ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ภูมิศาสตร์

การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน แบ่งตามลักษณะเนื้อหาความรู้ได้ 4 สาขา ดังนี้

  1. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
  2. ภูมิศาสตร์กายภาพ
  3. ภูมิศาสตร์มนุษย์
  4. เทคนิคทางภูมิศาสตร์

ภูมิศาสตร์ภูมิภาค

  1. ภูมิศาสตร์ภูมิภาค เน้นศึกษาภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ทั้งในระดับทวีปหรือระดับภูมิภาคของโลก เช่น ทวีปเอเชีย หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ เพื่อให้เข้าใจลักษณะภูมิประเทศภูมิประเทศ อากาศ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติของแต่ละพื้นที่
  2. เทคนิคในการศึกษาภูมิศาสตร์ภูมิภาคให้ได้ผลดี ควรใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ ลูกโลก แผนที่ชุดหรือแผนที่เล่ม (Atlas) เป็นต้น

ภูมิศาสตร์กายภาพ

  1. ภูมิศาสตร์กายภาพ เน้นศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของเปลือกโลก เช่น การเกิดเทือกเขา ที่ราบสูง ลักษณะของหินเปลือกโลก และบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก เป็นต้น
  2. เทคนิคในการศึกษาภูมิศาสตร์กายภาพ มีดังนี้
    - ใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ประกอบการศึกษา เช่น แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของโลก แผนที่ทางธรณีวิทยา ภาพถ่ายทางดาวเทียม แผนภูมิพยากรณ์สภาพลมฟ้าอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา แผนภูมิแสดงสถิติปริมาณฝน ฯลฯ

    - ทัศนะศึกษาหรือสำรวจภาคสนามในพื้นที่จริง เช่น สำรวจสภาพภูมิประเทศในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เข้าใจเรื่องดิน หิน และพืชพรรณธรรมชาติ หรอเข้าเยี่ยมชมสถานีตรวจอากาศในท้องถิ่นต่างๆ เพื่อได้ให้สัมผัสข้อมูลและเครื่องมือในการตรวจวัดสภาพอากาศ เป็นต้น

ภูมิศาสตร์มนุษย์

  1. ภูมิศาสตร์มนุษย์ เน้นศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของประชากร ในด้านชีวิตความเป็นอยู่ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมและประเพณี สภาพการเมือง สังคม และเศรษฐกิจของมนุษย์ เป็นต้น
  2. เทคนิคในการศึกษาภูมิศาสตร์มนุษย์ คือ ศึกษาจากแผนที่ชุดที่มีผู้จัดทำไว้แล้ว และค้นคว้าข้อทูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใหม่และทันสมัย

เทคนิคทางภูมิศาสตร์

  1. เทคนิคทางภูมิศาสตร์ เน้นศึกษาการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ เช่น การอ่านและเขียนแผนที่ การแปลความหมายรูปถ่ายทางอากาศ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียม การจัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น
  2. การศึกษาเทคนิคทางภูมิศาสตร์ให้ได้ผล ต้องใช้ความรู้ในเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS) และการออกภาคสนามเพื่อสำรวจข้อมูลในพื้นที่ เป็นต้น

วิธีการทางภูมิศาสตร์ เพื่อศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ให้ประสบผลสำเร็จ

การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ในสาขาต่างๆให้ได้ผลสำเร็จ ควรนำ “วิธีการทางภูมิศาสตร์” ในรูปแบบต่างๆไปประยุกต์ใช้เหมาะสมและมีกิจกรรมการศึกษาอย่างหลากหลาย ดังนี้

  1. การออกภาคสนาม
  2. การสัมภาษณ์
  3. การวิจัย
  4. การสัมมนา
  5. การทำงานของระบบ “รีโมทเซนซิง” (Remote Sensing)

การออกภาคสนาม

การออกภาคสนาม คือ การสำรวจพื้นที่จริง เพื่อศึกษาหรือเก็บข้อมูลต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ประโยชน์ของการออกภาคสนาม มีดังนี้

  1. ผู้ศึกษาได้เห็นสภาพจริงของพื้นที่และได้ศึกษาสภาพปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง เช่น การจัดเซาะตลิ่งของคลื่นบริเวณชายคลอง ลักษณะของดิน หิน และสภาพแวดล้อมของป่าชายเลย เป็นต้น ช่วยให้เข้าใจทฤษฎีจากตำรวจเรียนชัดเจนยิ่งขึ้น
  2. ผู้ศึกษาได้ศึกษา “เชิงเปรียบเทียบ” เพื่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ เช่น ศึกษาในปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์เรื่องเดียวกัน แต่ในพื้นที่และเลาต่างกัน หรือในพื้นที่เดียวกันแต่ต่างเวลากัน เป็นต้น เพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

การสัมภาษณ์

การสัมภาษณ์ เป็นการเก็บข้อมูลภาคสนามอีกวิธีหนึ่ง ที่เรียกว่า “งานสนาม” ช่วยให้การศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ครบสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. ผู้สัมภาษณ์ ต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เช่น บันมึกข้อมูลตามความจริง ไม่ต่อเติมหรือบิดเบือน ต้องให้เกียรติแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ เพื่อให้ได้รับความร่วมมืออย่ามากที่สุด
  2. ผู้ให้สัมภาษณ์ ต้องเป็นบุคคลในท้องถิ่นที่มีความรู้ตามหัวเรื่อง และให้ความร่วมมือในการสัมภาษณ์อย่างแท้จริง เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากการสัมภาษณ์ตามวัตถุประสงค์ ดังนั้น จึงต้องกำหนดวัน เวลา และสถานที่ให้เหมาะสมด้วย
  3. เครื่องมือที่ใช้ในในการสัมภาษณ์ มี 2 ลักษณะ คือ
    (1) แบบสัมภาษณ์ เป็นชุดคำถามที่ผู้สัมภาษณ์เตรียมจะใช้ถาม โดยใช้สำนวนภาษาที่เข้าใจง่ายไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้ตอบ และเก็บข้อมูลคำตอบไว้เป็นความลับ

    (2) แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่เก็บข้อมูลที่ให้ผู้ตอบแสดงความคิดเห็นโดยการเขียน ดังนั้นจึงต้องพิมพ์ให้ชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย โดยทั่วไปจะต้องเลือกผู้ตอบจากบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ตามเป้าหมายและมีจำวนผู้ตอบมากพอสมควร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือและไม่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

การวิจัย

  1. การวิจัย คือ การศึกษาค้นคว้าหาคำตอบจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพจริง โดยผู้วิจัยเป็นผู้กำหนดคำถาม (ปัญหา) ตั้งสมมติฐาน เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลงานวิจัย ตามลำดับ
  2. ความสำคัญของการวิจัย คือ ผลการวิจัยจะต้องเกิดองค์ความรู้ใหม่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น เสนอแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
  3. สาระสำคัญ 4 ประการที่ผู้วิจัยจะต้องพิจารณา ก่อนตัดสินใจดำเนินงานวิจัยเรื่องหนึ่ง เรื่อใด มีดังนี้
    (1) เหตุผล หรือความสำคัญของการวิจัย
    (2) วัตถุประสงค์
    (3)วิธีดำเนินการ
    (4)ประโยชน์ที่ได้รับ

การสัมมนา

  • การสัมมนา คือ การระดมความคิดหรือมันสมองจากบุคคลฝ่ายต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลหรือคำตอบตามหัวข้อที่กำหนด โดยทั่วไปจะต้องมีผู้เข้าร่วมสัมมนาอย่างน้อย 3 คน โดยมีผู้ควบคุมให้สมาชิกพูดอภิปรายเสนอข้อมูลและความคิดเห็นภายนอกในของเขต

การทำงานของรีโมตเซนซิง

  1. ความหมายของ “รีโมตเซนซิง” (Remate Sensing) แต่เติม คือการใช้พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในการบันทึกภาพของสิ่งที่อยู่โดยรอบ โดยนำภาพเหล่าน้ำมาวิเคราะห์และแปลความหมายเพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การบันทึกภาพจากด่าวเทียม เป็นต้น
  2. ความหมายของระบบ “รีโมตเซนซิง” ในปัจจุบัน สรุปได้ 2 ประการ คือ
    (1) การบันทึกข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมายที่อยู่ห่างไกล โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ ทำให้เกิดภาพ เช่น ภาคจาดดาวเทียมแสดงพื้นที่ในตำบลแห่งหนึ่ง เป็นต้น
    (2) การวิเคราะห์และแปลความหมายของภาพ โดยทั่งไปใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อแปลความหมายภาพจากดวาเทียมดังกล่าว และนำข้อมูลที่ใช้ได้อย่างรวดเร็ว

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย