วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
ฝนดาวตกลีโอนิดส์
บรรพบุรุษสังเกตฝนดาวตกลีโอนิดส์กันมาช้านาน เมื่อนักดาราศาสตร์ศึกษา ย้อนกลับไปในอดีต พบว่าเคยเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกครั้งใหญ่ทุกคาบ ประมาณ 33 ปี เศษ
ปรากฏการณ์สำคัญที่ชาวโลกซีกตะวันตกบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ด้วยภาพเขียนและภาพแกะไม้
เล่าเรื่องพายุฝนดาวตก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2376
ผู้คนเขียนเล่าไว้ว่า ดาวตกตกหนักราวกับ จะท่วมโลก
ลูกไฟสว่างเป็นทางยาวไปทั่วทุกทิศทุกทาง ท้องฟ้าสว่างอย่างน่าอัศจรรย์
เห็นดาวตกได้ประมาณ 2 แสน 4 หมื่นดวง ตลอดคืน
พายุฝนดาวตกลีโอนิดส์ จุดประกายให้นักดาราศาสตร์เริ่มต้น
ศึกษาดาราศาสตร์แขนงใหม่เรื่องอุกกาบาตอย่างจริงจัง จึงค้นพบ
ต้นเหตุของฝนดาวตกลีโอนิดส์ มาจาก ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล ที่โคจรกลับมาทุก ๆ 33
ปีเศษ ผู้คนจึงเฝ้ารอคอย "ราชาแห่งฝนดาวตก" เสมอมา โดยเฉพาะในปีพิเศษที่ดาวหาง
กลับมารอบใหม่ ซึ่งมีบางรอบที่ชาวโลกได้เห็นพายุฝนดาวตกสมใจ
แต่บางรอบก็ผิดหวังเพราะได้เห็นเพียงเบาบาง และมี
บางช่วงฝนดาวตกหายเงียบว่างเว้นไปนานนับร้อยปี จนผู้คน
ไม่คิดว่าจะมีฝนดาวตกกลับมาให้เห็นอีก จนครั้ง-ล่าสุด เมื่อคืนวันที่ 17 พฤศจิกายน
2509 เกิดพายุ ฝนดาวตกเห็นได้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายงานว่าเห็น ดาวตกประมาณ 2
แสน ถึง 1 ล้านดวง ตลอดคืน นับเป็นพายุฝนดาวตกแห่งยุคที่พลิกความคาดหมายเลยทีเดียว
ทุก ๆ คาบ 33.2 ปี ที่ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล (Tempel-Tuttle)
โคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ แล้ววก กลับมาผ่านวงโคจรของโลก เคลื่อนไกลออกไป
ทิ้งเศษซากดาวหางไว้เป็นทางยาว เมื่อโลกเคลื่อนที่ ผ่านใกล้กระแสซากวัตถุเหล่านั้น
จึงดึงดูดให้เศษ วัตถุตกเข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลก ลุกไหม้เป็น
ลูกไฟตกลงมาให้เห็นเป็นดาวตกจำนวนมาก มีทิศ ทางคล้ายกับพุ่งมาจากกลุ่มดาวสิงโต
(Leo) จึงเรียกว่า ฝนดาวตกจากกลุ่มดาวสิงโต หรือ ลีโอนิดส์ (Leonids)
ซึ่งในบางปีมีปริมาณดาวตกหนาแน่นมากเป็นพิเศษ จึงเรียกว่า พายุฝนดาวตกลีโอ-นิดส์
ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิล เป็นดาวหางดวงเล็ก
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหัวดาวหางประมาณ 1.9 กิโลเมตร อันดับความสว่างประมาณ 9
ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่เห็นได้จาก
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กหรือกล้องสองตาขนาดใหญ่ส่องสังเกต
เนื่องจากเศษซากวัตถุที่ดาวหางเทมเพล-ทัดเทิลสลัดไว้กระจายเป็นสายธารยาว
เมื่อโลกเคลื่อนที่ใน เส้นทางโคจรรอบดวงอาทิตย์มาถึงเดือนพฤศจิกายน
ได้ผ่านใกล้กระแสธารที่ดาวหางสลัดทิ้งไว้ เราจึงเริ่มสังเกตดาวตกในช่วงวันที่ 15-20
พฤศจิกายน เป็นประจำทุกปี และตกชุกคืนวันที่ 17-18 พฤศจิกายน สำหรับปีทั่ว ๆ ไป
ที่สภาพท้องฟ้าดีเยี่ยม นับดาวตกได้เพียง 10-15 ดวงต่อชั่วโมง เท่านั้น
แต่ในปีพิเศษที่ดาวหางดวงแม่โคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ มักสังเกตดาวตกจำนวน
มากกว่า1,000 ดวงต่อชั่วโมง และบางปีก็เกิดเป็นพายุฝนดาวตก
เนื่องจากดาวหางเทมเพล-ทัดเทิลโคจรเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุดเมื่อ วันที่ 28
กุมภาพันธ์ 2541 และเพิ่งโคจรผ่านเลยออกไปจากเขตระบบสุริยะชั้นใน
นักดาราศาสตร์จึงคาดว่า ในระยะปี 2541 เป็นช่วงที่
น่าจะมีฝนดาวตกหนาแน่นเป็นพิเศษ แต่ผู้คน ทั่วโลกต่างผิดหวังเพราะเมื่อ 17
พฤศจิกายน 2541 สภาพท้องฟ้ามืดมัว มีเมฆมาก จึงเห็นดาวตกได้น้อย