สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์
การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ
การปกครองประเทศอังกฤษ : ระบบรัฐสภา
หลักการปกครองโดยกฎหมาย (Rule of Law)
หลักอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (Supremacy of Parliament)
การขยายสิทธิการเลือกตั้งให้แก่ประชาชนทั่วไป
ความสัมพันธ์ระหว่างสภาขุนนาง และสภาสามัญ
ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
การปกครองประเทศสหรัฐอเมริกา : ระบบประธานาธิบดี
หลักการของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา
การปกครองฝรั่งเศส : ระบบสาธารณรัฐที่ 5
การปกครองประเทศอังกฤษ : ระบบรัฐสภา
รัฐธรรมนูญอังกฤษเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่มีลายลักษณ์อักษร
แต่กระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบต่างๆ กันในรูปของพระราชบัญญัติต่างๆ บ้าง เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปี ค.ศ.1689 พระราชบัญญัติสืบสันตติวงศ์ ปี 1701
เป็นต้น หรือในรูปของข้อตกลงและขนบธรรมเนียม เช่น
การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีไม่มีกฎหมายฉบับไหนบ่งบอกให้มีการจัดตั้ง
แต่คณะรัฐมนตรีวิวัฒนาการจากภาคปฏิบัติจนกลายเป็นขนบธรรมเนียมที่ยอมรับกกันมาเกือบ
300 ปีแล้ว
รัฐธรรมนูญของอังกฤษ
จึงเป็นเรื่องราวของวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์การเมือง
เกิดขึ้นหรือเป็นผลลัพธ์ของกระบวนการร่วมมือ
และการขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์และขุนนาง
และกว่าจะเข้ารูปเข้ารอยดังเช่นปัจจุบันก็ต้องผ่านสงครามปฏิวัติถึง 2
ครั้งใหญ่ในศตวรรษที่ 17 และยังจะต้องมีการปฏิรูปกันขนานใหญ่ ในศตวรรษที่ 19
และ 20 ถึงจะประกฎในรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดังที่ปรากฏ
การต่อสู้ดิ้นรนระหว่างขุนนางอังกฤษและมหากษัตริย์ในอดีต
เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มชนชั้นของตนเองและตามแนวความคิดเชื่อถือตามลัทธิศาสนา
แต่ผลของการต่อสู้เรื่องนี้ชักนำให้เกิดระบบการปกครองที่กลายเป็นพื้นฐานของระบบการปกครองประชาธิปไตยในสมัยต่อมา
การปกครองของอังกฤษมิได้มีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น อำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ในลักษณะที่ชัดเจน