ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ภูมิศาสตร์

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

  1. “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์” (Geographical Information System : GIS) คือระบบการรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยใช้ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วยให้สามารถค้นหาและเรียกคืนกลับข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว
  2. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มี 2 ประการ คือ
     
    (1) คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หรือระบบฮาร์ดแวร์ (Hardwares) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ช่วยต่างๆ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง (Central processing Unit :CPU) เครื่องพิกัด (Digitizer) หรืออุปกรณ์แปลงข้อมูลต่างๆ เป็นต้น

    (2) คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ หรือระบบซอฟต์แวร์ (Softwares) คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่นาติดตั้งในฮาร์ดแวร์ เพื่อให้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้

การนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS มาใช้ประโยชน์ในวงการต่างๆ ดังนี้

  1. งานด้านป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯ ได้นำระบบ GIS มาใช้เพื่อประโยชน์โดยลำดับ ดังนี้
     
    (1) นำข้อมูลภาพถ่ายการสำรวจพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศจากดาวเทียมแลนด์แซต (LANDSAT) มาวิเคราะห์ประเมินความเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย เมื่อพ.ศ. 2516 และนำมาใช้จัดทำแผนที่ป่าไม้ (เดิมใช้วิธีการเขียนด้วยมือ) จำนวนทั้งสิ้น 840 ระวาง

    (2) ใช้ภาพจากดาวเทียมแลนด์แซตศึกษาสภาพความเลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าชายเลยของประเทศไทย ระหว่างพ.ศ. 2518-2539 โดยนำผลการแปลข้อมูลจากภาพมาใช้พิจารณากำหนดนโยบายการจัดการป่าชายเลนแลระบบนิเวศวิทยาของป่าชายเลน
  2. งานด้านการวางผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้นำระบบ GIS มาใช้ประโยชน์ คือ จัดทำฐานข้อมูลผังเมืองรวมในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา

    เริ่มตั้งแต่จัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศในพื้นที่ต่างๆ โดยถ่ายภาพจากเครื่องบิน แล้วนำมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชากร ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมของเมืองนั้นๆ ต่อจากนั้นจึงวางแผนและจัดทำผังเมืองรวมทั่วประเทศขึ้น เป็นการวางแผนใช้ประโยชน์จากที่ดินในอนาคต
     
  3. งานด้านการใช้ที่ดินเพื่อปราบปรามยาเสพติด โดยสำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม ได้นำระบบ GIS มาผสมผสานกับเทคโนโลยีการรีโมตเซนซิง (Remote Sensing) และการใช้สัญญาณดาวเทียมกำหนดตำแหน่งบนโลก (GIS) กล่าวคือ

    ตั้งแต่ .ศ. 2536- 2545 ได้ดำเนินการสำรวจใช้ที่ดินในทางผิดกฎหมายโดยลักลอบมาปลูกพืชเสพย์ติด โดยนำข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซต เป็นพื้นฐานในการแปลและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่ปลูกฝิ่นในภาคเหนือของประเทศ
  4. งานด้านป้องกันภัยธรรมชาติ ศูนย์วิจัยสานสนเทศเพื่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้นำระบบ GIS มาประยุกต์ใช้กับงานด้านการป้องกันภัยธรรมชาติ สรุปได้ดังนี้
     
    (1) ศึกษากรณีการเกดภัยธรรมชาติจากดินถล่มและน้ำท่วมฉับพลัน ที่หมู่บ้านน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จงหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2544 ได้นำภาพจากดาวเทียมที่แสดงพื้นที่โดยรอบและข้อมูลอื่นๆ ในระบบ GIS มาวิเคราะห์หาสาเหตุ เพื่อหาทางป้องกันมิให้เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ อีกต่อไป

    (2) ศึกษากรณีการเกิดไฟไหม้ป่า โดยใช้ข้อมูล GIS ของกรมป่าไม้ พ.ศ. 2545 ร่วมกับการรีโมตเซนซิ่ง ทำให้พบว่าสาเหตุการเกิดไฟไหม้ป่าส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์ เป็นผู้กระทำทั้งสิ้น ทั้งโดยประมาท รู้เท่าไม่ถึงการณ์ และโดยความตั้งใจ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย