ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>
กัดดาฟี
ผู้นำลิเบีย วีรบุรุษอาหรับ
กัดดาฟี เกิดเมื่อ ค.ศ. 1942 เขาเกิดในกระโจมในทะเลทรายใกล้เมืองเซอร์ตี มีชื่อเต็มๆว่า มูอัมมาร์ กัดดาฟี พ่อเป็นชาวอาหรับ เบดูอิน ซึ่งพเนจรเร่รอนไปในทะเลทราย เป็นชนเผ่าเบอร์เบอร์ อาชียเลี้ยงสัตว์ขาย ตระกูลของเขานับตั้งแต่ปู่ล้วนเคยต่อสู้กับทหารอิตาเลียน ที่เข้ามายึดครองลิเบียอย่างกล้าหาญ ถือได้ว่าเขาสืบสายเลือดชาตินิยมอาหรับมาเลยทีเดียว ในวัยเยาว์กัดดาฟี เรียนหนังสือได้ดีมาก และเมื่ออายุได้ 14 ปี ใน ค.ศ. 1956 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับ ก็ได้ก่อให้เกิดความสำนึกทางการเมืองแก่กัดดาฟีอย่างแรงกล้า เนื่องจากในปีนั้น นัสเซอร์ ผู้นำแห่งอียิปต์ได้โอนคลองสุเอชเป็นของรัฐ ยังผลให้อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิสราเอล ยกทัพบุกอียิปต์
กัดดาฟี ได้จัดตั้งกลุ่มนักเรียนขึ้น เพื่อสนับสนุนนัสเซอร์ ผู้เป็นวีรบุรุษของเขากัดดาฟี่ เคลื่อนไหวทางการเมือง ทั้งเดินขบวนและสไตร๊ค์จนถูกไล่ออกจากโรงเรียน ต้องจ้างคูรมาสอนที่บ้านจึงเรียนจบ เมื่ออายุได้ 19 ปี ก็เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยที่แบงกาซี ตามแบบนัสเซอร์ เมื่อเป็นนักเรียนนายร้อยกัดดาฟี่ ก็ค่อยๆปลูกฝังความคิดในเรื่องชาตินิยมอาหรับแก่เพื่อนๆชั้นเดียวกัน ทำนองเดียวกับที่นัสเซอร์ จัดตั้งขบวนการนายทหารเสรีในวัยหนุ่ม เพื่อปฎิวัติโค่นราชบัลลังก์ฟารุค นั่นเอง
เมื่อจบจากโรงเรียนนายร้อยแล้ว กัดดาฟี่ได้เป็นนายทหารในกองทัพบก และทำงานใต้ดินติดต่อกับเพื่อนๆนายทหารของตน บรรดานายทหารที่ร่วมวางแผนปฎิวัติ กับกัดดาฟี่ล้วนใช้ชีวิตมัธยัสถ์อดออม เคร่งศาสนาเยี่ยงมุสลิมที่ดี ซึ่งกัดดาฟี่ได้ประพฤปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างมาตลอด ด้วยเหตุนี้คณะนายทหารกลุ่มกัดดาฟี่ จึงเป็นนายทหารที่หาได้ยากในลิเบีย เพราะไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่เล่นการพนัน และไม่ใช้ชีวิตเหลวแหลกในเรื่องผู้หญิง

วันที่ 1 กันยายน ปี ค.ศ. 1969 ขณะนั้นกษัตริย์ไอดริสเสด็จออกไปนอกประเทศ และในคืนนั้นเอง นายทหารผู้ใหญ่ของกองทัพบกได้เชิญนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่มากินเลี้ยงกันเป็นการใหญ่ พอตกค่ำกัดดาฟี่ก็เคลื่อนกำลังเข้าจู่โจมจับกุมตัวนายทหาร และนายตำรวจเหล่านนั้นได้ทั้งหมด จากนั้นนายทหารชั้นนายร้อยทั้งหลายก็แยกย้านกันเข้ายึดเมืองตริโปลี และ เบงกาซี โดยใช้รถถัง และรถเกาะเข้ายึกสถานีวิทยุ ที่ทำการไปรษณีย์ และสถานที่สำคัยๆต่างๆ ตลอดจนค่ายทหารที่อาเซียและพระราชวังด้วย
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กองทัพบก
และตำรวจแห่งชาติก็อยู่ภายใต้การบังคับการของกัดดาฟี่
เพื่อสะดวกแก่การบังคับบัญชาเขาได้เลื่อนยศตนเองเป็นนายพันเอก
และดำรงค์ตำแหน่งประมุขสูงสดุของสาธารณรัฐลิเบีย และผู้บัญชาการทหารสูงสุด
และประธานสภาปฎิวัติ ซึ่งสถานี้มีอำนาจปกครองประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 12 คน
ได้แก่นายทหารที่ร่วมคบคิดกันมากับกัดดาฟี่นั่นเอง
หลังจากยึดอำนาจจากรัฐบาลได้แล้ว กัดดาฟีได้แก้ปัญหาเรื่องเอกราชก่อน
โดยการไม่ยินยอมให้สหรัฐฯและอังกฤษตั้งฐานทัพในลิเบียอีกต่อไป
มหาอำนาจทั้งสองจึงต้องถอนกำลังออกทั้งหมด แล้วจึงขึ้นค่าภาคหลวงน้ำมันขึ้นมาอีก
120 เปอร์เซนต์ และภายหลังได้โอนมาเป็นของรัฐ
ยังผลให้ลิเบียเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่งในตะวันออกกลางสมัยนั้น
จากนั้นกัดดาฟี่ได้ใช้เงินที่ได้จากน้ำมันพัฒนาโครงการเศรษฐกิจ
และก่อสร้างบ้านเรือนที่ทันสมัย ตั้งแต่ ทศวรรษที่ 1980
ปรากฎว่ารายได้เฉลี่ยของชาวลิเบียส฿งถึง 7000 เหรียญต่อปี
กัดดาฟี่ยึดรถยนต์เมอซีเดซ ที่เจ้านายและนักการเมืองในอดีตใช้กันอย่างหรูหรา ได้ถึง
600 คัน ส่วนตนเองใช้รถจี๊ปแลนด์โรเวอร์ และยังได้ลดเงินเดือนรัฐมนตรีลงครึ่งหนึ่ง
ลดค่าเช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัยของคนจนลง 1 ใน 3
หลักการปฎิวัติของกัดดาฟี่นั้น มีอยู่ในหนังสือที่เขาเขียนเอง ที่เรียกกันว่า
Green Book ซึ่งเป็นการนำเอาหลักการต่าง
ในพระคัมภีร์กุรอ่านมาปรับใช้ในโลกที่สมัยใหม่
เขาถือว่าลัทธิทุนนิยมล้าสมัยไปหมดแล้ว ส่วนลัทธิมาร์กซก็คือสังคมยูโตเปีย
ที่ปกครองด้วยระบบราชการ
จากความจะเป็นอันเนื่องมาจากมหาอำนาจตะวันตก ล้วนเป็นปริปักษ์ต่อลิเบีย กัดดาฟี
จึงต้องซื้ออาวุธจากโซเวียตเป็นจำนวนมาก ทั้งรถถัง เครื่องบิน ปืนใหญ่
และยุทโธปกรณ์อย่างอื่นอีก
จึงไม่แปลกเลยที่ ในสายตาของชาวลิเบีย และชาวอาหรับมากมาย กัดดาฟี่
คือวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอาหรับ ผู้สืบทอดอุดมการณ์ชาตินิยมอาหรับจากนัสเซอร์
ทั้งที่ในสายตาของรัฐบาลอเมริกา เขสคือปีศาจร้ายที่ต้องต้องทำลายให้สิ้น
เพราะอยู่เบื้องหลังพวกก่อการร้ายชาวอาหรับจำนวนมาก