ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์
บทวิพากษ์ลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ
ตามทัศนะนักปรัชญาสำนักเหตุผลนิยม
ผศ.ดร.ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล
กระบวนทัศน์และแนวคิดนักปรัชญาสำนักเหตุผลนิยม
วิถีทัศน์และแนวคิดลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ
ลัทธิอำนาจนิยม กับการปรับตัวเชิงอำนาจ สู่อำนาจแบบเหตุผลนิยม
ตามกรอบความคิดเชิงปรัชญา
กระบวนทัศน์และแนวคิดนักปรัชญาสำนักเหตุผลนิยม
หลักการของเหตุผลนิยม(Rationalism)
คือวิธีการทฤษฎีทางปรัชญาซึ่งถือว่ามาตรการวัดความ จริงไม่ได้เกี่ยวกับประสาทสัมผัส
แต่เป็นเรื่องของสติปัญญาและวิธีนิรนัย
และรวมไปถึงความพยายามในการนำเอาวิธีการทางคณิตศาสตร์มาใช้ในวิชาปรัชญา อาทิเช่น
ปรัชญาของเดสการ์ด ไลบ์นิซและสปีโนซ่า เกี่ยวกับความรู้
ลัทธิเหตุผลนิยมกล่าวถึงความรู้ไว้เป็น 3
ลักษณะคือความรู้ต้องเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัว ความรู้คือสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
ความรู้คือการระลึกได้
ประเด็นสำคัญนี้อธิบายความได้ว่า ความรู้ต้องเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัว
กล่าวคือ ความจริงในโลกตามทัศนะของเหตุผลนิยมมี อย่างหนึ่งคือ ความจริงง่อนแง่น
(Contingent truth) อันได้แก่ความจริงที่ไม่แน่นอนตายตัว ความจริงที่เปลี่ยนแปลงได้
และอีกอย่างหนึ่งคือ ความจริงที่จำต้องเป็น (Necessary truth)
ได้แก่ความจริงที่แน่นอนตายตัว
พวกเหตุผลนิยมถือว่าถ้ารู้อะไรแล้วเปลี่ยนแปลงได้ไม่เรียกว่ารู้ หรือความรู้
เรียกว่าเป็นความรู้ได้ เมื่อความรู้นั้นเป็นความรู้ที่แน่นอนตายตัว ไม่เปลี่ยนแปลง
ความรู้ที่แน่นอนตายตัวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการคิดตามหลักเหตุผลเท่านั้น
ความรู้คือสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด พวกเหตุผลนิยมเชื่อว่า
มนุษย์ทุกคนสามารถมีความรู้ได้โดยไม่ต้องอาศัยประสบการณ์
เพราะเพียงแต่คิดตามหลักเหตุผลเท่านั้น มนุษย์ก็สามารถจะได้ความรู้มา อย่างเช่น
อยากจะทราบว่า 4 บวก 5 เป็นเท่าไร เราก็คิดเอา ไม่ต้องนับ
ความรู้ชนิดที่ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์หรือมีก่อนประสบการณ์นี้เรียกว่า A priori
knowledge (Innate idea)
และความรู้ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดนี้จะปรากฎหรือมีขึ้นได้ก็ด้วยการคิดอันเกี่ยวข้องกับปัญญา
ไลป์นิซ นักปรัชญาชาวเยอรมันผู้หนึ่งเรียกว่า ประทีปธรรมชาติ
ปัญญาเป็นความสามารถส่วนหนึ่งของมนุษย์และมีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ทุกคน
ปัญญาเป็นสิ่งที่ทำให้เราเห็นมูลบทของคณิตศาสตร์เช่นที่ว่า สิ่งที่เท่ากัน
เมื่อเอาออกเท่ากัน ส่วนที่เหลือย่อมเท่ากัน ความรู้คือการระลึกได้
ความคิดที่ว่าความรู้คือการระลึกได้
สืบเนื่องมาจากความคิดที่ว่าความรู้คือสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดและความคิดที่ว่า
ความรู้คือสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
ก็เกิดมาจากความเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด
ความเชื่อเรื่องความเป็นอมตะของวิญญาณ เพลโตเชื่อว่า มนุษย์มีการเวียนว่ายตายเกิด
เมื่อกายแตกดับจิตไม่แตกดับไปพร้อมกับกายเนื้อ จิตมีสภาพเป็นอมตะ
แต่เมื่อจิตไปแฝงอยู่ในกายใหม่นาน ความรู้เก่าที่ติดตัวมาก็เลือนไป
ดังนั้น การเรียน
การสอนหรือการคิดก็คือกระบวนการที่จะช่วยให้ความรู้ที่หลงลืมไปแล้วนั้นฟื้นตัวขึ้นมาได้ลักษณะทั่วไปของเหตุผลนิยมสรุปได้ดังนี้
คือเน้นอภิปรัชญามากกว่าญาณวิทยา คือสนใจที่จะศึกษาว่าความจริงคืออะไร
มากกว่าวิธีเข้าถึงจริง ถือว่าบ่อเกิดหรือต้นกำเนิดของความรู้มาจากเหตุผล
ความรู้ที่ได้จากเหตุผลเป็นความรู้ที่แน่นอนตายตัว
ไม่สามารถใช้ประสบการณ์ทดสอบความจริง เท็จได้ ยอมรับความรู้ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด
(Innate idea) และความรู้ก่อนประสบการณ์ (A priori knowledge)
เชื่อว่าเหตุผลหรือปัญญาของมนุษย์มีสมรรถนะ(Faculty) เหนือกว่าประสาทสัมผัส
และมีความสามารถในการเข้าถึงความจริงได้
อีกทั้งมีความเชื่อว่าความจริงสูงสุด(Ultimate Reality) มีลักษณะสมบูรณ์(Absolute)
คือไม่ขึ้นกับสิ่งใด มีอยู่ด้วยตัวเอง แน่นอนตายตัว สิ่งต่างๆ
ในโลกต้องขึ้นอยู่กับความจริงสูงสุดนี้และถือว่าวิธีนิรนัย (Dedution)
ลัทธิประสบการณ์นิยม
(Empiricism)เป็นลัทธิที่มีความคิดเห็นตรงข้ามกับลัทธิเหตุผลนิยม
ซึ่งพจนานุกรมศัพท์ปรัชญาฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า
ได้แก่ความรู้ที่ผ่านมาทางประสาทสัมผัส
เป็นทัศนะที่ไม่เชื่อว่ามีความรู้ก่อนประสบการณ์ (A poteriori knowledge) เท่านั้น
เป็นทัศนะที่ตรงข้ามกับลัทธิเหตุผลนิยม(rationalism) ลัทธินี้ปฏิเสธความเชื่อว่า
มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด(Innate idea)
ทั้งนี้เพราะว่าลัทธิเหตุผลนิยมเชื่อว่าความรู้เป็นสิ่งที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิดความรู้เป็นสิ่งที่ประทับหรือตรึงอยู่ในจิตหรือวิญญาณของมนุษย์ทุกคน
ลัทธิประสบการณ์นิยมไม่ยอมรับทฤษฎีนี้และลัทธินี้ก็ปฏิเสธความเชื่อที่ว่า
ความรู้มีอยู่ก่อนประสบการณ์ความรู้ก่อนประสบการณ์
ความรู้ก่อนประสบการณ์คือความรู้ที่มีอยู่ในตัวก่อนแล้ว
ไม่ต้องอาศัยประสบการณ์ลัทธิประสบการณ์นิยมไม่ยอมรับความคิดนี้ลัทธิประสบการณ์นิยมยอมรับความรู้หลังประสบการณ์
กล่าวคือ ยอมรับว่าความรู้คือประสบการณ์
ประสบการณ์หรือประสาทสัมผัสเป็นบ่อเกิดของความรู้ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์นี้เรียกว่า
ความรู้เชิงประจักษ์
นอกจากนี้ ลัทธิประสบการณ์นิยมมีความเห็นเรื่องสหัชญาณ(Intuition)
ไม่ตรงกับลัทธิเหตุผลนิยม เพราะลัทธิเหตุผลนิยมเชื่อว่า สหัชญาณ
หรือที่บางแห่งเรียกว่า อัชฌัตติกญาณ เป็นวิธีเข้าถึงความจริงอีกวิธีหนึ่ง
สหัชญาณนี้เป็นเรื่องของจิตที่เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นมาเองอย่างฉับพลัน
ไม่เกี่ยวกับการอ้างเหตุผลหรือความรู้อื่นใดเป็นตัวกลาง
และไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์แต่อย่างใด
แต่ประสบการณ์นิยมอธิบายความหมายของสหัชญาณในลักษณะที่ว่า
เป็นเรื่องของการรับรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัส ได้ทำหน้าที่สัมผัสกับสิ่งภายนอก
อาทิเช่น ตามองเห็นสีแดง เราก็รู้ว่าเป็นสีแดง หูได้ยินเสียงรถยนต์
เราก็รู้ว่าได้ยิน
แต่สำหรับ จอห์น ลอค แล้ว (John Locke ; 1632-1704)
เขาเป็นผู้คัดค้านความคิดแบบเหตุผล
นิยมของเดส์การ์ต ทุกประการทัศนะของจอห์น ลอค ซึ่งมีหลักการดังนี้เชื่อว่า
มนุษย์มิได้มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิดจุดเริ่มต้นของคนเราก็คือ
สภาพจิตที่บริสุทธิ์ว่างเปล่า บ่อเกิดของความรู้ของคนเรามี 2 อย่างด้วยกัน คือ
ผัสสะกับการไตร่ตรอง กล่าวคือ เมื่อเกิดผัสสะ
จิตก็รับรู้และสร้างเป็นความคิดเชิงเดี่ยว จากนั้นจิตก็จะรวบรวมจัดการผัสสะ
เข้าด้วยกัน สร้างความคิดเชิงซ้อนของวัตถุหนึ่งขึ้นมา ผัสสะ
หรือความคิดเชิงเดี่ยวต่างๆ ที่คนเรามี แบ่งออกเป็น 2 อย่าง
คือความคิดที่เป็นคุณสมบัติปฐมภูมิของวัตถุ กับคุณสมบัติทุติยภูมิ
คุณสมบัติทุติยภูมิเป็นอำนาจที่คุณสมบัติปฐมภูมิสร้างให้เกิดขึ้นกับตัวผู้รู้
ดังนั้น ตัววัตถุจริงๆ กับวัตถุที่เป็นสิ่งรู้ของคนเราจะไม่เหมือนกัน นี่คือ
การที่เรารู้จักตัวแทนของวัตถุ ไม่ได้รู้จักวัตถุตัวจริง
การที่วัตถุมีคุณสมบัติปฐมภูมิ อาทิเช่น น้ำหนัก ขนาด
รูปร่างซึ่งก่อให้เกิดผัสสะแก่เรา แสดงว่าจะต้องมีอะไรบางอย่างที่ค้ำจุน
หรือรองรับคุณสมบัติต่างๆ สิ่งนั้น คือสาร แต่เราไม่อาจรู้ได้ว่าสารนั้นเป็นอย่างไร
สำหรับตัวลอคเองแล้วเขาเชื่อว่า ความรู้ของคนเรามีเพียง 4 ชนิดเท่านั้นคือ
ความรู้ที่ได้จากการตรวจตราหรือเปรียบเทียบความคิดตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไปว่า
เหมือนกันหรือต่างกัน ความรู้ที่ได้จากการทราบว่า ความคิดตั้งแต่ 2
