ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม>>

พื้นฐานพระคริสตธรรมคัมภีร์

3

ข้อขัดแย้งของยุคนี้

เราอาจจะตั้งคำถามขึ้นมาว่า "ถ้าพระเยซูได้ทรงทำลายความบาปและความตาย (พงศ์พันธุ์ของงู) ไปแล้วเหตุใดมันยังอยู่กับเราตราบจนทุกวันนี้” คำตอบก็คือ พระเยซูทรงทำลายอำนาจของความบาปในพระองค์เองบนไม้กางเขน คำพยากรณ์ ในปฐมกาล 3:15 เป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างพระเยซูและความบาป เนื่องจากพระองค์ได้ทรงเชื้อเชิญให้เรามีส่วนในชัยชนะของพระองค์ เราจึงสามารถมีชัยเหนือความบาปและความตายด้วย ผู้ที่ไม่ได้รับเชิญหรือปฏิเสธคำเชิญก็จะยังคงพบกับความบาปและความตาย แม้ว่าผู้ที่เชื่อจะต้องพบกับความบาปและความตาย แต่เนื่องจากพวกเขาเกี่ยวข้องกับพงศ์พันธุ์ของหญิงนั้น โดยการรับศีลบัพติศมา (กาลาเทีย 3:27-29) พวกเขาจึงได้รับการยกโทษความผิดบาป และรอดจากความตายซึ่งเป็นผลของความบาป พระเยซูทรง "กำจัดความตาย" บนไม้กางเขน (2 ทิโมธี 1:10) แล้ว แม้ว่าพระประสงค์ของพระเจ้ายังไม่สำเร็จในโลก และผู้คนยังไม่หยุดเสียชีวิต "เพราะว่าพระองค์จะต้องทรงปกครองอยู่ก่อน (ในส่วนแรกของแผ่นดินของพระเจ้า) จนกว่าพระองค์จะได้ทรงปราบศัตรูทั้งสิ้นให้อยู่ใต้พระบาทของพระองค์ ศัตรูตัวสุดท้ายที่พระองค์จะทรงทำลายนั้นก็คือ ความตาย" (1โครินธ์ 15:25,26)

เมื่อเรา “รับบัพติศมาเข้าในพระคริสต์” คำสัญญาต่างๆ เกี่ยวกับพระเยซูเช่นในปฐมกาล 3:15 ก็จะเป็นคำสัญญาที่มีต่อเราเป็นการส่วนตัว มิได้เป็นเพียงส่วนที่น่าสนใจของพระคริสตธรรมคัมภีร์เท่านั้น เป็นคำพยากรณ์และคำสัญญาที่ให้แก่เราโดยตรง ในฐานะพงศ์พันธุ์ของหญิงนั้น เราจะพบกับความบาปซึ่งมีชัยเหนือเราในระยะสั้น ถ้าพระผู้เป็นเจ้าไม่ได้เสด็จกลับมาในช่วงชีวิตของเรา เราก็จะได้บาดแผลฟกช้ำที่ส้นเท้าเช่นเดียวกันกับพระเยซู และจะตายเช่นกัน แต่ถ้าเราเป็นพงศ์พันธุ์ที่แท้ของหญิงนั้น “บาดแผล” นั้นจะเป็นเพียงบาดแผลระยะสั้น ผู้ที่ได้รับศีลบัพติศมาเข้าในพระคริสต์โดยการจุ่มลงใต้น้ำ ก็เข้ามีส่วนในความตายและเป็นขึ้นจากความตาย เปรียบกับการขึ้นจากน้ำ (ดู โรม 6:3-5)

ถ้าเราเป็นพงศ์พันธุ์ที่แท้ของหญิงนั้น ชีวิตของเราจะสะท้อนข้อความในปฐมกาล 3:15 จะมีความขัดแย้งระหว่างความรู้สึกถูกผิดอยู่ในตัวเรา เปาโลอธิบายถึงข้อขัดแย้งระหว่างความบาปและตัวของท่านเองที่ต่อสู้กันอยู่ในใจท่าน (โรม 7:14-25)

หลังจากรับบัพติศมาเข้าในพระคริสต์ ความขัดแย้งกับบาปในตัวเราจะมีมากขึ้น และมีอยู่ตลอดชีวิต เป็นความขัดแย้งที่เอาชนะยากเพราะความบาปมีพลังมาก แต่ในอีกแง่หนึ่งก็ไม่น่าจะยากนักเพราะเราอยู่ในพระคริสต์ผู้ทรงต่อสู้และได้ชัยชนะแล้ว ใน เอเฟซัส 5:23-32 เปรียบเทียบผู้ที่เชื่อเป็นหญิงคนหนึ่ง เหมือนกับว่าเป็นพงศ์พันธุ์ของหญิงนั้น เราก็เป็นหญิงนั้นด้วย

ในกรณีเดียวกันกับที่พงศ์พันธุ์ของหญิงนั้นหมายถึงพระเยซูและผู้ที่พยายามจะเป็นเหมือนพระองค์ พงศ์พันธุ์ของงูก็หมายถึงความบาป (“มารร้าย” ในพระคริสตธรรมคัมภีร์) และผู้ที่แสดงออกถึงบุคลิกลักษณะของความบาปและงู ผู้คนเหล่านี้ไม่สนใจพระวจนะของพระเจ้าและถูกนำไปสู่ความบาปและห่างเหินจากพระเจ้า เช่นที่เกิดขึ้นกับอาดัมและเอวา ชนชาติยิวเป็นพวกที่นำพระเยซูไปตรึงกางเขน ทำให้ส้นเท้าของพงศ์พันธุ์ของหญิงนั้นฟกช้ำ พวกเขาถึงเป็นตัวอย่างของพงศ์พันธุ์ของงู ดังเช่นที่ยอห์นและพระเยซูกล่าวไว้

"ครั้นยอห์น เห็นพวกฟาริสีและพวกสะดูสี (พวกที่ตัดสินตรึงกางเขนพระเยซู) พากันมาเป็นอันมาก เพื่อจะรับบัพติศมา ท่านจึงกล่าวแก่เขาว่า เจ้าชาติงูร้าย ใครได้เตือนเจ้าให้หนีจากพระอาชญาซึ่งจะมาถึงนั้น"
(มัทธิว 3:7)

"ฝ่ายพระเยซูทรงทราบความคิดของเรา จึงตรัสกับเขาว่า…โอชาติงูร้าย เจ้าเป็นคนชั่วแล้วจะพูดความดีได้อย่างไร" (มัทธิว 12:25,34)

ในโลกนี้ แม้ในโลกของพวกเคร่งศาสนา ก็มีพวกที่เป็นงูร้ายเช่นนี้ ผู้ที่ได้รับบัพติศมา เท่านั้น ที่เกี่ยวข้องกับพงศ์พันธุ์ของหญิงนั้น นอกจากนั้นล้วนเป็นพงศ์พันธุ์ของงูร้าย พระเยซูทรงปฏิบัติต่อคนที่เป็นพงศ์พันธุ์ของงูร้ายโดย

- เทศนาสั่งสอนพวกเขาด้วยความรักและห่วงใยอย่างแท้จริง แต่

- ไม่ยอมให้วิธีการและความคิดของพวกเขามีอิทธิพลต่อพระองค์ และ

- สำแดงความรักของพระเจ้าในการดำเนินชีวิตของพระองค์

แต่พวกเขาก็ยังเกลียดชังพระองค์ พวกเขาอิจฉาที่พระองค์ทรงเชื่อฟังพระเจ้า แม้แต่ครอบครัวของพระองค์ (ยอห์น 7:5; มาระโก 3:21) และสาวก (ยอห์น 6:66) ก็ขัดขวางและแม้แต่บางคนถึงกับไปจากพระองค์ เปาโลได้รับประสบการณ์เช่นเดียวกันเมื่อท่านรู้สึกเสียใจต่อผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยยืนหยัดเคียงข้างท่าน

"ข้าพเจ้าได้กลายเป็นศัตรูของท่าน เพราะข้าพเจ้าบอกท่านอย่างตรงไปตรงมาหรือ” (กาลาเทีย 4:14-16)

ความจริงมักจะไม่เป็นที่นิยม การรู้ความจริงและอยู่ในความจริงนั้นมักจะสร้างปัญหาให้กับเราเสมอ และยังสามารถนำเราไปสู่แดนประหารได้

"แต่ในครั้งนั้นผู้ที่เกิดตามธรรมดาได้ข่มเหงผู้ที่เกิดตามพระวิญญาณฉันใด (โดยพระวจนะของพระเจ้า –1
เปโตร 1:23) ปัจจุบันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น" (กาลาเทีย 4:29)

ถ้าเราเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์ เราจะต้องทนทุกข์ที่พระองค์เองก็ประสบมาแล้ว เพื่อว่าเราจะได้มีส่วนในรางวัลของพระองค์ เปาโลกล่าวไว้ว่า

"ข้อนี้เป็นความจริง คือถ้าเราตายกับพระองค์ เราก็จะมีชีวิตอยู่กับพระองค์ ถ้าเรามีความอดทน เราก็จะได้ครองร่วมกับพระองค์ เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงยอมทนทุกอย่าง" (2 ทิโมธี 2:10-12)

"ถ้าเขาข่มเหงเรา เขาก็จะข่มเหงท่านทั้งหลายด้วย ทุกสิ่งที่เขาจะกระทำแก่พวกท่านนั้น ก็เพราะนามของเรา" (ยอห์น 15:20,21)

- เพราะว่าเรารับบัพติศมาในนามของพระเยซู (กิจการของอัครทูต 2:38; 8:16)

เมื่อเจอข้อความเหล่านี้ เราอาจจะพูดว่า "ถ้านั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะการเกี่ยวข้องกับพระเยซู พงศ์พันธุ์ของหญิงนั้นแล้ว ฉันไม่เอาด้วยดีกว่า" แน่นอนทีเดียวว่าเราจะไม่ต้องแบกความทุกข์ลำบากที่เราไม่สามารถรับได้ การเสียสละตนเองนั้นกระทำเพื่อผูกพันตัวเราเข้ากับพระคริสต์อย่างสมบูรณ์ ความเกี่ยวข้องกับพระองค์จะให้ผลตอบแทนที่ "ความทุกข์ยากลำบากใดๆ ในปัจจุบันไม่มีค่าเมื่อเทียบกับสง่าราศีที่เราจะได้รับ" การเสียสละชีวิตของพระองค์ช่วยให้คำอธิษฐานในยามวิกฤตของชีวิตของเรามีพลังอำนาจ พระคริสตธรรมคัมภีร์เขียนไว้ว่า

"พระเจ้าทรงสัตย์ธรรม พระองค์จะไม่ทรงให้ท่านต้องถูกทดลองเกินกว่าที่ท่านจะทนได้ และเมื่อทรงทดลองท่านนั้น พระองค์จะทรงโปรดให้ท่านมีทางที่จะหลีกเลี่ยงได้ด้วย เพื่อท่านจะมีกำลังทนได้" (1 โครินธ์ 10:13)

"เราได้บอกเรื่องนี้แก่ท่าน เพื่อท่านจะได้มีสันติสุขในเรา ในโลกนี้ท่านจะประสบความทุกข์ยาก แต่จงชื่นใจเถิดเพราะว่าเราได้ชนะโลกแล้ว" (ยอห์น 16:33)

"ถ้าเช่นนั้น เราจะว่าอย่างไร ถ้าพระเจ้าทรงอยู่ฝ่ายเรา ใครจะขัดขวางเรา" (โรม 8:31)

<<ย้อนกลับ || หน้าถัดไป>>

1 พระเจ้า
2 พระวิญญาณของพระเจ้า
3 พระสัญญาของพระเจ้า
4 พระเจ้ากับความตาย
5 แผ่นดินของพระเจ้า
6 พระเจ้าและความชั่วร้าย
7 การบังเกิดพระเยซู
8 ธรรมชาติของพระเยซู
9 การรับบัพติศมา
10 ชีวิตในพระคริสต์

  


คำเผยพระวจนะส่วนตัว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย