ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
สาขาวิชา สังคมศึกษาและศิลปะ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
แนวทางการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์
หลักที่จะให้คำวิจารณ์แก่ศิลปกรรม
ศิลปะและปรัชญา
สุนทรียศาสตร์ (aesthetics)
ทฤษฎีศิลป์
สุนทรียศาสตร์ (aesthetics)
สุนทรียศาสตร์เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งที่อธิบายเรื่องของความงามและศิลปะ
การเรียนเรื่องนี้ต้องอาศัยองค์ (Domains) ทั้งสองชนิดเพื่อช่วยให้เกิดความรู้
ความเข้าใจโดยสมบูรณ์ คือ Cognitive Domain ซึ่ง หมายถึง
การใช้พิจารณาด้วยสติปัญญาเหตุผลและ Affective Domain
การใช้อารมณ์ความรู้สึกดูงานศิลปะแล้วต้องเกิดความซาบซึ้งทางความงาม
สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
- ความงามมีในงานศิลปะเท่านั้น ข้อนี้เป็นความเข้าใจผิดความงามมีทั้งในสิ่งที่ธรรมชาติสร้างและที่มนุษย์สร้างขึ้น
- สุนทรียศาสตร์ มิได้มุ่งที่จะหาคำจำกัดความที่สมบูรณ์ที่สุดเช่น ศิลปะคืออะไรหรือเพื่อหาคำ อธิบายที่ชัดเจน100% จนผู้ศึกษาหมดความจำเป็นที่จำไปศึกษางานศิลปะ
ความงาม สุนทรียธาตุ และกติกาของความงาม
นักปราชญ์หลายท่าน
พยายามประกาศทฤษฏีที่กำหนดมาตรฐานของความงามขึ้นแบ่งได้ดังนี้
- ลัทธิคตินิยม ลัทธินี้เชื่อว่าความงามเป็นมาตรฐานสมบูรณ์แบบที่ได้จากการคิดเท่านั้นความสวยงามสมบูรณ์แบบ เช่น ความงามของนางฟ้าเทพบุตรจะไปหาแบบมาจากมนุษย์ย่อมไม่ได้ เช่น ประติมากรรมอินเดีย และจิตรกรรมไทยนักปราชญ์ทเป็นนักบวชในศาสนาคริสเตียนกล่าวว่า ความงามกับความดีเป็นเรื่องเดียวกัน
- ลัทธิปรากฏการณ์นิยม ลัทธินี้ตรงกันข้ามกับลัทธิแรก คือไม่เชื่อในความงามสมบูรณ์แบบศิลปะ และวิวัฒนาการที่ศิลปินต้องพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ
- ลัทธิความขาดเหตุผล คำอธิบายของลัทธินี้ก็คือ มนุษย์ซึ่งมีความนึกคิดจิตใจเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดให้เกิดการสร้างสรรค์ซึ่งมีความงาม แต่ความงามดังกล่าวอาจมาจากแรงผลักดันภายในจิตใจ ในระดับเดียวกับจิตใต้สำนึกก็ได้ผู้ที่คิดในแนวนี้ คือ ฟรีดิช นิทเช่และอาร์เธอร์ โช หรือแรงกดดันจากจิตใต้สำนึกของซิกมันด์ ฟรอยด์
แนวทางของสุนทรียศาสตร์ในช่องสองทศวรรษหลังจึงเป็นการนำวิชานี้มา ใช้ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดนั่น คือ การเพิ่มความเข้าใจในศิลปะ จากหลักการดังกล่าวนำไปสู่การใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะเจาะจงหลายลักษณะเช่น การวิจารณ์ศิลปะของนักวิจารณ์ การสร้างสรรค์ของศิลปิน