ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
2
รูปแบบต่าง ๆ ของสัจจนิยม
ลัทธิสัจจนิยมทั้งหลายนั้น พอจะแยกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ แต่ละประเภทแบ่งย่อยออกไปดังนี้
- สัจจนิยมโดยตรง (Direct Realism)
- สัจจนิยมแบบผิวเผิน (Naive Realism)
- สัจจนิยมแบบสามัญสำนึก (Commonsense Realism)
- สัจจนิยมใหม่ (New Realism) - สัจจนิยมแบบโดยอ้อม (indirect realism)
- สัจจนิยมแบบตัวแทน (Representative Realism)
- สัจจนิยมวิจารณ์ (Critical Realism)
ปรัชญาสัจจนิยมนับว่าครองใจนักปรัชญาจำนวนมากในศตวรรษที่ 20
ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าสัจจนิยมประสบความสำเร็จในการเสนอทัศนะเกี่ยวกับโลกภายนอกที่ใกล้เคียงกับทัศนะของคนทั่ว
ๆ ไป สอดคล้องกับสามัญสำนึกและวิทยาศาสตร์
สัจจนิยมแบบโดยตรง
สัจจนิยมแบบนี้มีทัศนะทั่วไปว่า การรับรู้หรือการประจักษ์เป็นการรู้จักโดยตรง
คือ เป็นการเผชิญหน้ากันอย่างตรงไปตรงมากับวัตถุภายนอก
ซึ่งสัจจนิยมแบบนี้จะตรงกันข้ามกับสัจจนิยมแบบโดยอ้อมซึ่งยืนยันว่า
การรับรู้ในวัตถุนั้นเป็นการที่เรารับรู้ในตัวแทนของวัตถุภายนอก
ซึ่งตัวแทนนี้อยู่ในจิต ลัทธิสัจจนิยมที่จัดเป็นพวกโดยตรงที่จะนำมากล่าวในที่นี้มี
3 แบบ คือ
- สัจจนิยมแบบผิวเผิน
เป็นแบบที่ง่ายและเรียบที่จุดของสัจจนิยมแบบโดยตรง ซึ่งนักปรัชญามองดูว่าเป็นทัศนคติของคนทั่วไปที่ปราศจากความลึกซึ้งนั่นคือเมื่อเรามองดูรอบ ๆ ตัวเราภายในพื้นที่อันกว้างใหญ่ เราจะได้เห็นพบสีต่าง ๆเราเพื่อว่านั่นเป็นพื้นหน้าที่แท้จริงของวัตถุ เมื่อเราได้ยินสรรพสำเนียงทั้งหลาย เราก็เผื่อว่าเสียงเหล่านั้นมาจากวัตถุนั้น ๆ จริง เช่น เสียงเครื่องบินก็เป็นเสียงของเครื่องบินจริง เสียงรถยนต์ก็เป็นเสียงรถจริง ๆ ถ้าเราเอามือสัมผัสโต๊ะแล้วรู้สึกลื่นและแข็ง เราก็เพื่อว่านั่นคือคุณสมบัติของโต๊ะจริง ดังนั้น สัจจนิยมแบบผิวเผินถือว่าทุกประการของวัตถุ เช่น คุณสมบัติพวกสี รูปร่าง เสียง แข็ง ฯลฯ มีความแท้จริงคือ เป็นคุณสมบัติที่ฝังอยู่ภายในตัววัตถุในธรรมชาติทั้งหลาย รวมความแล้ว สัจจนิยมเช่นนี้ถือว่า ทุกสิ่งที่เราพบเห็นจับต้องได้ยินล้วนเป็นจริงทั้งสิ้นทีนี้ลองพิจารณาดูว่าทัศนะแบบนี้สมเหตุสมผลหรือไม่ เราจะพบว่ามีข้อบกพร่อง สมมุติว่า ถ้าอ๊อดมองเห็นโต๊ะตัวหนึ่งจากที่สูง เขาก็จะเห็นโต๊ะนี่เป็นรูปกลมแต่ถ้าแอ๊ดมองจากที่ไกลเขาก็จะเห็นโต๊ะนี้รูปเหมือนรูปไข่ แต่ทั้งความกลมและความรีไม่อาจที่จะเป็นคุณสมบัติภายในทั้ง 2 อย่างของโต๊ะนี้ได้เช่นเดียวกัน ถ้าหาก อู๊ดซึ่งตาบอดสีมองไปที่หนังสือปกสีแดงเล่มหนึ่ง เขาเห็นมันเป็นสีดำ แต่สีดำไม่ใช่เป็นคุณสมบัติที่แท้จริงของหนังสือเล่มนี้ หรือ ถ้าอี๊ดดื่มเหล้าเมาและกลับบ้านในตอนดึก เขามองเห็นสายยางรถต้นไม้ในสนามเหมือนงูขดอยู่ แต่สายยางนั่นไม่ใช่งูจริง ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเรื่องของกรณีที่เกิดการเข้าใจผิด หรือรับรู้ผิดซึ่งเป็นไปได้ในความเป็นจริงและแสดงให้เห็นว่า ทัศนะของสัจจนิยมแบบผิวเผินนี้ยังมีข้อบกพร่อง - สัจจนิยมแบบสามัญสำนึก
ทั้งสัจจนิยมแบบผิวเผิน และแบบสามัญสำนึกต่างก็ยอมรับว่า โลกภายนอกหรือวัตถุทั้งหลายนั้นมีอยู่จริงและเป็นเจ้าของคุณสมบัติต่าง ๆ และยืนยันว่าประสบการณ์ทางผัสสะคือ ขบวนการที่จิตกระทำโดยตรงกับวัตถุในธรรมชาติเซ่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้นไม้ ฯลฯ ไม่ใช่เป็นการที่คนเรารับรู้ในผัสสะ เช่น แข็ง เขียว หวานฯลฯ ข้อยืนยันดังกล่าวนี้ นักสัจจนิยมจำนวนมากเคยยอมรับมาก่อน แต่ปรากฏว่ามีข้อบกพร่องเช่นเดียวกับสัจจนิยมแบบผิวเผิน จึงทำให้สัจจนิยมแบบอื่น ๆ พัฒนาขึ้นมาหลักการสำคัญของสัจจนิยมสามัญสำนึกมีดังนี้
- ถือว่า การรับรู้เป็นขบวนการ 2 หน่วย (two-term process) คือ ในประสบการณ์ทางผัสสะนั้น จิตผู้รู้จะกระทบกระเทือนกับบางสิ่งที่ไม่ใช่ตัวมันเองเสมอ ดังนั้น วัตถุจึงไม่สู้เป็นความคิดของจิตอย่างแน่นอน ในการรู้จึงต้องมีวัตถุเป็นสิ่งถูกรู้ การรู้ที่ไม่มีสิ่งถูกรู้นั้นเป็นไปไม่ได้เช่นเดียวกันในการตัดสินหรือการเข้าใจจะไม่มีสิ่งที่เราตัดสินหรือสิ่งที่เราเข้าใจไม่ได้
- การรับรู้วัตถุเกิดขึ้น เมื่อวัตถุหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้เคียงเหมาะสมกับอวัยวะรับสัมผัสอันใดอันหนึ่ง ก็ก่อให้เกิดการตื่นตัวขึ้นในอวัยวะนั้น ๆและจะไปกระตุ้นระบบประสาทให้ส่งกระแสประสาทไปยังสมอง เมืองก็จะกระตุ้นให้เกิดการกระทำที่เป็นการรู้ขึ้น การรู้ก็คือการ ชี้มุ่งไปยังบางสิ่ง บางสิ่ง นี้ก็คือวัตถุในธรรมชาติซึ่งเป็นตัวเร้ากระตุ้นผัสสะนั่นเอง ดังนั้น วัตถุในธรรมชาติจึงนับว่าเป็นทั้งสาเหตุให้มีการรู้เกิดขึ้นและเป็นวัตถุของการรู้ด้วย
- ดังนั้น วัตถุในขณะที่ยังไม่ได้ถูกใครรู้ กับวัตถุที่ถูกรับรู้แล้วจะไม่มีความแตกต่างกันเลย เพราะการรับรู้ของคนมิได้มีการเพิ่มเติมหรือลดทอนคุณสมบัติอะไรบางอย่างให้กับวัตถุเลย วัตถุมีธรรมชาติหรือลักษณะที่แท้จริงอย่างไร เมื่อมาปรากฏต่อจิตของคนก็คงเป็นอย่างนั้น
- ประเด็นที่เป็นข้อบกพร่องของสัจจนิยมแบบนี้ ประเภทแรก เป็นจุดบกพร่องเหมือนกับสัจจนิยมแบบผิวเผิน คือ เรื่องการรับรู้สิ่งที่ผิด ถ้าหากสัจจนิยมทั้ง 2 แบบนี้ยืนยันว่า ตัววัตถุจริง ๆ มีลักษณะตรงกับที่ปรากฏต่อเรา หรือ กล่าวให้ซัดเจนก็คือ เมื่อประสาทสัมผัสของเราได้กระทบกระทั่งกับวัตถุก็กล่าวว่า เราได้รู้จักวัตถุนั้นว่ามีลักษณะอย่างนั้น ๆและเชื่อด้วยว่า ความรู้ของเราตรงกับความจริงทุกอย่างถ้าเชื่อเช่นนี้ก็จะอธิบายกรณี เช่น การมองเห็นทางรถไฟว่ามาบรรจบกัน ณ จุดที่ไกลออกไปสุดสายตาอย่างไร เราจะเชื่อหรือว่าเป็นจริงดังที่เราเห็น ประการที่สอง สัจจนิยมแบบสามัญสำนึกมองข้ามเงื่อนไขอื่น ๆ ที่จำเป็นในการรับรู้ คือไม่ได้วิเคราะห์ถึงเงื่อนไข อื่น ๆ ที่จำเป็นในการรับรู้ คือไม่ได้วิเคราะห์ถึงเงื่อนไขเหล่านั้นเช่น ถ้าเราต้องการรู้อะไรเป็นสาเหตุของการรับรู้ และเรารับรู้อะไรแล้ว การอธิบายของสามัญสำนึกไม่พาดพิงถึงเงื่อนไขอื่น ๆ ทีเกี่ยวข้อง เซ่น ความสัมพันธ์ทางสรีรศาสตร์กับฟิสิกส์ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับเรตินา (เยื่อภายในลูกตาทำหน้าที่รับภาพ) กระแสประสาท การตื่นตัวที่สมองส่วนกลาง และผัสสะหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนฟันเฟืองของเครื่องจักรที่ต้องทำหน้าที่ก่อนที่จะมีการกระต้นต่ออวัยวะสัมผัสที่จะให้ผลลัพธ์ในการรับรู้ ประการที่สาม ข้อสรุปในการค้นคว้าทางจิตวิทยาและวิทยาศาสตร์ที่มีส่วนคัดค้านสามัญสำนึก นั่นคือการรับรู้ทางประสาทสัมผัสอย่างเดียวไม่อาจจะให้ความรู้สำเร็จรูปขึ้นมาได้ ประสบการณ์ทางผัสสะไม่ใช่เป็นการที่เรารับรู้วัตถุตัวจริงทันที หรือการรับรู้ของเราไม่ใช่สิงเดียวกับวัตถุเพราะเราต้องนำผัสสะที่ได้ไปตีความทางจิตก่อนแล้วจึงจะออกมาเป็นความรู้ดังนั้น จึงไม่ใช่ว่าอวัยวะรับสัมผัสกระทบกับวัตถุ ทำให้เกิดกระแสประสาทไปยังสมองแล้วสมองก็สั่งให้รู้ในวัตถุนั้นทันที - สัจจนิยมใหม่
วัตถุทั้งหลายที่มีอยู่โลกมีความแท้จริงในตัวเองและเป็นเจ้าของคุณสมบัติทกอย่างไม่น่าจะเป็นปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ ดังนั้น คุณสมบัติทั้งหลายที่ปรากฏให้เรารู้จักพบเห็นจึงเป็นคุณสมบัติภายในของวัตถุอย่างแน่นอน เช่น โต๊ะ ที่คนหนึ่งเห็นเป็นรูปกลม ส่วนอีกคนเห็นเป็นรูปรีนั้น ทั้งความกลมและความรีเป็นคุณสมบัติภายในที่แท้จริงของโต๊ะตัวเดียวกันหรือภูเขาที่เห็นเป็นสีเขียวเมื่อมองใกล้ ๆ แต่เป็นสีน้ำเงินเมื่อมองไกลนั้น ทั้งความเขียวและน้ำเงินเป็นคุณสมบัติจริง ๆ ของภูเขา ดังนั้น ไม่มีคุณสมบัติเดเลยที่จะกล่าวได้ว่าเป็นของจิตและเป็นเรื่องส่วนตัว คือขึ้นอยู่กับการรอบรู้ของตัวผู้รู้แต่อย่างใด จะเห็นวา เราสามารถที่จะบันทึกภาพของวัตถุใด ๆ ไว้ก็ได้
- บทบาทของระบบประสาท และขบวนการอันเป็นสาเหตุของการรับรู้เป็นเพียงการเลือก และเปิดเผยให้กับตัวผู้ รู้ในคุณสมบัติใดคุณสมบัติหนึ่งในแต่ละคุณสมบัติ เช่น คนหนึ่งเลือกรับรู้ความกลมของโต๊ะ อีกคนเลือกรับรู้ลักษณะรีเป็นรูปไข่ของโต๊ะ เป็นต้น ความเชื่อนี้เรียกว่า ทฤษฎีของการเลือก
- ในการรับรู้วัตถุทั้งหลายของคนเราจึงเป็นการรู้จักมันโดยตรง คือ ถ้าเรารับรู้บ้านหลังหนึ่ง ตัวบ้านหลังนั้นเองเป็นสิ่งที่เรารับรู้ ไม่ใช่ว่าเรารับรู้ในผัสสะทางตา หู หรือ อวัยวะรับสัมผัสใดแล้วมาสร้างเป็นความรู้หรือมโนภาพขึ้นในจิต แต่เป็นการที่เรารับรู้วัตถุในสภาวะที่เป็นความจริงในตัวของมันเองการรู้ไม่ต้องอาศัยข้อมูลทางผัสสะหรือการสร้างมโนภาพของวัตถุ แต่วัตถุภายนอกคือสิ่งที่เรารู้ หรือเป็นความรู้ของเรา สิ่งที่เรารู้จึงไม่ใช่ตัวแทนหรือภาพเหมือนของวัตถุที่จิตสร้างขึ้น
- ข้อยุ่งยากของสัจจนิยมใหม่ ก็คือ ประการแรก ถ้ายอมรับว่าคุณสมบัติทุกอย่างของวัตถุที่เราได้รับรู้นั้นเป็นคุณสมบัติของวัตถุนั้นจริง ๆ แล้ว ในกรณีที่เกิดมีการเข้าใจผิดหรือมีการรับรู้ผิด จะอธิบายอย่างไร ประการที่สอง ถ้าเรากล่าวว่า โต๊ะตัวหนึ่งมีคุณสมบัติภายในที่ทั้งกลุ่มและรัฐหรือภูเขาลูกหนึ่งมีทั้งคุณสมบัติสีเขียวและสีน้ำเงินรวมอยู่ในตัว ก็ดูจะเป็นการขัดแย้งกันในตัวเอง หรือวัตถุจะต้องมีความซับซ้อนอย่างมากทีเดียวถ้ามันมีรูปร่างต่าง ๆ รวมอยู่ในตัว และประการที่สามระบบประสาทของคนเราจะเลือกรับรู้รูปร่างใดรูปร่างหนึ่ง หรือสีใดสีหนึ่งในจำนวนหลาย ๆ สีนั้นอย่างไร สัจจนิยมใหม่ไม่ได้ให้ความกระจ่างในจุดนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของคนตาบอดสี หรือ คนเราซึ่งจะรับรู้รูปร่างและสีแตกต่างไปจากการรับรู้ปกติ