ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
การศึกษาของไทยสมัยโบราณ
การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา
การศึกษาสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ
การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2475)
มุ่งให้คนเข้ารับราชการและมีความรู้ทัดเทียมฝรั่งแต่ไม่ใช่ฝรั่ง
(คณะอาจารย์ภาควิชาพื้นฐานการศึกษา. 2532 : 7) แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หลังจากที่พระองค์ได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทรงปรับปรุงประเทศให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆ
ด้าน ทั้งในด้านการปกครอง การศาล การคมนาคมและสาธารณสุข เป็นต้น
โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้นพระองค์ได้ทรงตระหนัก
เพื่อปรับปรุงคนในประเทศให้มีความรู้ความสามารถจะช่วยให้
ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้าน ดังพระราชดำรัสที่ว่า
วิชาหนังสือเป็นวิชาที่น่านับถือและเป็นที่น่าสรรเสริญมาแต่โบราณว่า
เป็นวิชาอย่างประเสริฐซึ่งผู้ยิ่งใหญ่นับแต่ พระมหากษัตริย์เป็นต้นมา
ตลอดจนราษฎรพลเมืองสมควรและจำเป็นจะต้องรู้เพราะเป็นวิชาที่อาจทำให้การทั้งปวงสำเร็จในทุกสิ่งทุกอย่าง
(ประไพ เอกอุ่น. 2542 : 83 84) การที่พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา
จึงได้มีการจัดการศึกษาอย่างมีระเบียบแบบแผน (Formal education) มีโครงการศึกษาชาติ
มีโรงเรียนเกิดขึ้นในวังและในวัด มีการกำหนดวิชาทีเรียน มีการเรียนการสอบไล่
และมีทุนเล่าเรียนหลวงให้ไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ
ซึ่งปัจจัยที่มีผลในการปฏิรูปการศึกษาในครั้งนี้มีหลายปัจจัย เช่น
- แนวคิดและวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตก
ซึ่งคณะมิชชันมารีได้นำวิทยาการเข้ามาเผยแพร่ในด้านการแพทย์
การพิมพ์หนังสือและระบบโรงเรียนของพวกสอนศาสนา
ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสืบเนื่องมาถึงในสมัยนี้
เป็นเหตุให้ไทยต้องรับและปรับปรุงแนวคิดในการจัดการศึกษาขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ
- ภัยจากการคุมคามของประเทศมหาอำนาจในต้นคริสต์ศตวรรษที่
19หรือปลายพุทธศตวรรษที่ 24 ลัทธิจักรพรรดินิยมกำลังแผ่ขยายมายังประเทศต่างๆ
ในเอเชียซึ่งประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ญวน เขมรและมลายูเป็นต้น
ต่างตกอยู่ภายใต้การปกครองของประเทศมหาอำนาจ
ส่วนประเทศไทยมีจุดอ่อนทั้งในเรื่องความล้าหลัง
ระบบการปกครองและการกำหนดเขตแดนที่ชัดเจนพระองค์จึงทรงห่วงใยบ้านเมือง
จึงดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบประณีประนอมและเร่งปรับปรุงประเทศ โดยเน้นกาu3619
ศึกษาของชาติ
- ความต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
เข้ามารับราชการเนื่องจากพระองค์ทรงปรับปรุงและขยายงานในส่วนราชการต่างๆ
จึงจำเป็นต้องจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนคนให้เข้ามารับราชการ
- โครงสร้างของสังคมไทยได้มีการเปลี่ยนแปลง
โดยมีการเลิกทาสและมีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น
วัฒนธรรมแบบอย่างตะวันตกได้แพร่หลายจึงจำเป็นต้องการปรับปรุงการศึกษา
เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น
- การที่พระองค์ได้เสด็จต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรป ทำให้ได้แนวความคิดเพื่อนำมาปฏิรูปการศึกษาและใช้เป็นแนวทางพัฒนาบ้านเมือง
การจัดตั้งสถานศึกษา
ปี พ.ศ. 2414
จัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อฝึกคนให้เข้ารับราชการ
มีพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร)
ในขณะนั้นเป็นหลวงสารประเสริฐเป็นอาจารย์ใหญ่ โดยมีการสอนหนังสือไทย การคิดเลข
และขนบธรรมเนียมราชการ
นอกจากมีการจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับสอนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวัง
เกิดจากแรงผลักดันทางการเมืองที่ส่งผลให้ไทยต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
เพื่อจะได้เจรจากับมหาอำนาจตะวันตก
และมีการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชาครูที่ประเทศอังกฤษ
- ปี พ.ศ. 2423 จัดตั้งโรงเรียนสุนันทาลัยในพระบรมมหาราชวังเป็นโรงเรียนสตรี
- ปี พ.ศ. 2424 ปรับปรุงโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบให้เป็นโรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก ต่อมาได้กลายเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในปี พ.ศ. 2453 และปี พ.ศ. 2459 ได้ตั้งเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปี พ.ศ. 2425 จัดตั้งโรงเรียนแผนที่และในปี พ.ศ.2427 จัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นตามวัดในกรุงเทพมหานครหลายแห่ง และแห่งแรก คือ โรงเรียนมหรรณพาราม
- ปี พ.ศ. 2432 ตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น เรียกว่า โรงเรียนแพทยากร ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำหน้าโรงพยาบาลศิริราช ใช้เป็นที่สอนวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน
- ปี พ.ศ. 2435 จัดตั้งโรงเรียนมูลศึกษาขึ้นในวัดทั่วไปทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง โดยประสงค์จะขยายการศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทยให้แพร่หลายเป็นแบบแผนยิ่งขึ้น และตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูเป็นแห่งแรกที่ตำบลโรงเลี้ยงเด็ก ต่อมาย้ายไปอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาส
- ปี พ.ศ. 2437 นักเรียนฝึกหัดครูชุดแรก 3 คนสำเร็จการศึกษาได้รับประกาศนียบัตรเป็นครูสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- ปี พ.ศ. 2449 ย้ายโรงเรียนฝึกหัดครู ซึ่งตั้งอยู่ที่วัดเทพศิริทราวาส ไปรวมกับโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก (บ้านสมเด็จเจ้าพระยา) ปรับปรุงหลักสูตรให้สูงขึ้นเป็น โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สอนหลักสูตร 2 ปี รับนักเรียนที่สำเร็จมัธยมศึกษา
- ปี พ.ศ. 2456 ตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูหญิงขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงเรียนเบญจมราชาลัย
การบริหารการศึกษา
เมื่อจำนวนโรงเรียนเพิ่มมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบ
การศึกษาเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น ปี พ.ศ. 2430 ทรงโปรดเกล้า ฯ
ให้ตั้งกรมศึกษาธิการโดนโอนโรงเรียนที่สังกัดกรมทหารมหาดเล็กมาทั้งหมด
ให้กรมหมื่นดำรงราชานุภาพเป็นผู้บัญชาการอีกตำแหน่งหนึ่ง ปี พ.ศ. 2432
รวมกรมศึกษาธิการเข้าไปอยู่ในบังคับบัญชาของกรมธรรมการ และ ปีพ.ศ. 2435
ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการ มีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดี
มีหน้าที่ในการจัดการศึกษา การพยาบาล พิพิธภัณฑ์และศาสนา
การจัดแบบเรียนหลักสูตรและการสอบไล่
ปี พ.ศ. 2414
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจาริยางกูร)
เรียบเรียงแบบเรียนหลวงขึ้น 1 เล่ม ชุดมูลบรรพกิจ
เพื่อใช้เป็นบทหลักสูตรวิชาชั้นต้นปี พ.ศ. 2427 กำหนดหลักสูตรชั้นประโยคหนึ่ง
โดยอนุโลมตามแบบเรียนหลวงหกเล่ม นับเป็นปีแรกที่จัดให้มีการสอบไล่วิชาสามัญ
และมีการกำหนดหลักสูตรชั้นประโยคสอง ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิชาสามัญศึกษา
หมายถึง ความรู้ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้สำหรับเสมียนในราชการพลเรือนตามกระทรวงต่าง ๆ
- ปี พ.ศ. 2431 กรมศึกษาธิการ จัดทำแบบเรียนเร็วใช้แทนแบบเรียนหลวงชุดเดิม ผู้แต่งคือ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) 1 ชุด มี 3 เล่ม
- ปี พ.ศ. 2433 ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิชา พ.ศ. 2433 มีผลทำให้หลักสูตรภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ประโยค หลักสูตรภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 6 ชั้น
- ปี พ.ศ. 2434 ได้แก้ไขการสอบไล่จากเดิมปีละครั้งเป็นปีละ 2 ครั้งเพื่อไม่ให้นักเรียนเสียเวลานานเกินไป
การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา มีดังนี้
- พระบรมราชโชบายในการปกครองประเทศ เพื่อให้ประเทศ
มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยการส่งทหารไปร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 นอกจากนี้พระองค์ทรงสร้างความรู้สึกชาตินิยมในหมู่ประชาชนชาวไทยโดยมีสาระสำคัญของอุดมการณ์ชาตินิยม คือ ความรักชาติ ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และความยึดมั่นในพุทธศาสนา - พระองค์ทรงศึกษาวิชาการจากต่างประเทศ และเมื่อเสด็จ
กลับมาแล้วพระองค์ได้ทรงนำเอาแบบอย่างและวิธีการที่เป็นประโยชน์มาใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการศึกษา เช่น ทรงนำเอาแบบอย่างและวิธีการที่เป็นประโยชน์มาใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการศึกษา เช่น ทรงนำเอาวิชาลูกเสือจากประเทศอังกฤษเข้ามาจัดตั้งกองเสือป่า พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์โดย ทรงแปลวรรณคดีต่างประเทศเป็นภาษาไทยและทรงนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง - ผลอันเนื่องจากการจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคนส่วนมากที่ได้รับการศึกษา มีความรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการ
ปกครองประเทศในระบอบรัฐธรรมนูญในระบบรัฐสภา
จึงมีความปรารถนาจะเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตย
และปัญหาอันเกิดจากคนล้นงานและคนละทิ้งอาชีพและถิ่นฐานเดิม
มุ่งที่จะหันเข้าสู่อาชีพราชการมากเกินไป
วิวัฒนาการในการจัดการศึกษา มีดังนี้
- ปี พ.ศ. 2453 ประกาศตั้งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเพื่อฝึกคนเข้ารับราชการตามกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ และต่อมาปี พ.ศ. 2459 ได้ประกาศยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนนี้ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
- ปี พ.ศ. 2454 ตั้งกองลูกเสือหรือเสือป่าขึ้นเป็นครั้งแรกโครงการศึกษาพ.ศ. 2456 และฉบับแก้ไข พ.ศ. 2458 โดยมุ่งให้ประชาชนมีความรู้ทางด้านการทำมาหาเลี้ยงชีพตามอัตภาพของตน พยายามที่จะเปลี่ยนค่านิยมของประชาชนไม่ให้มุ่งที่จะเข้ารับราชการอย่างเดียว ปี พ.ศ. 2459 จัดตั้งกองลูกเสือหญิงและอนุกาชาดโรงเรียนกุลสตรีวังหลังและได้จัดตั้งกองลูกเสือหญิงขึ้น เรียกว่า เนตรนารี ปี พ.ศ. 2461 มีการปรับปรุงและขยายฝึกหัดครูขึ้นโดยโอนกลับมาขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเดิมเป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
- ปี พ.ศ. 2461 ประกาศใช้พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ และ
- ปี พ.ศ. 2464ปรับปรุงโครงการศึกษาชาติ โดยวางโครงการศึกษาขึ้นใหม่เพื่อส่งเสริมให้ทำมาหาเลี้ยงชีพ นอกเหนือจากทำราชการ
- ปี พ.ศ. 2464 ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาบังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์หรือย่างเข้าปีที่ 8 ให้เรียนอยู่ในโรงเรียนจนถึงอายุ 14 ปีบริบูรณ์หรือย่างเข้าปีที่ 15 โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และมีการเรียกเก็บเงินศึกษาพลีจากประชาชนคนละ 1- 3 บาทเพื่อนำไปใช้จ่ายในการจัดดำเนินการประถมศึกษา
การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาในสมัยนี้มีดังนี้
- ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นภายในประเทศ
มีกลุ่มผู้ตื่นตัวทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร
เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
มีการวิพากษ์วิจารณ์ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
- ปัญหาสืบเนื่องจากอิทธิพลจักรวรรดินิยมตะวันตก
ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่รัชกาลก่อน ๆ
- ปัญหาสืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในระหว่าง พ.ศ.2463 - พ.ศ. 2474
เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ จนเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องตัดทอนรายจ่ายลง
มีการยุบหน่วยงานและปลดข้าราชการออก
สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
- ปัญหาสืบเนื่องจากการประกาศใช้กฎหมายการศึกษา คือพระราชบัญญัติประถมศึกษา ทำให้การศึกษาแพร่หลายออกไป แต่ขาดความพร้อมทางด้านงบประมาณการศึกษา
วิวัฒนาการการจัดการศึกษาในสมัยนี้ มีดังนี้
- ปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการอย่างเดิม
- ปี พ.ศ. 2473 ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีคนละ 1 - 3บาท จากผู้ชายทุกคนที่มีอายุระหว่าง 16 - 60 ปี โดยใช้เงินจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอุดหนุนการศึกษาแทน
- ปี พ.ศ. 2474 ปรับปรุงกระทรวงธรรมการเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ โดยยุบกรมสามัญศึกษาในตอนนั้น กระทรวงธรรมการจึงมีหน่วยงานเพียง 3 หน่วยคือ กองบัญชาการ กองตรวจการศึกษากรุงเทพ ฯ และกองสุขาภิบาลโรงเรียน