สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
เศรษฐศาสตร์สวัสดิการและสิ่งแวดล้อม
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคม
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
การบรรลุสวัสดิการสูงสุดของสังคมฯ
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสถาบัน
การวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์
ระบบเศรษฐกิจกับการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ
การเลือกของสังคมในระบอบประชาธิปไตย
ดัชนีและคุณภาพสิ่งแวดล้อม
คุณภาพสิ่งแวดล้อมในเชิงเศรษฐศาสตร์
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับประชากรฯ
การประเมินผลโครงการบริหารสิ่งแวดล้อม
การบริหารสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ
การเรียกร้องค่าเสียหายจากคดีเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม
นโยบายและแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
ความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
แนวคิดเรื่องความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
1. ความไม่สมบูรณ์ของของระบบตลาด
หมายถึงการไม่มีตลาดหรือไม่มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายผลิตผลและบริการบางอย่างในระบบตลาด
ทำให้ระบบตลาดไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรให้เกิดสวัสดิการสูงสุดในสังคมได้
2.
แนวคิดเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาดเริ่มมีการศึกษาอย่างเป็นระบบมาตั้งแต่
อาดัม สมิธ โดยในระยะแรกการศึกษามุ่งไปที่สาเหตุของความบกพร่องของระบบตลาด
และเน้นบทบาทของรัฐบาลในการแก้ไขข้อบกพร่อง แต่ในระยะหลัง
การศึกษาความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
พยายามเน้นศึกษาว่าสถาบันใดจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดสรรทรัพยากร
ความหมายของความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
1. ตลาดซึ่งซื้อขายแลกเปลี่ยนชีวิตนั้นไม่มี แต่คุณค่าชีวิตของคนๆหนึ่ง
อาจวัดได้หลายด้านขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ซึ่งคนๆนั้น ได้สร้างขึ้นให้แก่สังคม
ดังนั้นการสรุปว่าชีวิตมีตลาดอยู่จึงเป็นเรื่องที่ผิด
เพราะชีวิตของคนเรานั้นไม่มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน
2. ตัวอย่างของผลิตผลและบริการที่ไม่มีตลาดได้แก่ ยาอายุวัฒนะ
ไม่มีคนผลิตขาย ถึงแม้จะมีคนต้องการซื้อ มลพิษที่มีการผลิตออกมาทั้งจากรถยนต์
จากโรงงานทำให้เกิดความเสียหาย แต่ตลาดการกำจัดมลพิษยังไม่เกิดขึ้น
3.
ระบบตลาดไม่สมบูรณ์หมายความว่าผลิตผลหรือบริการบางอย่างไม่มีตลาดในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย
แต่ตลาดที่ไม่สมบูรณ์หมายความว่ามีตลาดแต่การแข่งขันไม่สมบูรณ์
ความเป็นมาของแนวคิดเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
1. การศึกษาเรื่องความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาดอย่างมีแบบแผน
เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยของ อาดัม สมิธ
ในระยะแรกเน้นถึงการแก้ไขข้อบกพร่องของระบบตลาดเพื่อทำให้สังคมบรรลุสวัสดิการสูงสุด
2. โคส ให้แนวคิด ซึ่งเป็นทางออกใหม่แก่นักเศรษฐศาสตร์
โดยเสนอให้มีสถาบันหรือวิธีการกระทำอันอื่นซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสถาบันของรัฐที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
3. ข้อสรุปของแนวคิดใหม่เกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาดก็คือ
การเลือกสถาบันอะไรจะต้องเปรียบเทียบดูว่าสถาบันนั้นประกอบกิจกรรมที่ต้องการได้ในต้นทุนที่ถูกกว่าสถาบันอื่นๆ
ได้หรือไม่ ถ้ารัฐบาลจะเข้ามาประกอบกิจกรรมใดๆ ก็ตาม
จะต้องแสดงให้เห็นได้ว่าไม่มีสถาบันอื่นใดทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่ารัฐบาลอีกแล้ว
4. การขายอาหาร เช่นข้าวแกง เป็นต้น การขายข้าวแกงจะต้องเลือกทำเล
เลือกชนิดของอาหารต่างๆ และตั้งราคาให้เหมาะสม การบริหารแต่ละร้าน ย่อมแตกต่างกัน
ถ้าให้รัฐบาลมาทำการควบคุมระบบงาน
จะทำให้รานข้าวแกงทุกร้านมีระบบการบริหารหรือแม้แต่ชนิดของอาหารที่เหมือนกัน
ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพอย่างมาก สู้เอกชนไม่ได้
- การผลิตบริการสำหรับบุคคล เช่นโรงภาพยนต์เป็นต้น การบริการที่มีลักษณะเฉพาะแต่ละบุคคลนั้น ความต่างจิตต่างใจทำให้ต้องการบริการชนิดต่างๆ กันถ้าจะให้รัฐบาลผลิตบริการเหล่านี้ ต้นทุนก็จะสูง วิธีแก้ไขก็อาจจะเป็นการบังคับให้ทุกคนยอมรับบริการที่เหมือนกัน
- การผลิตสินค้าการเกษตรเช่น ปลูกผักขาย การจับปลาขาย เป็นต้น การผลิตและขายสินค้าเกษตร ต้องการความรู้ที่เฉพาะเจาะจงของบริเวณพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง รัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพเท่าเอกชนในการประกอบกิจกรรมที่มีขนาดเล็กๆ
5. การป้องกันประเทศ รัฐบาลทำได้ดีกว่าเอกชน
เพราะถ้าให้เอกชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคุมอำนาจทางทหารอยู่
เอกชนกลุ่มนั้นก็ย่อมแสวงหาผลประโยชน์จากการมีอาวุธมากจนกลายเป็นผู้ผูกขาด
(รัฐบาลในที่นี้หมายถึงรัฐบาลที่ดีซึ่งสามารถตัดสินใจในการจัดสรรงบประมาณป้องกันประเทศอย่างมีอิสระ)
สินค้าซึ่งความเป็นเจ้าของมีไม่ชัดเจนโดยเฉพาะสินค้ากึ่งสาธารณะ
รัฐบาลจะได้เปรียบเอกชนในการผลิตสินค้าเหล่านี้
เพราะถ้าเอกชนทำจะเกิดมีการแข่งขันกันขึ้นมากมายจนเสียประสิทธิภาพ
การรักษาควบคุมกฎหมาย รัฐบาลจะทำได้ดีกว่าเอกชน
และถ้ากฏหมายมีเอกชนเป็นผู้ควบคุมก็จะเกิดการแข่งขันกันจนการควบคุมเกิดขึ้นไม่ได้
สาเหตุความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด
ตลาดสนเทศกับความไม่สมบูรณ์ของระบบตลาด