หน่วยขึ้นไปนั้นต้องเกี่ยวข้องกัน ความรู้ที่ได้จากการพบว่า ความคิดตั้งแต่ 2
หน่วยขึ้นไปนั้นสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในบางขณะ และความรู้ในสิ่งที่มีอยู่จริง
นักปรัชญาประสบการณ์นิยมอีกคนคือเดวิด ฮูม (David Hume; 1711 -1776)
เขาเชื่อว่าความรู้ทุกชนิดเกิดจากการประทับ (Impression)
กับการคิดการประทับเป็นการรับรู้ในผัสสะ
ส่วนความคิดเป็นการรับรู้ในสิ่งที่เกิดจากจินตนาการหรือความจำ
ทั้งสองอย่างต่างกันดังนี้คือในระยะแรก ผัสสะที่เราได้รับจากประสบการณ์โดยตรง
ผัสสะนี้จะมีความแจ่มชัดในทันทีทันใดนี้คือการประทับ อาทิเช่น
เมื่อเอามือไปแตะน้ำแข็ง เกิดผัสสะของความเย็น พอเหตุการณ์นี้ผ่านไปแล้ว
แต่เราก็ยังจดจำภาพของความเย็นได้อย่างลางๆ ว่าเป็นอย่างไร
ทั้งที่ไม่มีน้ำแข็งมากระทบกับประสาทสัมผัสของเราจริงๆ
ภาพของความเย็นที่เราจำได้นี้จะไม่แจ่มชัดเหมือนในตอนที่เอามือไปแตะก้อนน้ำแข็งโดยตรง
นี่คือความคิดหรืออาจใช้คำว่าจิตภาพก็ได้
กล่าวอีกนัยหนึ่งความคิดเป็นความรู้สึกหรือผัสสะที่อยู่ในความทรงจำของเรา
ถึงแม้ฮูมจะเป็นนักปรัชญาฝ่ายประสบการณ์นิยมเพราะเขาถือว่าความรู้ทุกอย่างจะมีได้ก็โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งสิ้น
แต่เขาก็ยังได้รับสมญาอีกอย่างหนึ่งว่าวิมัตินิยมเพราะเหตุที่เป็นคนช่างสงสัย
คือสงสัยทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นสาร(Substance)สสาร จิต พระเจ้า กฎแห่งเหตุผล
ไม่ไว้ใจแม้กระทั่งความคิดและเหตุผลของตนเอง
ลักษณะโดยทั่วไปของประสบการณ์นิยมนั้น สรุปได้ดังนี้คือ
เน้นญาณวิทยามากกว่าอภิปรัชญา
คือสนใจวิธีเข้าถึงความจริงมากกว่าที่จะถกปัญหาว่าความจริงคืออะไร
ถือว่าบ่อเกิดหรือต้นกำเนิดของความรู้มาจากประสบการณ์และความสมเหตุสมผลของความรู้ก็สามารถทดสอบได้ด้วยประสบการณ์
ปฏิเสธความรู้ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด(Innate idea) และความรู้ก่อนประสบการณ์(A
priori knowledge)เหตุผลก็คือพวกประสบการณ์นิยมถือว่า
ความรู้ต้องมาหลังประสบการณ์เสมอ
และนี่ก็เป็นเหตุให้กลุ่มประสบการณ์นิยมยอมรับเฉพาะความรู้หลังประสบการณ์อย่างเดียวเชื่อว่า
ประสบการณ์ประกอบด้วยประสาทสัมผัส 2 ประเภท คือประสาทสัมผัสภายใน
ซึ่งมีลักษณะเป็นอัตวิสัย (Subjective) อาทิเช่น ความอยาก ความคิด ความรู้
และประสาทสัมผัสภายนอก อาทิเช่น ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ถือว่าสิ่งต่างๆ
ในโลกนี้ลักษณะสัมพัทธ์(Relative)คือขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นๆ
ไม่แน่นอนตายตัวถือว่าวิธีอุปนัยเป็นวิธีเข้าถึงความจริงที่ดีที่สุด