วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
มหัศจรรย์ ในเอกภพ
จันทรุปราคา (Eclipses of the Moon)
คนในสมัยโบราณมักจะกล่าวถึงปรากฏการณ์ประหลาดอย่างหนึ่งของดวงจันทร์ คือ อยู่ ๆ ในคืนจันทร์เพ็ญดวงจันทร์ที่สว่างจ้าอยู่ก่อนจะกลายเป็นหม่นหมอง และเป็นสีเลือดไปในที่สุด เรียกกันว่า " พระจันทร์สีเลือด" ปรากฏการณ์เช่นนี้คือ จันทรุปราคาเนื่องมาจากเงาของโลกทอดไปทับดวงจันทร์นั่นเอง
จันทรุปราคาเกิดขึ้นในคืนวันขึ้น 14-15 ค่ำ และคืนวันแรม 1 ค่ำ โดยเหตุที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก ถ้าทางโคจรของดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์แล้วโลกจะบังแสงสว่างที่ดวงอาทิตย์จะส่องไปยังดวงจันทร์เสีย คงทอดแต่เงาดำมหึมาเคลื่อนไปทับดวงจันทร์ ทำให้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไป หรือไม่ก็ถูกบังหายไปทั้งดวง หรือไม่ก็ปรากฏเป็นวงแหวนแสงสว่างลอยอยู่ในท้องฟ้า ซึ่งเรียกว่า จันทรุปราคาบางส่วน, จันทรุปราคาเต็มดวง และจันทรุปราคาวงแหวน เช่นเดียวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์
การที่เรามองเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงมีสีดังสีเลือดนั้นเนื่องมาจากโลกนี้มีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่
เมื่อเงาดำของโลกทอดไปทับดวงจันทร์
บรรยากาศบางส่วนที่ได้รับแสงสว่าง
จากดวงอาทิตย์จะสะท้อนแสงไปยังเงาดำนั้นอีกบ้าง
จึงทำให้เกิดแสงสลัว ๆ ปรากฏขึ้น
ปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งหนึ่ง ๆ
คนบนโลกจะมองเห็นได้มากกว่าครึ่งโลก
ทั้งนี้เป็นเพราะเงาของโลกที่ทอดไปทับดวงจันทร์
คนทุกคนที่อยู่ในด้านตรงกันข้ามกับ
ดวงอาทิตย์จะมองเห็นได้และจันทรุปราคาครั้ง ๆ หนึ่ง
จะกินเวลานานถึง 1 ชั่วโมง 40 นาที
ก็เคยมี
ระบบสุริยจักรวาล
จุดดับในดวงอาทิตย์
พระอาทิตย์ทรงกลด
พระอาทิตย์ตกดิน
การกระจายแสงอาทิตย์
พระอาทิตย์ยามเที่ยงคืน
แรงดึงดูดของโลก
ดวงจันทร์และหุบเหว
แสงสะท้อนจากโลก
พระจันทร์ทรงกลด
สุริยุปราค
จันทรุปราคา
ภาพหลอกตา
รุ้งกินน้ำ
ไฟฟ้าในก้อนเมฆ
พายุทอร์นาโด
น้ำค้าง
ทางช้างเผือก
แสงเหนือ