ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์
อำนาจนิยม
บทวิพากษ์ลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ ตามทัศนะนักปรัชญาสำนักเหตุผลนิยม
ผศ.ดร.ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล
ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปรัชญาและลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ
ปัจจุบันความรู้เรื่องปรัชญา
คือความรู้ถูก ความเข้าใจถูกต้อง การมีทักษะการคิด
เป็นเครื่องบ่งให้เห็นถึงการมีความพร้อมในการนำความรู้ความเข้าใจมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางกาย
ทางวาจาและจิตใจ ของมนุษย์
และเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะรองรับความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์อีกด้วย
หมายความว่ามนุษย์มีโอกาสที่จะทำ พูดและคิดในทางสุจริตได้ง่ายยิ่งขึ้น
และข้อนี้เป็นการชี้ให้เห็นความสำคัญของการต้องเข้าใจปรัชญา(ความรู้ถูก เข้าใจถูก)
สิ่งสำคัญที่จะขาดเสียมิได้ก็คือการต้องมีทักษะที่ดีปฺระกอบเข้าด้วยกัน ดังนั้น
ปรัชญา เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุผล กล่าวคือเป็นเรื่องของความรักในความรู้
หรือความสนใจใคร่รู้ ย่อมจะส่งผลให้เป็นความรอบรู้ ความรู้แจ้ง บุคคลที่รู้ทั่ว
รู้แจ้ง รอบรู้
ปรัชญา เป็นคำไทยที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต คือมาจากคำว่า ปฺร
ซึ่งเป็นคำอุปสรรค (Prefix) แปลว่า ทั่ว แจ้ง กับคำว่า ชฺญา ซึ่งแปลว่า รู้
รวมกันเป็นปรัชญามีความหมายตามรากศัพท์ (สันสกฤต)
ว่าวิชาที่ว่าด้วยความรู้อันประเสริฐ ความรอบรู้ ความรู้อันแจ่มแจ้ง
ตรงกับคำว่าปัญญา ในภาษาบาลี ต่อมา ปรัชญา ถูกบัญญัติเพื่อใช้แทนคำว่า Philosophy
ในภาษาอังกฤษคำว่า Philosophy ซึ่งก็มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ คือมาจากคำว่า
Philos ซึ่งแปลว่ารัก (Love) กับคำว่า Sophia ซึ่งแปลว่า ความรู้ ความฉลาด (Wisdom)
เมื่อรวมกันเป็น Philosophy จึงมีความหมายว่า ความรักในความรู้ (Love of Wisdom)
อันได้แก่ความสนใจ ใคร่รู้ ความกระหายในความรู้
ความไม่อิ่มในความรู้ในขณะที่อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ให้ความเห็นที่แตกต่างด้านศัพทศาสตร์ออกไปว่า เมื่อพิจารณาความหมายตามตัวอักษรคำว่า
ปรัชญา
เป็นศัพท์ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงบัญญัติขึ้นจากคำภาษาอังกฤษว่า
Philosophy มีรากศัพท์ภาษากรีกโบราณว่า Philosophia เมื่อนำมาแยกศัพท์จะได้สองคำคือ
philo มีความหมายว่า love กับ sophia มีความหมายว่า Wisdom ดังนั้น Philosophy
จึงมีความหมายว่า love of wisdom คือ รักความรู้ รักที่จะมีความรู้ หรือ
ความรักในปรีชาญาณ
อย่างไรก็ตาม
การให้คำจำกัดความของปรัชญานั้นเราไม่สามารถนิยามอย่างชัดเจนลงไปได้
ไม่เหมือนกับการให้ความหมายของคำว่า เคมี ชีววิทยาหรือสังคมวิทยา
ทั้งนี้เพราะปรัชญาเป็นศาสตร์ที่มีขอบเขตกว้างขวางมากและไม่เฉพาะเจาะจงในเรื่องหนึ่งเรื่องใดเท่านั้น
จึงไม่มีคำนิยามใดที่จะให้ความหมายของคำว่าปรัชญาได้อย่างสมบูรณ์และแน่นอนตายตัว
นักปรัชญาต่างมีทัศนะต่อปรัชญาแตกต่างกันตามเหตุผลของตน
จึงเป็นที่มาของการเกิดปรัชญาที่ต่างกัน
ในส่วนของแนวคิดลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จนั้น
มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้นำเหล่านี้กล่าวคือมุสโสลินี ฮิตเลอร์ สตาลิน ฟรังโก
ล้วนเป็นชื่อที่ทำให้เรานึกถึงการใช้อำนาจเด็ดขาดในการปกครอง
คำว่าลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จเกี่ยวข้องกับคนเหล่านี้และคนประเภทเดียวกันเป็นส่วนใหญ่
แต่ก็ไม่หมายความว่าลัทธินี้จะไม่เกิดขึ้นในประเทศที่ถือว่าตนเป็นประชาธิปไตย
เพราะมีบางช่วงหรือบางยุค
สมัยการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จอาจเกิดขึ้นได้โดยการอ้างความจำเป็นในสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงเวลาเหล่านั้น
ต่อมาในปี 1925 มุสโสลินีใช้คำว่า uno stato totalitario
โดยมีความหมายเน้นถึงความเป็นเอกภาพแห่งชาติ
การสร้างความเป็นเอกภาพดังกล่าวก็คือการยกเลิกพรรคการเมืองทั้งหมดให้เหลือเพียงวรรคเดียวและตัดการครอบครองผลประโยชน์ของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
ทั้งหมด
ส่วนคำว่า totalitarianism เป็นคำภาษาอังกฤษซึ่งเริ่มใช้ในนิตยสาร
Quarterly Review และ The Times ตั้งแต่ปี 1920
โดยที่ยังมิได้มีความหมายเชิงประเมินค่า
อังกฤษจึงใช้คำนี้เรียกเผด็จการทั้งหมดในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
คำว่า totalitarian ก็ใช้คำขยายคำอื่นๆ อาทิเช่น รัฐบาล ความคิด
ซึ่งคำนี้¬เป็นคำที่กลายความหมายเช่นเดียวกับคำ ideology
ซึ่งกลายจากความหมายเชิงบรรยาย มาเป็นความหมายเชิงประเมินค่า
คือใช้เป็นคำตำหนิหรือคำประณาม
คำที่เปลี่ยนความหมายทำนองนี้อีกคำหนึ่งที่เรารู้จักกันดีคือคำว่า puritan
ซึ่งใช้ในศตวรรษที่ 16 โดยเริ่มจากความหมายที่ดี
หมายถึงนิกายของคริสต์ศาสนาที่เคร่งครัดตามคำสอนในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล
จนถือว่าปฏิบัติตนอย่างสะอาดบริสุทธิ์ และด้วยความเคร่งครัดนี้เอง
ที่ทำให้เกิดฝ่ายปฏิปักษ์ขึ้นแล้วคำคำนี้ก็กลายเป็นคำประณามซึ่งฝ่ายปฏิปักษ์ใช้ประณามพวก
puritan จนในที่สุดเกือบจะมีความหมายเดียวกับคำว่าชั่วหรือเลว
คำว่าลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จเป็นคำที่เกิดใหม่ในศตวรรษที่20 นี้
ซึ่งข้อดีและข้อเสียนั้นก็มีอยู่ไม่น้อย ข้อดีที่พบได้ อาทิเช่น
ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการปกครอง การมีเอกภาพภายในสังคม การเพิ่มศักดิ์ศรีของประเทศ
ส่วนข้อเสีย ที่พบอาทิเช่น ประชาชนถูกลดศักดิ์ศรีและคุณค่าลง
ผู้ปกครองหลงอำนาจและใช้อำนาจโดยพลการได้ รวมไปถึงผู้ปกครองมีโอกาสทุจริต
แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและพวกพ้องได้ง่ายขึ้น
สิ่งเหล่านี้ต่างยังเป็นเรื่องที่จะนิยามโดยบอกสารัตถะตามนัยแห่งแนวคิดของอริสโตเติลได้หรือไม่
กระบวนทัศน์และแนวคิดนักปรัชญาสำนักเหตุผลนิยม
วิถีทัศน์และแนวคิดลัทธิอำนาจเบ็ดเสร็จ
ลัทธิอำนาจนิยม กับการปรับตัวเชิงอำนาจ สู่อำนาจแบบเหตุผลนิยม
ตามกรอบความคิดเชิงปรัชญา