ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
การศึกษาของไทยสมัยโบราณ
การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา
การศึกษาสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ
การศึกษาสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475 ปัจจุบัน)
ปัจจัยของไทยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา
- นโยบายการจัดการศึกษาของคณะราษฎร์
ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่
24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
คณะราษฎร์ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ได้วางเป้าหมายสำคัญหรืออุดมการณ์ของคณะราษฎร์ มีปรากฏอยู่ในหลัก 6 ประการ
ข้อที่ 6 จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
เพราะคณะราษฎร์มีความเห็นว่าการที่จะให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย
จำเป็นต้องจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
เมื่อประชาชนมีการศึกษาดีย่อมจะทำให้ประเทศชาติเจริญขึ้นด้วย
ดังจะเห็นได้จากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา พ.ศ. 2475
กล่าวไว้ว่า
.การจัดการศึกษาเพื่อจะให้พลเมืองได้มีการศึกษาโดยแพร่หลาย
ก็จะต้องอนุโลมตามระเบียบการปกครองที่ให้เข้าลักษณะเกี่ยวกับแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ
หลักสูตรของโรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะต้องขยายให้สูงขึ้นเท่าเทียมอารยประเทศ
ในการนี้จะต้องเทียบหลักสูตรของนานาประเทศ หลักสูตรใดสูงถือตามหลักสูตรนั้น
รัฐบาลชุดต่อๆ มาก็ได้พยายามที่จะได้จัดการศึกษาให้ทั่วถึงในหมู่ประชาชนทั่วไป
ถ้าวิเคราะห์ดูจากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลพบว่า
ได้ตั้งความหวังเรื่องการศึกษาไว้สูงเกินไปจะให้เท่าเทียมอารยประเทศ
ซึ่งสภาวะการณ์ในประเทศขณะนั้นยังไม่มีความพร้อม
โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในขณะนั้น
เป็นผลให้เกิดปัญหาในการจัดการศึกษานับแต่นั้นเป็นต้นมา
- การเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2488ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศไทยอย่างรุนแรงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้รับความเสียหาย อันสืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง จึงจำเป็นต้องกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศและประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ทำให้ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ตลอดจนแนวคิดใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนาประเทศ ทำให้แนวคิดทางการศึกษาของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นอย่างมาก
วิวัฒนาการการจัดการศึกษา มีดังนี้
- มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแล้ว
โดยจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ๆ ให้ตั้งสภาการศึกษา
พ.ศ. 2475 ประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ
ต่อมามีการปรับปรุงการจัดการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เหลือ 4 ปี
และประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479
- การมอบให้ท้องถิ่นจัดการศึกษา พ.ศ. 2476
และยกฐานะท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลตราพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้น
และเทศบาลได้จัดการศึกษาอย่างแท้จริงใน พ.ศ. 2478
-
การปรับปรุงหน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาและเหตุการณ์สำคัญทางการศึกษา
ดังเช่น
ปี พ.ศ. 2476 มีการปรับปรุงส่วนราชการในกระทรวงธรรมการและประกาศตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
ปี พ.ศ. 2477 โอนคณะนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสมทบกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง
ปี พ.ศ. 2478 ประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาทั่วประเทศ
ปี พ.ศ. 2488 ประกาศใช้พระราชบัญญัติครูพุทธศักราช 2488
ปี พ.ศ. 2494 มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 1
ปี พ.ศ.2503 ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่2
ปี พ.ศ.2520 ประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่3 และปัจจุบันกำลังใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 4 และ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การปฏิวัติเมื่อเดือนตุลาคม 2501 ได้มีการจัดทำและนำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมาใช้ ซึ่งต่อมาได้ยุบเลิกและจัดตั้งสภาการศึกษาขึ้นมาแทน สภานี้ได้พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 ขึ้นมา เป็นผลให้การศึกษาในระยะหลังได้เปลี่ยนไปอย่างมาก
การศึกษาได้ขยายตัวขึ้นทุกระดับ เพราะประเทศกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา จึงจำเป็นจะต้องส่งเสริมให้พลเมืองได้รับการศึกษาที่ดีขึ้น เพื่อจะได้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพสามารถเพิ่มรายได้ของตน และช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศให้สูงขึ้น ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้ให้สภาพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509)
- ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2514)
- ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2519 )
- ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2524)
- ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2529)
- ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534)
- ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539)
- ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544)
- ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2549)
ซึ่งการจัดการศึกษาในปัจจุบันได้มุ่งยึดแนวนโยบายที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545- พ.ศ. 2549) ได้จัดแผนการศึกษาระยะ เวลา 15 ปีเพื่อวางแนวทางในการพัฒนาการอย่างบูรณาการคุณภาพชีวิตในทุก ๆ ด้านและสอดรับกับวิสัยทัศน์ แนวนโยบาย มาตรการและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมไทย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2545 ข : คำนำ)
ส่วนการจัดการศึกษาของประเทศไทยในสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญมีการขยายสถานศึกษาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในส่วน ภูมิภาค เช่น ปี พ.ศ. 2503 เริ่มก่อสร้างและจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรับนิสิตในปี พ.ศ. 2507 ปี พ.ศ. 2509 เริ่มก่อสร้างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในภาคใต้ เป็นต้น เนื่องจากมีผู้สนใจศึกษาในระดับอุดมศึกษามากขึ้นในปี พ.ศ. 2514 มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกและปี พ.ศ. 2521 ตั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัยเปิดแห่งที่สอง ความเคลื่อนไหวในทางการศึกษาได้นำไปสู่แนวคิดการพัฒนาระบบการบริหารและการจัดการศึกษาให้สามารถพัฒนาทรัพยากรบุคคลในชาติตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีผลทำให้โครงสร้างการบริหารงานและการจัดการศึกษาได้ปรับเปลี่ยน ทั้งการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการเปิดสอนในสาขาวิชาการและวิชาชีพมุ่งพัฒนาให้ผู้รอบรู้เป็นคนเก่ง คนดีและใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข
การปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการใหม่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ สภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษาและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2545 ก : 43)
บทสรุป
การศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและสร้างทักษะของบุคคลให้รู้จักดำเนินชีวิตอย่างสันติสุข
มีพฤติกรรมใฝ่รู้ที่จะเป็นพลังปัญญาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีช่วยขัดเกลาให้คนละอายต่อบาป
มีทักษะในการประกอบอาชีพ เคารพกฎหมาย รู้คุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชาติ
ตลอดจนสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ
อีกทั้งสามารถช่วยสร้างสรรค์สังคมและพัฒนาประเทศชาติ
ในการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งมีปรัชญาที่นิยมนำมาจัดการศึกษาได้แก่
- ลัทธินิรันตรนิยม (Perennialism)
- สารัตถนิยม (Essentialism)
- พัฒนาการนิยม (Pregressivism)
- บูรณาการนิยม (Reconstructionism)
- อัตภาวะนิยม (Existentialism)
สำหรับปรัชญาการศึกษาไทยเป็นแบบผสมผสานระหว่างแนวคิดของชาติตะวันตกและอิงพุทธศาสนาประเทศไทยมีประวัติความเป็นมากับการศึกษาเป็นเวลาอันยาวนาน แบ่งการจัดการศึกษาได้แบ่งออกเป็น 3 ยุค กล่าวคือ
- การศึกษาไทยในสมัยโบราณ (พ.ศ. 1781 พ.ศ. 2411) ยังไม่มีโรงเรียนแก่เด็กไทยในสมัยนั้นสามารถหาความรู้ได้จากที่บ้าน สำนักสงฆ์ วิชาที่สอนไม่ได้ตายตัว มีความรู้สามัญเพื่ออ่านออกเขียนได้ วิชาชีพ วิชา จริยศึกษา และศิลปะป้องกันตัว
- การศึกษาในสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2475) ผลจากการเข้ามาของชาวตะวันตกและการเปิดประเทศค้าขายกับตะวันตกนั้น ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในด้านการเมืองการปกครอง และการศึกษาจึงได้มีความสำคัญขึ้นเพื่อพัฒนาคนเข้ามารับ ราชการนำไปสู่การเปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัย จึงทำให้มีการจัดทำแผนแม่บทในการศึกษาเรียกว่าโครงการศึกษาฉบับแรกพ.ศ. 2441
- การศึกษาสมัยปกครองตามระบอบ รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน) การศึกษามีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากต้องการพัฒนาคนให้เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย อีกทั้งเป็นเรื่องของสิทธิของประชาชนในการเข้ารับการศึกษาเพื่อพัฒาประเทศ
การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายปกครอง โครงการศึกษาได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้เปลี่ยนชื่อแผนการศึกษาชาติมาเป็นแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2503 และมีพระราชบัญญัติศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อมุ่งหวังว่าคนไทยสามารถปรับตัวได้เหมาะสมกับสถานการณ์โลกและสังคมที่เปลี่ยนแปลงและเพื่อนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพจึงได้จัดทำแผนการศึกษาระยะยาว 15 ปี เรียกว่า แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545-2559