ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ภูมิปัญญาไทยกับทัศนศิลป์

สาขาวิชา สังคมศึกษาและศิลปะ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
แนวทางการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์
หลักที่จะให้คำวิจารณ์แก่ศิลปกรรม
ศิลปะและปรัชญา
สุนทรียศาสตร์ (aesthetics)
ทฤษฎีศิลป์

แนวทางการวิจารณ์ผลงานทัศนศิลป์

การวิจารณ์งานทัศนศิลป์
การให้ความคิดเห็นของตนในเรื่องคุณค่าทางศิลปะของศิลปกรรมใดๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคนทุกคน เพราะทุกคนมีสิทธ์จะติชม หรือให้คำวิจารณ์ตามข้อวินิจฉัยของตนเองได้แต่ข้อวินิจฉัยนั้นอาจผิดก็ได้ ถึงกับทำให้ผู้วิจารณ์เห็นเขวไป คือ เห็นศิลปกรรมชั้นสามัญที่สุดว่าเป็นผลงานชั้นเยี่ยม ก็ได

การวิจารณ์มีอยู่ 3 อย่างคือ

  1. จิตวิจารณ์ ( Impressionistic Critcism ) คือ วิจารณ์ในแง่ความรู้สึก
  2. อรรถวิจารณ์ ( Interpretative Critcism ) คือ วิจารณ์ในแง่แปลความหมาย
  3. วิพากษ์วิจารณ์ ( Judicial Critcism ) คือ วิจารณ์ในแง่ให้คำพิพากษาตัดสิน

 

กล่าวไว้ในเรื่องสุนทรียภาพและเรื่องความรู้ว่า บุคคลซึ่งมีพื้นการศึกษาดี โดยเฉพาะการศึกษาทางด้านศิลปะอาจเข้าใจได้ดี และให้ความเห็นวิจารณ์ศิลปกรรมใดว่าเป็นศิลปะที่แท้จริงได้ การ ศึกษาทางศิลปะ เริ่มต้นตั้งแต่โรงเรียนชั้นประถมต่อเนื่องขึ้นไปในโรงเรียนชั้นสูงโดยลำดับการศึกษามีฝึกหัดปั้นรูปประติมากรรม การพาไปชมศิลปกรรมตามศิลปะสถานการณ์แสดงดนตรี และการแสดงปาฐกถาเกี่ยวกับนาฏศิลป์ การพาไปเที่ยวตามทุ่งนา ป่าเขา เพื่ออบรมนักศึกษาให้รู้จักความรักความงามแห่งธรรมชาติเมื่อนักศึกษาเหล่านั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว อาจไปรู้จักมักคุ้นกับพวกศิลปินซึ่งมีความรู้ในวิชาชีพทางศิลปะ ศิลปินเหล่านี้จะเป็นผู้ขัดเกลานิสัยของนักศึกษาให้ชีวิตจิตใจรักแต่สิ่งดีงาม เมื่อเป็นเช่นนี้ นักศึกษาเหล่านี้ต่อไปอาจเป็นผู้รู้ค่าและวิจารณ์ศิลปกรรมได้ถูกต้อง

การให้คำวิจารณ์ที่ถูกต้องถ่องแท้ในเรื่องศิลปะเป็นสิ่งยากยิ่งที่สุด ถ้าจะกล่าวโดยทั่วไปในการวิจารณ์ เราไม่ควรจะด่วนให้คำวินิจฉัยแก่ศิลปกรรม เมื่อเราได้เห็น ได้ฟัง หรือได้อ่านเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะเรื่องแบบและวิธีการแสดงออก หรือเรื่องเทคนิคนั้น ไม่ตรงกับความนิยมชมชอบที่เราเคยได้เห็นได้ฟังหรือได้อ่านมาในชีวิตของเรา เพราะเป็นวัฒนธรรมของต่างชาติหรือต่างสมัย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย