ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ปรัชญาสัจจนิยม
ศตวรรษที่ 19 ปรัชญาจิตนิยมครอบคลุมปรัชญาตะวันตกเกือบทั้งหมดพอเริ่มศตวรรษที่ 20 ได้มีปฏิกิริยาคัดค้านขึ้นในอังกฤษ โดยมี มัวร์ (G.E. Moore)ได้เขียนบทความขึ้นเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีสาระสำคัญในการชี้แจงข้อผิดพลาดของเบอร์คเลย์ที่เสนอความคิดว่าวัตถุในธรรมชาตินั้นไม่อาจจะมีอยู่โดยเป็นอิสระจากจิตได้ นั่นก็คือยอมให้ การมีอยู่ (being) มีความหมายเท่ากับ การถูกรับรู้ (being perceived) บทความของมัวร์ได้สั่นสะเทือนสถานะของนักจิตนิยมที่ยืนยันหลักการดังกล่าว นักคิดในอังกฤษและอเมริกาส่วนมากประทับใจต่อบทความนี้ จึงเกิดความคิดสัจจนิยมขึ้นมากมาย หลักการทั่วไปของสัจจนิยมก็คือ สิ่งทั้งหลายหรือโลกภายนอก มีความแท้จริงในตัวของมันเอง โดยไม่ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของจิตมนุษย์แต่อย่างใด ฉะนั้น ถ้าไม่มีมนุษย์คนใดเลยในโลกมาเป็นผู้รับรู้แล้ว สิ่งต่าง ๆ ก็ยังคงมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น แต่นักปรัชญาสัจจนิยมต่าง ๆ มีความเห็นที่แตกต่างกันออกไปในรายละเอียดของเรื่องสำคัญ 2 เรื่องคือ ประการที่หนึ่ง ที่ว่าโลกภายนอกหรือวัตถุมีความเป็นจริงในตัวเองนั้น มันจริงในลักษณะใด ประการที่สอง ถ้าเชื่อว่าการมีอยู่ของวัตถุต่าง ๆ ไม่ขึ้นกับการรู้ของจิตมนุษย์แล้ว ในการรู้จักวัตถุนั้นรู้อย่างไร คือ เรารู้จักมันโดยตรง หรือว่าต้องผ่านผัสสะหรือตัวกลางบางอย่าง คำตอบต่อประเด็นทั้ง 2 นี้ ทำให้สัจจนิยมมีความแตกต่างกันออกไป พิจารณาถึงข้อวิจารณ์ที่พวกเขามีต่อจิตนิยมของเบอร์คเลย์มีดังนี้ คือ
- มัวร์ให้ข้อวิจารณ์ว่า เบอร์คเลย์ก็ได้แยกการกระทำคือการมีผัสสะกับวัตถุของผัสสะออกจากกัน เช่น สับสนระหว่างผัสสะของของสีน้ำเงินกับวัตถุที่มีสีน้ำเงิน ทั้งยังบอกว่าเป็นสิ่งเดียวกันเสียอีก ผัสสะนั้นมันเหมือนกันในการกระทำที่เป็นการรู้จักมัน แต่ต่างกันไปในเรื่องของสิ่งที่เรารู้จักมัน เซ่น ผัสสะสีน้ำเงินของท้องฟ้ากับของทะเลที่เราได้รับทางประสาทตาอาจเหมือนกัน แต่วัตถุของผัสสะคือท้องฟ้ากับทะเลนั้น เป็นคนละอย่างกัน ดังนั้นในเมื่อวัตถุเป็นคนละสิ่งกันกับการรู้สึกมันเช่นนี้แล้วก็ไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะบอกว่าวัตถุไม่มีตัวตนอยู่ถ้ามันไม่ถูกรับรู้ด้วยจิตของใคร
- นักสัจจนิยมใหม่ชื่อ เพอร์รี (R.B. perry) วิจารณ์จิตนิยมแบบอัตนัยว่าเป็น ประเด็นที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Egocentric predicament) การวิจารณ์นี้เป็นเสมือนอาวุธร้ายแรงที่ทำลายสถานะของจิตนิยม สาระสำคัญของการวิจารณ์ก็คือว่าเมื่อมนุษย์คนใดที่รับรู้โลก หรือ คิดเกี่ยวกับโลกนั้น เขาคิดเกี่ยวกับมันในลักษณะที่เป็นความสัมพันธ์กับตัวเขาเองเสมอ คือวัตถุนั้นจะมีใครรู้จักมันได้ มันก็ต้องเป็นวัตถุในความรู้ของคน เรียกว่า มีความสัมพันธ์ทางความรู้กับตัวผู้รู้ ส่วนวัตถุในสถานการณ์ที่ก่อนจะมีใครรู้จักมันนั้นเป็นอย่างไรไม่มีผู้ใดทราบ เพราะในทันทีที่คนเราเริ่มคิดถึงมันมันก็จะกลายเป็นวัตถุในความรู้ของเรา มีสัมพันธภาพทางความรู้กับเราทันที สำหรับตรงนี้ นักปรัชญาไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด สัจจนิยมหรือจิตนิยมต้องยอมรับว่าจริง แต่ข้อเท็จจริงที่ว่ามีความสัมพันธ์เช่นนี้ (ความสัมพันธ์ระหว่างผู้รู้กับวัตถุที่ถูกรู้) ในการคิดทั้งหลายของเราเป็นข้อยุ่งยากอันหนึ่ง คือ จิตนิยมแบบอัตนัยไปถือว่า การมอยู่ (ของวัตถุ) ก็คือ การถูกรับรู้ จริงอยู่ที่ว่าไม่มีนักปรัชญาคนใดจะสามารถถกเถียงถึงสิ่งใดก็ตามที่ไมใช่เป็นความคิด เพราะว่าในการถกเถียงนั้น เราต้องเปลี่ยนสิ่งน่าเป็นความคิดของเราก่อนจึงจะเริ่มให้เหตุผลได้ ดังนั้นก็หมายความว่า สิ่งใดที่เรากล่าวถึงก็คือ ความคิดอันหนึ่ง แต่นี้ไม่ใช่ หมายความว่า ความคิดเท่านั้นที่มีอยู่ ดังนั้นประเด็นที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง จึงเป็นลักษณะของความคิด ในการคิดเรายึดตัวเองเป็นที่ตั้งได้ แต่ไม่ใช่ลักษณะของสิ่งที่มีอยู่หรือวัตถุ ถ้าใครจะกล่าวหาเขาไม่ได้เคยพบเห็น ก. มันไม่ได้เป็นสิ่งในความคิดหรือในการรับรู้ของเขาเลย นั่นไม่ใช่หมายความว่า ก. ไม่ได้มีอยู่ในโลกนี้
ทฤษฎีสัจจนิยม
มีมาตรตัดสินความจริงว่า
ความคิดกับข้อเท็จจริงภายนอกจะต้องตรงกัน
ความคิดของเราจะต้องตรงกับสิ่งภายนอกที่มีอยู่จริง เมื่อนั้น เราก็จะถือว่า
ความรู้นั้นเป็นจริง นี่คือ ความตรงกันระหว่างความคิดกับข้อเท็จจริงภายนอก
ยกตัวอย่างเช่น เรามีความคิดว่า ก้อนหินนั้นมีลักษณะของสสารที่กินที่
เมื่อเราได้สัมผัสเอง เราก็รู้ได้ว่า ก้อนหินนั้นเป็นสสารที่กินที่
เพราะมันมีอยู่ตรงที่มือเราจับ มันคงอยู่ในเวลาตอนที่เราจับมัน นั่นเอง
แนวคิดลัทธิสัจจนิยม (Realism)
เป็นแนวคิดที่อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อ
ในการแสวงหาสัจจะแห่งทุกสิ่งในภาพรวมโดยมุ่งศึกษาทุกด้านเพื่อที่จะทำความเข้าใจทั้งหมดโดยมองไปที่ความสัมพันธ์กับศาสตร์สาขาอื่น
ๆ สัจจนิยม ก็ถือว่าสิ่งต่าง ๆ มีอยู่และเป็นจริงโดยธรรมซาติ
แม้จะเป็นสิ่งที่มนุษย์รับรู้ด้วยประสาทสัมผัสก็จริง
แต่การมีอยู่ของมันเป็นอิสระจากการรับรู้ของมนุษย์
แนวคิดของปรัชญาฝ่ายลัทธิสัจจนิยมถือเอาวัตถุ (Matter) เป็นความแท้จริงสุดท้าย
(ultimate reality) สรรพสิ่งที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเอง และเป็นอิสระจากจิต (mind)
แม้ว่าปรัชญาฝ่ายลัทธิสัจจนิยมนี้จะมีหลักเบื้องต้นเรื่องความจริงทางปรัชญาว่าวัตถุเป็นความจริงที่จริงที่สุด
แต่ก็ไม่เป็นด้วยในการเชื่อถือบางสิ่งบางอย่าง
จึงทำให้เกิดการแบ่งแนวคิดออกเป็นลัทธิความเชื่อย่อย ๆ อีก