ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

อินเตอร์เน็ต (Internet)

» ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต

» อินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต

» ประเภทของคอมพิวเตอร์

» อุปกรณ์ที่ใช้การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์

» ระบบคอมพิวเตอร์

» การทำงานแบบบัฟเฟอร์ (Buffering)

» ระบบสพูลลิ่ง (Spooling System)

» ระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming)

» ระบบแบ่งเวลา (Time-Sharing System)

» ระบบเรียลไทม์ (Real-Time System)

» ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือพีซี (Personal Computer Systems)

» ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multipocessor System)

» ระบบแบบกระจาย (Distributer System)

» โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

» เน็ตเวิร์ค (Networking)

เน็ตเวิร์ค (Networking)

ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่เพิ่มเติมในการจัดการทางด้านเน็ตเวิร์ค โดยเฉพาะแบบกระจายที่เป็นการทำงานของโปรเซสเซอร์ที่ไม่มีการแชร์หน่วยความจำ, ดีไวซ์ต่าง ๆ , หรือแม้แต่สัญญาณนาฬิกา โดยที่แต่ละโปรโซสเซอร์จะมีหน่วยความจำ และสัญญาณนาฬิกาเป็นของตัวเองและมีการติดต่อระหว่างโปรเซสเซอร์ผ่านทางสายสื่อสาร โดยใช้ระบบบัสที่มีความเร็วสูง หรืออาจจะใช้คู่สายโทรศัพท์สาย UTP ก็ได้

โปรเซสเซอร์ในระบบจะเชื่อมต่อผ่านเน็ตเวิร์คซึ่งสามารถปรับแต่งได้หลายรูปแบบ การออกแบบเน็ตเวิร์คจะต้องคำนึงถึงเส้นทางการเดินของข้อมูล, จุดเด่นจุดด้อยในการเชื่อมต่อแบบนั้น, ข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ระบบป้องกัน(Protecion System)
ระบบปฏิบัติการจำเป็นต้องมีการป้องกันในกิจกรรมหรือโปรเซสที่อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น ระบบที่มีการเบิกถอนเงินในสาขาต่าง ๆ พร้อมกัน เป็นต้น จุดประสงค์หลักของการนี้จะต้องมีกลไกที่ทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่า ทั้งไฟล์, หน่วยความจำ, ซีพียู, และรีซอร์สอื่นๆ จะมีโปรเซสเกิดขึ้นได้เฉพาะคนที่ได้รับอนุญาตจากระบบเท่านั้น

คำว่าการป้องกัน หมายถึงกลไกที่ใช้ในการควบคุมการแอ็กเซสโปรแกรม, การโปรเซสและควบคุมผู้ใช้จากดีไวซ์ที่กำหนดโดยระบบคอมพิวเตอร์ กลไกนี้จะต้องกำหนดคุณสมบัติของการควบคุมและการบังคับอีกด้วย รีซอร์สที่ไม่ได้มีการป้องกันจะไม่สามารถป้องกันการใช้งานจากผู้ใช้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ได้ ดังนั้นระบบป้องกันก็คือระบบที่ควบคุมการใช้งานจากผู้มีสิทธิ์ และไม่มีสิทธิ์



ระบบตัวแปลคำสั่ง
ตัวแปลคำสั่งนี้เป็นการอินเทอร์เฟซระหว่างผู้ใช้กับระบบปฏิบัติการ บางระบบปฏิบัติการจะมีตัวแปลคำสั่งอยู่ใน kernel เลย แต่ในบางระบบ เช่น DOS และ UNIX จะมีโปรแกรมพิเศษที่รันเมื่องานเริ่มต้น หรือเมื่อผู้ใช้เริ่มล็อกเข้าระบบครั้งแรก โดยในคำสั่งส่วนใหญ่จะมีคอนโทรลสเตทเมนต์ที่คอยส่งไปให้ระบบปฏิบัติการ เมื่อเริ่มงานใหม่ในแบบงานแบ็ตซ์ หรือเมื่อผู้ใช้ล็อกเข้าระบบจะมีการเอ็กซิคิวซ์โปรแกรมที่อ่านและแปลคำสั่งคอนโทรบสเตทเมนต์อย่างอัตโนมัติ คนทั่วไปรู้จักในชื่อ shell จะมีฟังก์ชันที่ธรรมดามากคือ “นำคำสั่งต่อไปเข้ามาเอ็กซิคิวต์”

เซอร์วิสของระบบปฏิบัติการ (Operating System Services)
เซอร์วิสพื้นฐานที่น่าสนใจของระบบปฏิบัติการมีดังนี้

- การเอ็กซิคิวต์โปรแกรม ระบบจะต้องโหลดโปรแกรมและข้อมูลลงสู่หน่วยความจำก่อนใช้งาน และจะสิ้นสุดการเอ็กซิคิวต์ได้ตามปกติ ถ้าผิดพลาดจะแสดงแมสเสจแจ้งเตือน
- การปฏิบัติกับอินพุต/เอาต์พุต ระบบอาจจะความต้องการติดต่อหรือต้องการใช้อินพุต/เอาต์พุต หรือใช้ดีไวซ์พิเศษ
- การจัดการกับระบบไฟล์ สำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการ
- การติดต่อสื่อสาร จะช่วยสื่อสารระหว่างโปรเซส การสื่อสารอาจจะใช้หน่วยความจำที่แชร์อยู่ หรืออาจใช้เทคนิคที่เรียกว่า “แมสเสจพาสซิง” ซึ่งเป็นการย้ายเพ็กเกจของข้อมูลระหว่างโปรเซสในระบบปฏิบัติการ
- การตรวจจับข้อผิดพลาด ช่วยป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น ระบบปฏิบัติการจะแสดงแอ็กชันที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขให้ต่อไป
- การแชร์รีซอร์ส ในกรณีมีงานเข้ามาหลายงานในเวลาเดียวกัน ระบบปฏิบัติการจะต้องการมีแชร์รีซอร์สให้เหมาะสม มีฟังก์ชันสำหรับจัดเวลาของซีพียู
- การป้องกัน ระบบปฏิบัติการจะให้อำนาจในการใช้รีซอร์สในลักษณะรหัสผ่าน

System Calls

System Calls จัดเป็น 5 กลุ่มหลักคือ

- การควบคุมโปรเซส กลุ่มนี้เป็นการควบคุมโปรเซสทั้งหมด ขณะที่กำลังเอ็กซิคิวต์โปรแกรมอยู่นั้นอาจจะต้องการหยุดโปรเซสในลักษณะการหยุดปกติ, การหยุดแบบไม่ปกติ, โหลดข้อมูลเพิ่มเติม ฯลฯ
- การจัดการกับไฟล์ จะจัดการเกี่ยวกับไฟล์ทั้งหมด
- การจัดการดีไวซ์ กลุ่มนี้เป็นการจัดการดีไวซ์ในระบบเมื่อมีโปรเซส ระบบอาจจะเรียกใช้ดีไวซ์เพิ่มเติม
- การบำรุงรักษาข้อมูล กลุ่มนี้จะตอบสนองงานหลักของระบบปฏิบัติการ ในระบบส่วนใหญ่จะมีการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับระบบปฏิบัติการ
- การติดต่อสื่อสาร การติดต่อสื่อสารระหว่างโปรเซสมี 2 รูปแบบ คือระหว่างโปรเซสในระบบคอมพิวเตอร์เดียวกัน และการติดต่อสื่อสารระหว่างระบบคอมพิวเตอร์เข้ามเน็ตเวิร์คเอง กลุ่มนี้จะเป็นการเชื่อมต่อ ,รับ-ส่งแมสเสจ เป็นต้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย