สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม

การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ระหว่างระบบเศรษฐกิจกับระบอบการปกครอง

1. ระบบเศรษฐกิจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเน้นการปล่อยให้การดำเนินการทางเศรษฐกิจเป็นไปตามใจชอบ โดยที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนใหญ่ มีเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพและรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องหรือควบคุมการดำเนินการทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนน้อยที่สุด

2. ระบบเศรษฐกิจในระบอบการปกครองแบบกึ่งประชาธิปไตยนั้นมีทั้งการปล่อยให้เอกชนดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจตามลำพังในบางกรณี และรัฐเข้ามาควบคุมการดำเนินการทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนในบางลักษณะ ทั้งนี้ตามความจำเป็นของสถานการณ์และความเหมาะสมของเหตุการณ์

3. ระบบเศรษฐกิจในระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมนั้นบทบาทของรัฐในการดำเนินกิจการทางเศรษฐกิจมีมากที่สุด เอกชนเกือบไม่มีกรรมสิทธิ์และเสรีภาพในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ และต้องทำตามคำสั่งของหน่วยวางแผนจากส่วนกลางซึ่งเป็นชนชั้นปกครองที่แท้จริง

ระบบเศรษฐกิจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

ระบบเศรษฐกิจในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีลักษณะที่เน้นการแข่งขันและการดำเนินการอย่างเป็นอิสระของปัจเจกชน เป็นระบบเศรษฐกิจที่เรียกว่าระบบเสรีนิยมหรือระบบนายทุน เอกชนส่วนใหญ่มีกรรมสิทธิในทรัพย์สิน และมีเสรีภาพในการเลือกประกอบกิจการต่างๆ อย่างกว้างขวาง ถ้ากิจการเหล่านั้นไม่ผิดกฎหมายผิดศีลธรรม รัฐบาลมักจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการดำเนินการทางเศรษฐกิจของภาคเอกชน ยกเว้นในกรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น การเข้ามาดำเนินธุรกิจทางด้านสาธารณูปโภค และกิจการที่เอกชนไม่สามารถจะดำเนินการได้ เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำมากหรือด้วยเหตุผลอื่นๆ

เศรษฐกิจกับการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องมากโดยเฉพาะในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เพราะเศรษฐกิจช่วยให้ประเทศมีฐานะดีขึ้น ช่วยให้รัฐบาลรู้จักเลือกดำเนินนโยบายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และช่วยจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ในขณะที่ระบอบการเมืองการปกครองที่มีความมั่นคั่งย่อมดึงดูดให้เอกชนลงทุนในกิจการต่างๆ มากขึ้น จนช่วยให้เกิดความมั่นคงและความมีเสถียรภาพของรัฐบาลมากขึ้น ดังนั้นเศรษฐกิจกับการเมืองจึงมีความสัมพันธ์กัน

ระบบเศรษฐกิจในระบอบการปกครองแบบกึ่งประชาธิปไตย

ระบบเศรษฐกิจในระบอบการปกครองแบบกึ่งประชาธิปไตยมีลักษณะสำคัญตรงที่มีการใช้ทั้งกลไกราคาและระบบการวางแผนจากส่วนกลางควบคู่กันไปสำหรับสถานการณ์ที่แตกต่างกันและตามความหมายเหมาะสม

บทบาทของรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบกึ่งประชาธิปไตยนั้นค่อนข้างมาก แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นทางด้านการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกแก้ผู้ลงทุนในภาคเอกชน แต่การเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในสินค้าบางอย่างและการออกกฏหมายแลข้อบังคับต่างๆที่ภาคเอกชนต้องปฏิบัติตามถือว่าเป็นส่วนสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างภาคเศรษฐกิจกับภาครัฐบาลในระบบการปกครองแบบนี้

ระบบเศรษฐกิจในระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม

ในระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม มีหน่วยวางแผนจากส่วนกลางเป็นผู้ดำเนินการให้มีระบบการผลิต และการจำแนกนแจกจ่ายสินค้าและบริการที่ผลิตโดยภาคเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐบาล เอกชนมักไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยการผลิตที่สำคัญๆ ไม่มีเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพตามใจชอบ และอาจต้องทำตามคำสั่งจากส่วนกลางแม้ว่าจะไม่ใช่สิ่งที่ตนต้องการก็ตาม

ระบบเศรษฐกิจกับการเลือกของสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างระบบเศรษฐกิจกับระบอบการปกครอง
การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในแต่ละรูปแบบของการปกครอง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย