ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
พื้นฐานทางชีววิทยากับพฤติกรรม
การเรียนรู้
การรับรู้
แรงจูงใจ
การรับรู้
1. การรู้สึกและการรับรู้
สิ่งเร้า ------------- > อวัยวะรับความรู้สึก -------------- >
สมองรับสัญญาณ (รู้สึก) -------------- > รับรู้
พลังงาน กระแสประสาท ตีความหมาย
2. จิตฟิสิกส์
• เทรชโฮลด์สมบูรณ์ (Absolute Threshold)
พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้เราเริ่มรับรู้ได้
• เทรชโฮลด์อนุพันธ์ (Differential Threshold)
ความแตกต่างของพลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้เราเริ่มรับรู้ ความแตกต่างได้
3. การได้ยิน
• เสียง คลื่นเสียงมี 2 ลักษณะ คือ
- ความถี่ (Frequency) ทำให้เกิดเป็นเสียงสูง ต่ำ ใช้หน่วย เฮิรตซ์ (Hz)
- แอมพลิทูด (Amplitude) ทำให้เกิดความดังแตกต่างกัน ใช้หน่วย เดซิเบล (db)
• โครงสร้างหู ประกอบด้วย 3 ส่วน
1. หูส่วนนอก ประกอบด้วย ใบหู ช่องหู แก้วหู
2. หูส่วนกลาง ประกอบด้วยกระดูก 3 ชิ้น คือ กระดูกค้อน ทั่ง และ โกลน
3. หูส่วนใน มี Cochlea
4. การมองเห็น
• แสง เป็นรังสีของแม่เหล็กไฟฟ้า ความยาวคลื่นทำให้มองเห็นสีต่างกัน
ความสูงคลื่นทำให้เกิดความ สดใสของสี
• โครงสร้างนัยน์ตา Rods จะทำหน้าที่ตอนกลางคืนหรือในที่มืด
จะรับเฉพาะแสงสีขาวและดำ Cones จะทำหน้าที่ตอนกลางวันหรือในที่สว่าง
จะรับแสงสีต่างๆ
5. การได้กลิ่น
กลิ่นส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของโมเลกุลของไอที่ได้จากสารระเหยที่สามารถละลายได้ในน้ำหรือไขมัน
6. การรับรส
สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดรสได้จะต้องเป็นสารละลาย รสมี 4 ชนิด คือ หวาน เปรี้ยว
เค็ม และ ขม
7. การรับรู้พิเศษ
เป็นการรับรู้ที่ไม่ได้เกิดจากอวัยวะรับความรู้สึกโดยตรงอย่างที่ควรจะเป็น
การรับรู้ที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับทางจิตวิทยา ได้แก่ การรับรู้พิเศษที่เรียกว่า ESP
(Extrasensory perception) หรือที่เรียกว่า The sixth sense
8. การรับรู้สี
หมายถึงความสามารถในการแยกแยะแสงสีตามความยาวคลื่น
ตัวกำหนดการรับรู้สีมีมาก เช่น การเรียนรู้ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ อารมณ์ แรงจูงใจ
ฯลฯ
9. การรับรู้ทางตา
• Figure and Ground
• การจัดระเบียบการรับรู้ (ความใกล้ชิด,
ความคล้ายคลึง, ความต่อเนื่อง
• การรับรู้เนื่องจากประสบการณ์
• ความคงที่ในการรับรู้
• การรับรู้การเคลื่อนที่
• การเลือกรับรู้