ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

อินเตอร์เน็ต (Internet)

» ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

» อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต

» ประเภทของคอมพิวเตอร์

» อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์

» ระบบคอมพิวเตอร์

» การทำงานแบบบัฟเฟอร์ (Buffering)

» ระบบสพูลลิ่ง (Spooling System)

» ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)

» ระบบแบ่งเวลา (Time-Sharing System)

» ระบบเรียลไทม์ (Real-Time System)

» ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal Computer Systems)

» ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multipocessor System)

» ระบบแบบกระจาย (Distributer System)

» โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

» เน็ตเวิร์ค (Networking)

อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์

โมเด็ม (Modem)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับช่องทางการสื่อสาร กล่าวคือคอมพิวเตอร์จะประมวลผลลัพธ์ออกมาในรูปของดิจิตัล เมื่อต้องการส่งข้อมูลนี้ไปบนช่องทางการสื่อสาร เช่น ต่อเชื่อมผ่านทางสายโทรศัพท์ โมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อส่งผ่านไปบนสายโทรศัพท์ ในทางกลับกันเมื่อข้อมูลจากที่อื่นส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกนั้นมาเป็นสัญญาณดิจิตัล เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าใจได้

ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater)
เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่องเมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น



สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge)
เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลงและติดตั้งง่าย

เร้าเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่งแน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น

เกทเวย์ (Gateway)
เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย การวางแผนก่อนติดตั้งระบบเครือข่าย

จากองค์ประกอบข้างต้นก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกรูปแบบและวิธีการในการวางระบบเครือข่ายเราจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงระบบเครือข่ายที่เรากำลังจะวาง ว่าระบบเครือข่ายของเรา มีความต้องการด้านใดบ้าง เหมาะสมกับระบบเครือข่ายประเภทไหน และทำอย่างไรเพื่อให้มีการรองรับการขยายหรือการเติบโตของระบบเครือข่าย ในอนาคตได้ ซึ่งอาจจำแนกได้ดังนี้

1. ออกแบบวางระบบเครือข่าย
2. แบบแปลนที่ได้จะนำมาวิเคราะห์และนำไปออกแบบด้านอุปกรณ์ เพื่อให้เลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระบบและ นโยบายของเราต่อไป
3. กำหนดค่า Network ต่างๆ
4. ตรวจสอบสเป็กเครื่องที่จะใช้ทำ Server โดยดูจากความจำเป็นในการใช้และความสำคัญของข้อมูลที่ให้บริการ
5. ออกแบบหรือวางระบบ Internet หรือ Network เดิมที่มีอยู่แล้วเพื่อทำให้ สามารถใช้งาน Internet ได้ เช่น เขียนผังอาคารหรือสำนักงานอย่างละเอียด กำหนดระยะทาง จุดติดตั้ง Client ทั้งปัจจุบันและอนาคต การใช้งานที่ต้องการเช่น File,Print, CD ROM Server และ Internet จำนวนสมาชิก ฝ่าย งาน หรือแผนก…. อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ เช่น Router, Switch, HUP, NIC, Cable …. รายละเอียดการเชื่อมต่อสัญญาณกับ ISP การให้บริการลูกข่ายภายนอก

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย