วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ว่าด้วยเรื่องของกาแฟ
คำว่ากาแฟ เป็นคำที่มาจากคำว่า "เกาะหฺวะหฺ" ในภาษาอาหรับ ซึ่งสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากแคว้นคัฟฟาของเอธิโอเปีย ซึ่งมีการเพาะปลูกกาแฟ หรือไม่ก็มาจากคำว่า qahwat al-būnn ซึ่งหมายถึง "ไวน์แห่งถั่ว" ในภาษาอารบิก แล้วเพี้ยนเป็น กาห์เวห์ ในภาษาตุรกี ก่อนที่จะเป็น caffè ในภาษาอิตาเลียน และเป็น คอฟฟี (Coffee) ในภาษาอังกฤษ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกในช่วงต้นถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้นก็เป็นคำว่า กาแฟ ในภาษาไทย
กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งได้จากต้นกาแฟ
กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับชาและน้ำ
กาแฟเป็นสินค้าธรรมชาติที่มีการซื้อขายกันมากเป็นอันดับสองของโลก
รองจากปิโตรเลียมเท่านั้น
มนุษย์เริ่มบริโภคกาแฟตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่
9 เมื่อถูกค้นพบตามที่ราบสูงในเอธิโอเปีย จากนั้นก็กระจายไปยังอียิปต์และเยเมน
แลเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 กาแฟก็เดินทางไปถึงอาเซอร์ไบจาน เปอร์เซีย
ตุรกีและแอฟริกาเหนือ จากโลกมุสลิม กาแฟก็เดินทางไปยังอิตาลี
จากนั้นไปยังส่วนที่เหลือของยุโรป อินโดนีเซียและทวีปอเมริกา
กาแฟมีส่วนสำคัญในสังคมหลายแห่งในประวัติศาสตร์สมัยใหม่
ในแอฟริกาและเยเมน กาแฟเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา
ดังนั้นคริสตจักรเอธิโอเปียจึงสั่งห้ามบริโภคกาแฟจนกระทั่งถึงรัชสมัยของจักรพรรดิมีนีลิคที่
2 แห่งเอธิโอเปีย กาแฟถูกสั่งห้ามในจักรวรรดิออตโตมาน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17
เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
และได้รับความร่วมมือจากกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป
กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก ในปี ค.ศ. 2004
กาแฟเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่หกของโลก
เป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศ และในปี ค.ศ.
2005 กาแฟเป็นพืชที่มีการส่งออกนอกประเทศมีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 7 ทั่วโลก
กาแฟได้รับการโต้เถียงอย่างมากในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อจำกัดทางยาอย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน่
ประวัติกาแฟ
ชีววิทยา
การเพาะปลูก
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ
การผลิตเมล็ดกาแฟ
การเก็บรักษา
การเตรียมการ
การนำเสนอ
กาแฟกับสังคม
ผลกระทบต่อสุขภาพ
- ข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งอ้างอิง : http://th.wikipedia.org/wiki/