ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์

ประชาคมอาเซียน

สิงคโปร์ (Singapore)

การเมืองการปกครองสิงคโปร์

วรวิทย์ ไชยทอง

ลักษณะเด่นและความสำคัญของการเมืองสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบันเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดี ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเยี่ยม สิงคโปร์มีการปกครองในระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีทาหน้าที่เชิงพิธีการเท่านั้น สิงคโปร์ได้รับการจัดตั้งให้เป็นสาธารณรัฐสิงคโปร์เมื่อ เดือน ธันวาคม 1965 สิงคโปร์รับเอาระบบประชาธิปไตยรัฐสภาของอังกฤษเป็นแม่แบบ แต่สิงคโปร์มีแต่สภาเดี่ยวไม่มีสภาคู่แบบอังกฤษ

นับตั้งแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรกหลังจากได้รับเอกราชนั้น มีเพียงพรรคการเมืองเดียวคือพรรคกิจประชา(PAP: People’ Action Party) เท่านั้น ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาดารงตำแหน่งทางการเมืองในสภากว่าสามทสวรรษ โดยมีผู้นำประเทศเพียงคนเดียวคือ ลี กวน ยู ภายหลังนายลีจึงยอมลงจากตำแหน่งเพราะบริหารประเทศมานาน แล้วสืบทอดอำนาจให้คนสนิท คือโก๊ะ จ๊ก ตง ซึ่งนายลีก็มีบทบาทในการบริหารอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีอาวุโส โก๊ะ จ๊ก ตง ก็ดาเนินนโยบายในแนวทางสานต่อทางการเมืองจาก ลี กวนยู เช่นเดิม ในปัจจุบัน การเมืองการปกครองสิงคโปร์นั้นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีระบบการเมืองที่ค่อนข้าวมีเสถียรภาพมากเป็นลาดับต้นๆของโลกเลยก็ได้ เพราะระบบการเมืองสามารถดาเนินไปได้อย่างมีระบบระเบียบ ไม่มีการแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบเช่นการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเองในหลายๆประเทศ เสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาลสิงคโปร์เกิดจากการที่สิงคโปร์มีรัฐบาลพรรคเดียวครองอำนาจมาเป็นเวลานานมาก ชนชั้นนำที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองสิงคโปร์นั้นกระจุกอยู่กับกลุ่มคนเพียงกลุ่มเดียว พรรค PAP.ของอดีตประธานาธิบดีสิงคโปร์มีบทบาทอย่างมากทางการเมืองตั้งแต่ยุคการเรียกร้องเอกราชจนจึงปัจจุบันที่มีนาย ลี เซียน ลุง บุตรของ นายลี กวน ยู มีอำนาจทางการเมืองจากการเลือกตั้ง

คำถามที่สำคัญในการเมืองสิงคโปร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสาหรับการเข้าใจการเมืองและความสัมพันธ์ทางอำนาจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจอื่นๆ คือทาไมคนสิงคโปร์จึงยินยอมยอมรับต่ออำนาจของพรรคPAP เพราะถ้าย้อนกลับไปดูหนทางทางการเมืองภายในประเทศ เราจะพบการใช้อำนาจของรัฐอย่างเด็ดขาดในการควบคุม สิทธิ เสรีภาพของพลเมืองอย่างเข้มข้น แล้วใย พลเมืองสิงคโปร์จึงนิยมในการเลือกพรรคPAP เรื่อยมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ชนชั้นนำทางการเมืองการปกครองของสิงคโปร์ใช้วิธีการเชิงรูปธรรมและนามธรรมอย่างไรในการควบคุม ครอบงำการเมืองสิงคโปร์ รวมทั้งสภาพการต่อสู้ของการเมืองในนภาคประชาสังคมของสิงคโปร์เองที่ไม่ชื่นชอบวิธีการควบคุม ครอบงำทางอำนาจ ความคิดของ ชนชั้นนำสิงคโปร์ ถึงวิธีการทั้งทางตรงและทางอ้อม ปกปิดและเปิดเผย ต่ออำนาจ ของชนชั้นนำทางการเมืองสิงคโปร์ รวมทั้งการทำความเข้าใจและเพื่อการคาดเดาอนาคตการเมืองการปกครองของสิงคโปร์

- ลักษณะเด่นและความสำคัญของการเมืองสิงคโปร์
- ชาตินิยมกับการเมืองของผู้นำ
- ประชาธิปไตยวิถีเอเชีย
- พรรคการเมืองเดียวครองอำนาจ
- เสถียรภาพและความมั่นคงภายใต้ระบอบกึ่งประชาธิปไตย
- การสร้างชาติด้วยการสร้างความมั่นทางเศรษฐกิจ
- พัฒนาการทางประวัติศาสตร์กับการก่อรูปการเมืองสิงคโปร์
- เศรษฐกิจกับเสรีภาพในการเมืองสิงคโปร์
- การสร้างอำนาจของชนชั้นปกครองในสิงคโปร์
- กลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ครองอำนาจในการเมืองสิงคโปร์
- ประชาสังคมกับการต่อต้านต่ออำนาจ
- ชนชั้นนำทางอำนาจ กษัตริย์ ทหาร ราชการ

บรรณานุกรม

  • เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ,เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการต่อสู้ทางชนชั้นในประเทษไทยจาก พ.ศ.2535 ถึง พ.ศ. 2549 : ศึกษาการขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองและการเสื่อมทางอำนาจของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐสาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551
  • โคริน เฟื่องเกษม, การพัฒนาทางเศรษฐกิจและการเมืองสิงคโปร์, กรุงเทพ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2542
  • ใจ อึ้งภากรณ์, การเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ข้อถกเถียงทางการเมือง, [ม.ป.ท.], 2552.
  • โยะชิฮะระ คุนิโอะ เขียน, รัศมิ์ดารา ขันติกุล และคณะ แปล, กาเนิดทุนนิยมเทียมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2544
  • วัชรพล พุทธรักษา, “ รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสร้างภาวะการครองอำนาจ” , วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
  • วารุณี โอสถารมย์, แบบเรียนไทยกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “เพื่อนบ้านของเรา” ภาพสะท้อนเจตนคติอุดมการณ์ชาตินิยมไทย, ใน รัฐศาสตร์สาร, ปีที่22 ฉบับที่3 2544

หนังสือภาษาอังกฤษ

  • Barrington Moore, Social origins of dictatorship and democracy, Penguin: London, 1974
  • Chua Beng-Huat, Communitarian Ideology and Democracy in Singapore. London: Routledge,1995
  • Chan Heng Chee,Political Parties, in Jon S.T. Quah and other, eds, Government and Politics of Singapore, Singapore: Oxford University Press, 1987.
  • Frank Parkin, Max Weber, London: Routledge,2002,
  • Garry Rodan, Transparency and Authoritarian rule in Southeast Asia Singapore and Malaysia, London: RoutledgeCurzon, 2004,
  • John Eldridge, C. Wright Mills, London : Tavistock Publications,1983,
  • Jon S.T. Quah, Singapore Meritocratic City-State, in Government and Politics in Southeast Asia, john Funton, ed. Singapore: Institute of Southeast Asia Studies,2001
  • Michael D. Barr, Lee Kuan Yew The Beliefs behind the Man, Kuala Lumpur : New Asian Library,2009
  • Michael R.J. Vatikiotis, Political Change in Southeast Asia, London: Routledge, 1966
  • William Case, Politics in Sourtheast Asia : Democratic or Less, Richmond Surrey : Curzon Press, 2002

ประวัติศาสตร์สิงคโปร์
การเมืองการปกครองสิงคโปร์
การค้าระหว่างไทย–สิงคโปร์(2010)
สถานที่ท่องเที่ยว
การแต่งกายสิงคโปร์

สาระความรู้ ข้อมูลอาเซียน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย