ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
ชนชาติไทยมาจากไหน
ถิ่นเดิมของชนชาติไทย
การตั้งถิ่นฐานของชนชาติไทย
หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาเรื่องราวของชนชาติไทย
แนวความคิดเกี่ยวกับคนไทยมาจากไหน
ไท และไทยสยาม
แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดคนไทย
การจัดระดับชั้นของสังคมไทย
แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
แนวคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
แนวความคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยเกิดขึ้นตามการเปลี่ยนเเปลงของเหตุปัจจัย ในบ้านเมือง และสถานการณ์ของโลกทำให้จุดมุ่งหมายของการสืบค้น วิธีการสืบค้น และแนวความคิดที่ได้จากการสืบค้น เกี่ยวกับถิ่นกำเนิด ของชนชาติไทย แตกต่างกันถึง 4 เเนวทาง คือ
1.
เเนวคิดที่ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในประเทศจีนตั้งแต่เทือกเขาอัลไต
ทางตอนเหนือและ
อพยพมาสู่มณฑลยูนนานทางตอนใต้แล้วจึงอพยพลงสู่ดินแดนในประเทศไทยเรียกเส้นทางอพยพนี้ง่าย
ๆ ว่า อัลไต - เสฉวน - ยูนนาน
2.
เเนวคิดที่ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยกระจายเป็นแนวกว้างตั้งแต่ภาคใต้ ภาคตะวันออก
เฉียงใต้ของจีน แถบมณฑลยูนนาน กวางตุ้ง กวางสี
รวมไปถึงตอนเหนือของภาคพื้นเอเซียตะวันออก เฉียงใต้ในประเทศเวียดนาม ลาว ไทย
และพม่า ตลอดจนบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย
3. เเนวคิดที่ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่ในดินแดนประเทศไทยเป็นการพิจารณาโดย
มุมมอง ทางวัฒนธรรม
โดยใช้ข้อมูลแสดงให้เห็นร่องรอยของความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมของผู้คนที่ตั้งหลักแหล่ง
อยู่ตามที่ราบลุ่มปากแม่น้ำต่าง ๆ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยังพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยก่อน ประวัติศาสตร์เช่น
โครงกระดูก ขวานหิน เครื่องมือสำริด เครื่องปั้นดินเผา ที่ยืนยันว่า ชนชาติไทย
อาศัยอยู่ในดินเดนที่เป็นประเทศไทย ปัจจุบันมาเป็นเวลานานกว่า 4,000 ปี มาแล้ว
4.
เเนวความคิดที่ว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอาจกระจายอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ของประเทศไทย ในอินโดจีน
ในบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะเป็นการสืบค้นโดยใช้หลักฐานด้าน
พันธุศาสตร์โดยคณะนักวิชาการสายการแพทย์แขนงต่าง ๆ
ร่วมกับสายสังคมศาสตร์ได้พยายามค้นหาดัชนี ความเป็นไทย โดยอาศัยหลักฐานจากหมู่เลือด
5 หมู่ รูปร่างของฟันหน้า ขนาดของฟันหลัง (กราม) ความลึก
ความกว้างและความโค้งของขากรรไกร ตลอดจนโครงสร้างของ ดีเอนเอของกลุ่มคน 5 กลุ่ม คือ
ผู้ไท ไทดำ มลายู เขมรและจีน พบว่าไทดำและ ผู้ไทมีลักษณะหมู่เลือด
ลักษณะฟันและขากรรไกร ใกล้เคียงกับจีน และชาวมลายูมีลักษณะเหล่านี้ใกล้เคียงกับเขมร
การใช้หลักฐานทางการแพทย์สืบค้นเรื่องถิ่นกำเนิดของ ชนชาติไทย
นับได้ว่าเป็นก้าวใหม่ของการศึกษาและเป็นสิ่งที่ ผู้เขียนและประชาชน
จะต้องติดตามศึกษา ความก้าวหน้าของศาสตร์ด้านนี้ต่อไปในอนาคต
แม้ว่าในวงการศึกษายังไม่มีข้อสรุปถึง ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยที่ชัดเจน
แต่ผลการศึกษาแนว ความคิดเรื่องถิ่นกำเนิดของชนชาติไทย
ทำให้ผู้เรียนได้เห็นถึงกระบวนการในการสืบค้นเรื่องราว ในอดีตว่า
ต้องอาศัยหลักฐานและการวิเคราะห์ การตีความหลักฐานเป็นสำคัญ
อันจะเป็นพื้นฐานในการศึกษาค้นคว้า ความรู้อื่น ๆ ของผู้เรียนต่อไป
ดินแดนประเทศไทยเป็นดินเเดนเก่าแก่ที่มีความเจริญสืบเนื่องตั้งเเต่ยุคหินเก่า
ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่และยุคโลหะ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์