วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ประเภทของชา
ประวัติการปลูกชาในประเทศไทย
พันธุ์ชาที่ปลูกในประเทศไทย
พันธุ์ชาที่ปลูกในประเทศไทย
กลุ่มพันธุ์ชาจีน ( Camellia sinensis vav.sinensis )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะลำต้น
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ผิวลำต้นเรียบ สูงประมาณ 1 6 เมตร
กิ่งอายุน้อยค่อนข้างแข็งแรง กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขนอ่อน
กิ่งอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา
ลักษณะใบ
มีก้านใบสั้น แผ่นใบมีปลายใบโค้งมน
บางครั้งอาจพบว่าแผ่นใบค่อนข้างกลม ใบมีความกว้างประมาณ 1.6 - 4 เซนติเมตร
ยาวประมาณ 4 10 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นรูปโค้งเล็กน้อย
ส่วนปลายของหยักฟันเลื่อยมีสีดำ แผ่นใบมีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงสีเขียวเข้ม
กาบหุ้มใบประมาณ 3 - 8 มิลลิเมตร ด้านนอกของกาบจะปกคลุมด้วยขนอ่อน
ลักษณะดอก
พบว่ามีการเจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง
ในแต่ละตาจะประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา
ส่วนด้านล่างจะประกอบด้วยตาที่เจริญเป็นดอก 1-2 ดอกต่อตา
แต่บางครั้งอาจพบว่ามีจำนวนดอกประมาณ 2-7 ดอก/ตา ก้านและดอกยาวรวมกันประมาณ 10 15
มิลลิเมตร ส่วนของก้านดอกยาวประมาณ 6-10 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยง มีจำนวน 5 6 กลีบ
แต่ละกลีบจะมีขนาดไม่เท่ากัน มีรูปทรงโค้งมน ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร
กลีบดอกติดอยู่กับวง Corolla ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยหงายตื้น ๆ ยาวประมาณ 1.5 2
เซนติเมตร กลีบดอกมีจำนวน 7 8 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ
ส่วนปลายกลีบบานออก กลีบดอกมีความยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร กว้างประมาณ 0.8 - 2.3
เซนติเมตร เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลือง
ติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาว ยาวประมาณ 8-13 มิลลิเมตร
ส่วนล่างของก้านติดกันเป็นวงกว้างประมาณ 1 2 มิลลิเมตร วงเกสรตัวเมียยาวประมาณ 8
12 มิลลิเมตร ประกอบด้วยรังไข่ที่ปกคลุมด้วยขน ปากเกสรตัวเมีย (style)
มีลักษณะเป็นก้านกลม ส่วนปลายแบ่งออกเป็น 3 แฉก ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 3 ช่อง
ลักษณะผล
เป็นผลชนิดแคปซูล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร
เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก
ลักษณะเมล็ด
มีลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ10-14 มิลลิเมตร
ผิวของเมล็ดเรียบ มีสีน้ำตาล ใช้ยอดอ่อน 1 ยอดตูม 3 4 ใบบาน
แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาเขียว ใช้ใบเพสลาดมานึ่ง แปรรูปเป็นเมี่ยงอื่น ๆ
ลักษณะทั่วไป
ชาจีนเจริญเติบโตช้ากว่าชาอัสสัม ทนทานต่ออุณหภูมิต่ำและสภาพแวดล้อมที่ผันแปรได้ดี แต่ให้ผลผลิตต่ำกว่าชาพันธุ์อัสสัม พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมควรปลูกในพื้นที่สูง 800 1,200 เมตร พันธุ์ชาจีน ได้แก่ ชิง ชิง อู่หลง ชิงชิงต้าพัง สุ่ยเสียนฟู่หลิน ฟู่หลินตาเป่ย หล่งจิ่ง 43 อู่ติง 1 แม่จอนหลวงเบอร์ 2 แม่จอนหลวงเบอร์ 3 น้ำหนักยอดสดชาจีน 1 กิโลกรัม มียอดชาประมาณ 900 ยอด
กลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม ( Camellia sinensis vav.assamica )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะลำต้น
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง-ใหญ่ ผิวลำต้นเรียบ กิ่งอายุน้อยค่อยข้างแข็งแรง
กิ่งอ่อนปกคลุมด้วยขน ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นขนาดใหญ่
บางครั้งอาจพบได้ว่ามีความสูงถึง 17 เมตร
และมีขนาดใหญ่กว่าชาในกลุ่มชาจีนอย่างเด่นชัด กิ่งอายุมากจะเปลี่ยนเป็นสีเทา
ลักษณะใบ
มีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ปลายแหลม การเรียงตัวของใบบนกิ่งเป็นแบบสลับและเวียน
ใบมีความกว้าง 3 6 เซนติเมตร ยาว 7 16 เซนติเมตร
แต่บางครั้งอาจพบได้ว่ามีใบขนาดใหญ่กว่าที่กล่าว คือ กว้าง 5.6 7.5 เซนติเมตร ยาว
17 22 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด จำนวนหยักฟันเลื่อยเฉลี่ยประมาณ
9 หยัก / ความยาวขอบใบ 1 นิ้ว ส่วนของก้านใบและด้านท้องใบมีขนปกคลุม
แผ่นใบมีตั้งแต่สีเขียวอ่อนจนถึงสีเขียวเข้ม
ลักษณะดอก
พบว่ามีการเจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง
ในแต่ละตาจะประกอบด้วยตาที่เจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา
ส่วนใหญ่ดอกจะออกติดกันเป็นกลุ่ม ช่อละประมาณ 2 4 ดอก / ตา ก้านดอกยาวประมาณ 10
12 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5 6 กลีบ แต่ละกลีบจะมีขนาดไม่เท่ากัน
มีรูปทรงโค้งมนยาว กลีบดอกติดอยู่กับวง Corolla ที่มีลักษณะคล้ายถ้วยหงาย
กลีบดอกมีจำนวน 5 6 กลีบ ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก
วงเกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลือง
ติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาวซึ่งยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร
เกสรตัวเมียประกอบด้วยรังไข่ที่ปกคลุมด้วยขน ส่วนปลายของเกสรตัวเมียมี 3 แฉก
ถัดลงไปเป็นก้านเกสรตัวเมีย มีลักษณะเป็นก้านกลม ภายในรังไข่แบ่งออกเป็น 1- 3 ช่อง
ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.65 เซนติเมตร
ลักษณะผล
เป็นผลชนิดแคปซูล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-4 เซนติเมตร
เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกจะแตกออก
ลักษณะเมล็ด
มีลักษณะกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 11 12 มิลลิเมตร
ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีใบ ใช้ยอดอ่อน 1 ยอดตูม 2 ใบบาน แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชาจีน
และชาดำ ใช้ใบเพสลาดมานึ่งแปรรูปเป็นเมี่ยงอื่น ๆ
ลักษณะทั่วไป
ชาอัสสัมเจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี
พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมตั้งแต่ 100 1,000 เมตร ชาอัสสัมมีคาเฟอีนมากกว่าชาจีน
ชาอัสสัม 1 กิโลกรัม มียอดชาสดประมาณ 700 ยอด
พันธุ์ชาอัสสัม
ชาอัสสัมสามารถแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อยได้ 5 สายพันธุ์ คือ
-
พันธุ์อัสสัมใบจาง ( Light leaved Assam jat ) ต้นมีขนาดเล็ก ยอดและใบมีสีเขียวอ่อน ลักษณะใบเป็นมันวาว ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอ ให้ผลผลิตต่ำและคุณภาพไม่ดี เมื่อนำมาทำชาจีนจะมีสีน้ำตาล
-
พันธุ์อัสสัมใบเข้ม ( Dark leaved Assam Jat ) ยอดและใบมีสีเขียวเข้ม ใบนุ่มเป็นมัน มีขนปกคลุม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี เมื่อนำมาทำชาจีนจะมีสีดำ
-
พันธุ์มานิปุริ ( Manipuri Jat ) เป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ให้ผลผลิตสูง ใบมีสีเขียวเข้มเป็นประกาย ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ทนแล้งได้ดี
-
พันธุ์พม่า ( Burma jat ) ใบมีสีเขียวเข้ม ใบแก่มีสีเขียวแกมน้ำเงิน ใบกว้าง แผ่นใบรูปไข่ ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
-
พันธุ์ลูไซ ( Lushai jat ) ขอบใบหยักลึก ปลายใบเห็นได้ชัด
กลุ่มพันธุ์ชาเขมร ( Camellia sinensis vav.indo china )
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะต้น
ชาในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นพุ่มลำต้นเดี่ยวขนาดใหญ่
มีความสูงของทรงพุ่มประมาณ 5 เมตร กิ่งที่มีอายุน้อยจะมีสีเขียวอมแดง มีขนปกคลุมมาก
เมื่อมีอายุมาก จะเปลี่ยนเป็นสีเทา
ลักษณะใบ
ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว ปลายใบแหลม ขนาดใบใกล้เคียงกับชาในกลุ่มชาจีน
ผิวใบแข็ง ขอบใบหยักถี่กว่ากลุ่มพันธุ์ชาอัสสัม ใบมีความกว้างประมาณ 3 3.5
เซนติเมตร ยาวประมาณ 7.5 เซนติเมตร ขอบใบมีหยักเป็นฟันเลื่อยเด่นชัด
ความยาวของก้านใบใกล้เคียงกับชาจีน ก้านใบและท้องใบมีขนปกคลุม ก้านใบมีสีแดงอมเขียว
โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนจะมีสีแดงเด่นชัดขึ้น แผ่นใบมีตั้งแต่สีเขียวอมแดง
ถึงสีเขียวเข้มแต่ยังคงมีสีอมแดง ใบแก่ค่อนข้างกรอบ
แผ่นใบจะมีลักษณะห่อเป็นรูปตัววี ( V shape )
ลักษณะดอก
พบว่าจะมีการเจริญจากตาบริเวณง่ามใบบนกิ่ง
ในแต่ละตาจะประกอบด้วยตาที่จะเจริญไปเป็นกิ่งใบอยู่ด้านบนของตา
ส่วนใหญ่ดอกจะออกติดกันเป็นกลุ่ม ก้านดอกยาวประมาณ 10 12 มิลลิเมตร
กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5 6 กลีบ มีสีเขียวอมแดง แต่ละกลีบจะมีขนาดไม่เท่ากัน
มีรูปทรงโค้งมนยาว กลีบดอกมีสีขาว แต่บางครั้งอาจพบว่ามีสีแดงเรื่อ ๆ
ส่วนโคนกลีบติดกับฐานดอกแคบ ส่วนปลายกลีบบานออก วงเกสรตัวผู้
ประกอบด้วยอับละอองเกสรสีเหลืองถึงสีเหลืองอมแดง
ติดอยู่ที่ส่วนปลายของก้านชูอับละอองเกสรสีขาวอมแดง
เกสรตัวเมียประกอบด้วยรังไข่ที่ปกคลุมด้วยขน ปากเกสรตัวเมียมีลักษณะเป็นก้านกลม
ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.54 4 เซนติเมตร
ลักษณะเมล็ด
มีลักษณะกลุ่ม มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 11 12 มิลลิเมตร
ผิวของเมล็ดเรียบ แข็ง มีสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมแดง