ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์
ฟิลิปปินส์ (Philippines)
ความสัมพันธ์ไทย-ฟิลิปปินส์
สีดา สอนศรี
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ เป็นความสัมพันธ์มาแต่โบราณจากการค้าขายของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความสัมพันธ์ที่ทั้งสองประเทศมีกันก่อนประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ การทำสนธิสัญญาทางการทูตระหว่างกันในปี 1949 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงคราม เมื่อโลกแบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือ ค่ายโลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์ ไทยและฟิลิปปินส์เป็นเพียง 2 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมในองค์การซีโต้ ซึ่งเป็นองค์การต่อต้านคอมมิวนิสต์ ในช่วงปี 1949-1975 ไทยได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการและการพัฒนาชนบทเป็นอันมาก โดยผ่านการให้ทุนของสหรัฐฯ ซึ่งในช่วงนี้ฟิลิปปินส์เจริญกว่าไทยมากนัก เนื่องจากสหรัฐฯ พยายามให้ฟิลิปปินส์เป็นศูนย์กลางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้พัฒนาฟิลิปปินส์ในทุกๆ ทาง เมื่อถึงยุคผ่อนคลายความตึงเครียดในปี 1975 ประเทศสหรัฐฯ เริ่มมีความสัมพันธ์กับจีน ทำให้สองประเทศเปิดความสัมพันธ์กับจีนด้วย และเมื่อถึงยุคหลังสิ้นสุดสงครามเย็นทั้งสองประเทศก็ยังมีความสัมพันธ์ต่อกัน แต่ฟิลิปปินส์มีปัญหาการเมืองภายใน ทำให้ไทยมองฟิลิปปินส์ในภาพลบมาจนถึงปัจจุบัน และในปี 1997 ไทยเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจซึ่งกระทบต่อฟิลิปปินส์ด้วยแต่ก็ไม่มากนัก เนื่องจากฟิลิปปินส์ได้รับการปรับสถานะทางการเงินและการคลังมาตั้งแต่ปี 1983 แล้ว หลังปี 2000 ไทยจะมีเศรษฐกิจดีกว่าฟิลิปปินส์ ไทยจึงมองความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอินโดจีนมากกว่าฟิลิปปินส์ เพราะมีลู่ทางในการค้าขายได้ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามฟิลิปปินส์ก็ยังถือว่าไทยเป็นเพื่อนบ้านเก่าแก่และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีมาตลอด ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้นอกจากปัจจัยเรื่องผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศแล้ว ปัจจัยทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน บทความนี้จะทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศเข้าใจกันมากขึ้น มองหาสิ่งที่ดีๆ ต่อกันมากขึ้นกว่าเดิม ถ้าได้มองเห็นความสัมพันธ์อันยาวนานมาแต่โบราณ
ถ้าพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้ง 2 ประเทศจากนโยบายต่างประเทศของ 2 ประเทศในอดีตและมีผลถึงปัจจุบันแล้ว จะเห็นว่านโยบายต่างประเทศมีหลักสำคัญ 4 ประการ คือ
- เคารพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
- สร้างความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียน และจะกระชับสัมพันธไมตรีกับบรรดาประเทศภาคีอาเซียนทั้งมวลให้แน่นแฟ้น ยิ่งขึ้นทั้งจะสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง
- ดำเนินและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจในลักษณะที่จะเกื้อกูลและเสริมสร้างความปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และเพื่อแก้ไขปัญหาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ประเทศไทยยังคงเป็นมิตรที่ดีกับประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อพิจารณาดูนโยบายต่างประเทศของประเทศไทยดังกล่าวแล้ว มีลักษณะที่เหมือนกับนโยบายต่างประเทศของฟิลิปปินส์ เพราะฉะนั้นจึงพิจารณาได้ว่านโยบายทั้งสองประเทศมีจุดยืนร่วมกันอยู่ จึงมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ถ้าจะพิจารณาดูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายใต้กรอบของนโยบายต่างประเทศของทั้งสองประเทศนี้แล้ว ทั้งสองประเทศจะต้องแสวงหาความสำเร็จตามนโยบายที่ประกาศไว้ เพื่อ
- สร้างความมั่นคงทั้งสองประเทศซึ่งเป็นประเทศในสมาคมอาเซียน
- ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศและระหว่างสองประเทศ
- กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้แน่นแฟ้นขึ้นในฐานะเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนด้วยกัน
- รักษาสันติภาพของโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะราบรื่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างกัน ในแง่ของความร่วมมือและการขัดแย้งต่างๆ นั้น ถ้าจะดูว่าทั้งสองประเทศประสบความสำเร็จหรือไม่ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตามความคิดของ McClelland และ Hoggard ได้จัดแบ่งพฤติกรรมของชาติไว้ดังนี้
- พฤติกรรมที่แสดงถึงความร่วมมือและช่วยเหลือกันนั้นจะแสดงกิริยาในเชิงเห็นดีด้วย สัญญา ตกลง ขอร้อง และเสนอ
- การกระทำซึ่งแสดงว่ามีการร่วมมือนั้นได้แก่ การยอมยกให้ การอนุญาต การช่วยเหลือ การให้รางวัล
- การกระทำที่แสดงให้เห็นการเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งได้แก่ การแสดงความคิดเห็น การปรึกษาหารือ
|| หน้าถัดไป >>
ข้อมูลทั่วไปฟิลิปปินส์
การเมืองการปกครองฟิลิปปินส์
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
พระพุทธศาสนาในประเทศฟิลิปปินส์
ความสัมพันธ์ไทย-ฟิลิปปินส์
113 ปี วันประกาศอิสรภาพฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์ มิตรประเทศที่น่าเรียนรู้
การแต่งกายฟิลิปปินส์
ประวัติความเป็นมาและเชื้อชาติ