สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

อุดมการณ์และระบอบการเมือง

อุดมการณ์เสรีนิยมคลาสสิค (Classical Liberalism)
อุดมการณ์เสรีนิยมสมัยใหม่ (Modern Liberalism)
อุดมการณ์อนุรักษ์นิยม (Conservatism)
อุดมการณ์สังคมนิยมและการปฏิวัติสังคม (Socialism)
ทฤษฎีแห่งรัฐของมาร์กซิสต์ (The Marxist Theory of the State)

ทฤษฎีแห่งรัฐของมาร์กซิสต์

 (The Marxist Theory of the State)

Marx คิดว่าสังคมสมัยใหม่ประกอบด้วยชนชั้นหนึ่ง (นายทุน) อยู่เหนืออีกชนชั้นหนึ่ง (คนทำงาน) เหตุที่ความตึงเครียดซึ่งสร้างขึ้นโดยการมีอำนาจเหนือกว่า ทำให้คนทำงานต้องถูกควบคุม และนี้คือเหตุผลว่ารัฐจึงเป็นสิ่งที่ต้องการ รัฐจะคอยควบคุมคนทำงานให้อยู่ภายใต้การควบคุมบางส่วนด้วยกำลัง (ตำรวจ) และบางส่วนด้วยจูงใจให้เข้ากับระบบที่เป็นอยู่ในโรงเรียน และอื่นๆ ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้ยังดีอยู่

แต่แล้วในที่สุดคนทำงานจะปฏิวัติ และตั้งระบบสังคมนิยม ซึ่งชนชั้นหนึ่งจะไม่มีอำนาจเหนือชนชั้นหนึ่ง และในที่สุดรัฐจะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปและสลายตัวไปเอง

วิภาษวิธี คือ ทฤษฎี / Model / กระบวนการ ที่อธิบายโลกวัตถุว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วัตถุและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตามหลัก Thesis / Anti-Thesis และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป

Lenin คือ คนที่เอา Marxism ไปใช้ในประเทศรัสเซีย ทำให้เกิดเผด็จการสังคมนิยม Marx บอกว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้องเกิดขึ้นในประเทศที่เจริญ ทางเศรษฐกิจและสังคมเสียก่อน กล่าวอีกนัยหนึ่ง การปฏิวัติเริ่มจากประเทศก้าวหน้ามากที่สุด à ก้าวหน้าที่สุด แต่ Lenin เห็นว่า 1) จะต้องเริ่มที่ประเทศอุตสาหกรรมน้อยที่สุด 2) การปฏิวัติสังคมไม่ต้องเป็นไปตามขั้นตอน แต่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการเมือง 3) การปฏิวัติจากประเทศหนึ่งถ่ายทอดไปสู่อีกประเทศ หนึ่ง แต่ก่อนที่จะไปถึงยุโรป ฐานสำคัญ คือ ทวีป เอเชีย ได้แก่ ประเทศรัสเซีย จีน อินเดีย Mao Tse-Tung ใช้หลักป่าล้อมเมือง

แต่ในที่สุด เผด็จการสังคมนิยมเสื่อมถอยลง ไม่สามารถไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์ได้ เพราะ

  1. รัฐเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพต้องสร้างความเป็นรัฐที่แข็งแกร่งต่อสู้สังคมนิยม และสังคมอื่น จนกลายเป็น “สงครามเย็น”
  2. สังคมแบบนี้มีรัฐบาลเป็นระบบราชการขนาดใหญ่ ผู้นำของประเทศเหล่านี้เมื่อถึงจุดหนึ่งก็กลายเป็นพวกอนุรักษ์นิยม รักษาอำนาจของตนเอง
  3. กว่าจะบรรลุเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ การผลิตต้องมีมากพอ

หลักอุดมการณ์สังคมนิยม

- ความเสมอภาค / มนุษย์นิยม (การคำนึงถึงศักยภาพตามธรรมชาติของมนุษย์ ศักดิ์ศรีของคน)
- Collectivism ทรัพย์สินเป็นของส่วนรวม
- Active / Interventionist Government รัฐบาลเชิงรุกและเข้าแทรกแซงเศรษฐกิจและการผลิต

Marxist Socialism

- การกดขี่เอารัดเอาเปรียบระหว่างชนชั้น / ความขัดแย้งทางชนชั้นในระบบทุนนิยม
- รัฐเป็นเครื่องมือทางชนชั้น (Marxism ต่อต้านอำนาจรัฐ)
- การปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ
- The state will wither away รัฐจะสลายตัวไป เมื่อเป็นสังคมคอมมิวนิสต์

ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม (Social Economic)

- Collective Ownership: ปัจจัยการผลิตเป็นของส่วนรวม
- Central Planning: ใช้ระบบการวางแผนจากส่วนกลางในการผลิต แจกจ่ายสินค้า แทนกลไกราคา กลไกตลาด



เผด็จการชาตินิยม (Fascism & Nazism)

- เป็นลัทธิการเมืองของพวกเผด็จการ (ฝ่ายขวา)
- เกิดจากจิตวิทยาของผู้แพ้ / ปัญหาสังคม
- สร้างความหลงใหลในชาติ / ผู้นำ
- ไม่มีสาระ / พวกฉวยโอกาส (อาศัยปัญหาสังคมเป็นเครื่องมือ)
- ต่อต้านทุกระบอบโดยเฉพาะ Communism (และอ้างว่าพร้อมที่จะเป็นการปกครองทุกรูปแบบ)
- ทฤษฎีชนชั้นนำ ถือว่าสังคมทุกสังคม ต้องมี “ผู้นำ” (ชนกลุ่มน้อย แต่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า – เป็นผู้ปกครอง) กับ “ผู้ตาม” (มวลชน)
- Fascism (Italy) – Benito Mussolini (1883-1945)
- Nazism (Germany) – Adolf Hitler (1889-1945)

ลัทธิฟาสซิสต์ (Fascism)

- สนใจสร้างรัฐให้มีอำนาจแข็งแกร่ง ทุกชนชั้นเป็นหนึ่งเดียวกัน
- ขบวนการทางจิตใจที่ขัดกับ Marxism (ยึดติดอยู่กับการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ไม่สนใจเอกภาพของรัฐ)
- ไม่ใช่ลัทธิแห่งเหตุผล:

  • ครอบครัว / ชาติ / ประเพณี
  • ระเบียบวินัย
  • เยาวชน / ความแข็งแกร่งของร่างกาย / เทิดทูนวีรบุรุษ
  • สัญลักษณ์ / การประดับประดา
  • เชื่อผู้นำอย่างหลงใหล

- ปฏิเสธความเสมอภาค (ถือว่าความไม่เสมอภาค เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ และเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ)

  • ความอยู่เหนือของผู้ปกครอง

- เทิดทูนรัฐ รัฐครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง รัฐเป็นเครื่องมือของความแข็งแรง หลักประกันเป็นสิ่งที่อ่อนแอ

ลัทธินาซี (Nazism)

- อาจเรียกว่า National Socialism
- ลัทธิเชื้อชาตินิยม (Racism) / ต่อต้านคนยิว
- Hitler: การต่อสู้ เชื้อชาติ ความไม่เสมอภาค

Hitler เชื่อว่า อารยันเป็นเชื้อชาติสูงสุดอยู่เหนือเชื้อชาติอื่นๆ ต้องรักษาความบริสุทธิ์ ความเสื่อมของอารยันเกิดจากการไปผสมเลือดกับเชื้อชาติที่อ่อนแอกว่า

- รัฐเป็นเครื่องมือแห่งผู้นำ / เชื้อชาติสำคัญที่สุด (ขัดกับหลักสันติภาพ หลักสากลนิยม ประชาธิปไตย)

  • ธำรงรักษา / ปรับปรุงเชื้อชาติ
  • การขยายอาณาจักร – การครอบงำของเชื้อชาติอารยัน

รัฐตั้งอยู่บนพื้นฐานของความศรัทธาต่อผู้นำ รัฐไม่ได้มีเกียรติคุณ แต่เป็นเพียงการรักษาความบริสุทธิ์ และเอกภาพของเชื้อชาติ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย