สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
กรณีปราสาทพระวิหาร
ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบ เกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดนไทย -
กัมพูชา
50 ประเด็น ถาม-ตอบ กรณีปราสาทพระวิหาร
สรุปข้อมูลสถานะของคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร
ลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร
- พ.ศ.2442 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงค้นพบปราสาทพระวิหาร
- พ.ศ.2447 สยามและฝรั่งเศสจัดทำอนุสัญญากำหนดเขตแดนระหว่างสยาม - อินโดจีน (รวมถึงพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่)
- พ.ศ.2447 - 2450 คณะกรรมการปักปันผสมสยาม -ฝรั่งเศส ชุดที่ 1 ทำการปักปันเขตแดนระหว่างสยาม -อินโดจีน ตามอนุสัญญา
- พ.ศ. 2447พ.ศ.2451 ฝรั่งเศสจัดทำแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 (จำนวน 11 ระวาง) และจัดส่งให้ประเทศไทย แต่ไม่ได้มีการรับรองโดยคณะกรรมการปักปันผสม
- พ.ศ.2473 การเสด็จเยือนปราสาทพระวิหารของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมีข้าหลวงฝรั่งเศสให้การต้อนรับ
- พ.ศ.2496 กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสพฤศจิกายน
- พ.ศ.2501 กัมพูชาตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
- กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 ไทยและกัมพูชาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกลับคืน
- 6 ตุลาคม พ.ศ.2502 กัมพูชาฟ้องไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร
- 26 พฤษภาคม พ.ศ.2504 ศาลโลกมีคำพิพากษา(ชั้นการคัดค้านเบื้องต้น)ตัดสินว่าศาลโลกมีอำนาจพิจารณาคดี
- 15 มิถุนายน พ.ศ.2505 ศาลโลกมีคำพิพากษา (ชั้นเนื้อหา) ตัดสินให้อธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ให้ไทยถอนทหารและตำรวจออกจากปราสาท และบริเวณใกล้เคียงปราสาท และคืนวัตถุโบราณที่อาจได้นำออกมาจากปราสาท
- 3 กรกฎาคม พ.ศ.2505 รัฐบาลไทยออกแถลงการณ์แสดงความไม่เห็นด้วยต่อผลคำพิพากษาของศาลโลก แต่ในฐานะสมาชิกสหประชาชาติไทยจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลก
- 6 กรกฎาคม พ.ศ.2505 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีหนังสือถึงรักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ แจ้งว่าไทยไม่เห็นด้วยต่อผลคำพิพากษาของศาลโลก แต่ก็จะปฏิบัติตามในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ พร้อมสงวนสิทธิในการทวงคืนปราสาทพระวิหารโดยวิธีทางกฎหมาย
- 10 กรกฎาคม พ.ศ.2505 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาพร้อมกำหนดขอบเขตบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร และให้สร้างป้ายแสดงเขตดังกล่าว และสร้างรั้วลวดหนามล้อมรอบ
- 15 กรกฎาคม พ.ศ.2505 ประเทศไทยถอนทหารและตำรวจออกจากปราสาทพระวิหาร และเคลื่อนย้ายเสาธงออกจากพื้นที่โดยไม่ได้เชิญธงชาติไทยลงจากยอดเสา
- 5 มกราคม พ.ศ.2506 สมเด็จพระนโรดม สีหนุ เสด็จฯ เยือนปราสาทพระวิหาร ในพิธีเข้าครอบครองปราสาทพระวิหารอย่างเป็นทางการ
- 30 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน พ.ศ.2546 ในการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - กัมพูชา ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันที่จะร่วมมือพัฒนาเขาพระวิหารและบูรณปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร
- 30 มกราคม พ.ศ.2549 กัมพูชายื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
- 7 กรกฎาคม พ.ศ.2551 ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่32 มีมติให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
- กรกฎาคม - ตุลาคม พ.ศ.2551 เหตุการณ์ความตึงเครียดและการปะทะตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชาในพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
- 3 เมษายน พ.ศ.2552 เหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดนไทย -กัมพูชาในพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
- 4 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 เหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดนไทย -กัมพูชาในพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
- 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมเกี่ยวกับกรณีเหตุการณ์ปะทะตามแนวชายแดนไทย -กัมพูชา โดยประธานการประชุมได้ออกแถลงข่าวเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ความอดทนอดกลั้นและยุติการปะทะอย่างถาวรโดยเร็ว และให้มีการเจรจาโดยให้อาเซียนมีบทบาทสนับสนุน
- 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการโดยอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนในขณะนั้น ได้ออกแถลง-การณ์เรียกร้องให้ไทยและกัมพูชากลับมาเจรจาทวิภาคีกันต่อไปตามกลไกที่มีอยู่โดยให้อินโดนีเซียมีบทบาทสนับสนุนตามความเหมาะสม
- 7 - 8 เมษายน พ.ศ.2554 การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย -กัมพูชา ที่เมืองโบกอร์ อินโดนีเซีย โดยมีการหารือเกี่ยวกับการเชิญผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ปะทะบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา
- 28 เมษายน พ.ศ.2554 กัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 และขอให้ศาลโลกออกคำสั่งมาตรการชั่วคราว
- 30 - 31 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ไทยและกัมพูชาร่วมการนั่งพิจารณาคำขอให้ศาลโลกออกคำสั่ง มาตรการชั่วคราวที่ศาลโลก ณ กรุงเฮก
- 18 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ศาลโลกมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราว 4 ประการ รวมถึงการกำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราวรอบปราสาทพระวิหาร เนื้อที่ประมาณ 17.3 ตารางกิโลเมตร
- 18 ตุลาคม พ.ศ.2554 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ปฏิบัติตามคำสั่งฯ ของศาลโลก
- 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 ไทยยื่นข้อสังเกตเป็นลายลักษณ์อักษร
- 21 ธันวาคม พ.ศ.2554 การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย -กัมพูชา ครั้งที่ 8 ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อหารือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลโลกอย่างโปร่งใส เท่าเทียม และตรวจสอบได้
- 8 มีนาคม พ.ศ.2555 กัมพูชายื่นคำตอบต่อข้อสังเกตของไทย
- 3 - 5 เมษายน พ.ศ.2555 การประชุมคณะทำงานร่วม ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพมหานคร
- 21 มิถุนายน พ.ศ.2555 ไทยยื่นคำอธิบายเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษร
- 26 - 28 มิถุนายน พ.ศ.2555 การประชุมคณะทำงานร่วม ครั้งที่ 2 ที่กรุงพนมเปญ
- 18 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ไทยและกัมพูชาได้ปรับกำลังทางทหารบางส่วนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามคำสั่งฯ ของศาลโลก17 -
- 19 ธันวาคม พ.ศ.2555 การประชุมคณะทำงานร่วม ครั้งที่ 3 ที่กรุงเทพมหานคร
- 15 - 19 เมษายน พ.ศ.2556 ศาลโลกกำหนดให้มีการอธิบายทางวาจาเพิ่มเติม ที่ศาลโลก ณ กรุงเฮก
- ปลายปี 2556 ศาลโลกจะมีคำพิพากษาคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505
ข้อบทปฏิบัติการของคำพิพากษา ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505
ศาล
โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม
ลงความเห็นว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนภายใต้ อธิปไตยของกัมพูชา
โดยเหตุนี้ จึงพิพากษา
โดยคะแนนเสียงเก้าต่อสาม
ว่าประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องถอนกำลังทหาร หรือตำรวจผู้เฝ้ารักษา หรือผู้ดูแลซึ่งประเทศไทยส่งไปประจำ อยู่ที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียงปราสาท ในดินแดนของกัมพูชา
โดยคะแนนเสียงเจ็ดต่อห้า
ว่าประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องคืนให้แก่กัมพูชา
บรรดาวัตถุชนิดที่ได้ระบุไว้ในคำแถลงสรุปข้อห้าของกัมพูชา
ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยอาจจะได้โยกย้ายออกไปจากปราสาทหรือ
พื้นที่ปราสาทนับแต่วันที่ประเทศไทยเข้าครอบครองปราสาท เมื่อ ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497)