงการ ระหว่างก่อสร้างโครงการ และหลังก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ
2. แผนแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และแผนพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม แตกต่างกัน แผนแก้ไขผลกระทบใช้ระหว่างกระทำการก่อสร้างโครงการ ส่วนแผนพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม วางแผนขณะทำการก่อสร้างเพื่อปฏิบัติการหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ

ขั้นตอนการศึกษางานสิ่งแวดล้อม

ขั้นตอนในการศึกษางานสิ่งแวดล้อมทุกขั้นตอนมีดังนี้

1. การศึกษาเบื้องต้นของสถานที่ (Reconnaissance Study) หรือที่เรียกว่ารายงานสิ่งแวดล้อม (Environmental Investigation)
2. การศึกษาเบื้องต้นของโครงการ (Preliminary Study) ทางวิชาการสิ่งแวดล้อมเรียกรายงานนี้ว่า "Environmental Investigation"
3. การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ (Feasibility Study) หรือที่เรียกว่าการประเมินผลสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment)
4. การวางแผนเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment)
5. การแก้ไขเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Mitigation Measure)
6. การติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Monitoring)
7. การประเมินผลหลังโครงการแล้วเสร็จ (Post Environmental Evaluation)

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสิ่งแวดล้อม
การแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมระหว่างก่อสร้าง
การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหลังโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย