ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2541
เป็นปีที่ 53 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า "พระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2541"
มาตรา 2* พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[รก.2541/35ก/25/9 มิถุนายน 2541]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2540
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
"เลือกตั้ง" หมายความว่า เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก วุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
"จังหวัด" หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
"เลขาธิการ" หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
"รองเลขาธิการ" หมายความว่า รองเลขาธิการคณะกรรมการ การเลือกตั้ง
มาตรา 5 ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
หมวด 1
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
______
มาตรา 7 ให้กรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สิน และหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่เข้าดำรง ตำแหน่งและภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งและต้องยื่นบัญชีแสดงรายการ ทรัพย์สินและหนี้สินอีกครั้ง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าว เป็นเวลาหนึ่งปี บัญชีตามวรรคหนึ่งให้ยื่นพร้อมเอกสารประกอบซึ่งเป็นสำเนาหลักฐาน ที่พิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินดังกล่าว รวมทั้งสำเนาแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในรอบปีภาษีที่ผ่านมา โดยผู้ยื่นจะต้องลงลายมือชื่อรับรอง ความถูกต้องกำกับไว้ในบัญชีและสำเนาหลักฐานที่ยื่นไว้ทุกหน้าด้วย
มาตรา 8 การประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีกรรมการ การเลือกตั้งมาประชุมไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการการเลือกตั้งทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ จึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่กรรมการการเลือกตั้งคนใดไม่อาจมา ประชุมได้ให้จดแจ้งเหตุนั้นไว้ในรายงานการประชุม การลงมติในการประชุมของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ใช้คะแนน เสียงข้างมาก โดยให้กรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งมีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่การลงมติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณา ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา 10 (5) (6) (7) และ (8) ให้ใช้คะแนน เสียงเอกฉันท์ ให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธาน กรรมการการเลือกตั้งไม่มาประชุม ให้กรรมการการเลือกตั้งที่มาประชุมเลือก กรรมการการเลือกตั้งคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มาตรา 9 ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการการเลือกตั้ง หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการการเลือกตั้งเลือกกรรมการการเลือกตั้ง คนหนึ่งทำหน้าที่แทนประธานกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา 10 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งและการออก เสียงประชามติตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
(2) ออกประกาศกำหนดการทั้งหลายอันจำเป็นแก่การปฏิบัติตาม กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิก วุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิก สภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(3) มีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ ปฏิบัติการทั้งหลายอันจำเป็นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย พรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ และ กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(4) ออกข้อกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้มี อำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
(5) ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการ แบ่งเขตเลือกตั้ง และจัดให้มีบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(6) สืบสวนสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือ ข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการ เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยพรรคการเมืองกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(7) สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ในหน่วยเลือกตั้งใด หน่วยเลือกตั้งหนึ่งหรือทุกหน่วยเลือกตั้งหรือสั่งให้มีการนับคะแนนใหม่ เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติในหน่วย เลือกตั้งนั้น ๆ มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และ วิธีพิจารณาที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
(8) ประกาศผลการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
(9) ดำเนินการหรือประสานงานกับหน่วยราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสนับสนุนองค์การเอกชนใน การให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(10) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีและข้อสังเกตเสนอ ต่อรัฐสภา
(11) ดำเนินการอื่นตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญอื่น หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา 11 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด บุคคล คณะบุคคลหรือผู้แทนองค์การเอกชน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการ การเลือกตั้งมอบหมายได้ หลักเกณฑ์ วิธีการแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และค่าตอบแทน รวมทั้งวิธีปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ จังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด บุคคล คณะบุคคลหรือผู้แทนองค์การ เอกชนตามวรรคหนึ่ง และคณะอนุกรรมการตามมาตรา 14 ให้เป็นไปตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา 12 คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดตามมาตรา 11 ให้มีจำนวนจังหวัดละไม่เกิน 11 คน ประกอบด้วยบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง แต่งตั้ง โดยใช้วิธีสรรหาจากผู้ที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 137 (1) (2) (4) (5) (6) และ (7) ของรัฐธรรมนูญโดยให้สรรหาจากผู้มีภูมิลำเนาใน จังหวัดนั้นเป็นหลัก กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว
มาตรา 13 คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมอบหมายให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งประจำจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(1) อำนวยการการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติ ที่กระทำ ภายในจังหวัดนั้น
(2) เสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งที่ใช้วิธีการ
แบ่งเขตเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(3) รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือ
ผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ
(4) เสนอแนะต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อพิจารณาแต่งตั้งบุคคล
ผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ ตามที่กฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ หรือกฎหมายว่าด้วยการ
เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกำหนดไว้
(5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติงานของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำ
จังหวัดให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
มาตรา 14 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ มอบหมายได้
มาตรา 15 ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งเกี่ยวกับ การเลือกตั้งหรือการออกเสียงประชามติ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสั่งให้ หน่วยราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐดำเนินการ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามอำนาจหน้าที่ หรือให้หน่วยงานดังกล่าวมีคำสั่งให้ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานอื่นของรัฐ ปฏิบัติการอันจำเป็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือการออกเสียง ประชามติได้ตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่ง ของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งหรือมาตรา 10 (3) ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าเป็นการกระทำความผิดทางวินัย และให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งส่งเรื่องให้ผู้มีอำนาจดำเนินการทางวินัยของผู้นั้นดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ต่อไป
มาตรา 16 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าผู้ใดกระทำ ความผิดตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้มีอำนาจแจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนิน การสอบสวน และให้มีอำนาจดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลไม่ว่าจะเป็นเรื่องในทางแพ่ง ทางอาญาหรือทางปกครอง โดยให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการแทนได้ และ ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลอำนวยความสะดวกและเร่งรัดให้การ ดำเนินการคดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและในการนี้ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม ทั้งปวง
มาตรา 17 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการทำทะเบียน รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งจากหลักฐานทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน ราษฎรแยกเป็นรายจังหวัดไว้เป็นประจำ ทะเบียนรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งให้ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิ ตรวจสอบและขอแก้ไขให้ถูกต้องได้
มาตรา 18 ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการแบ่งเขต เลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งไว้ทุกจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้ ทราบล่วงหน้า การแบ่งเขตเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งจะต้องกำหนดพื้นที่ในแต่ละเขตเลือกตั้ง ให้ติดต่อกันและมีจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้งใกล้เคียงกัน โดยถือ เกณฑ์ดังนี้
(1) ในกรณีที่อำเภอหรือตำบลใดมีจำนวนราษฎรเพียงพอที่จะกำหนด เป็นเขตเลือกตั้งได้ให้กำหนดอำเภอหรือตำบลนั้นเป็นเขตเลือกตั้ง
(2) ในกรณีที่ไม่เป็นไปตาม (1) ให้รวมอำเภอต่าง ๆ เป็นเขตเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงพื้นที่ที่ติดต่อใกล้ชิดกัน ความสะดวกในการคมนาคมระหว่างกัน และการเคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน ถ้าการรวมอำเภอในลักษณะนี้จะทำให้มี จำนวนประชากรมากหรือน้อยเกินไป ให้แยกหรือรวมพื้นที่ตำบลเพื่อให้ได้จำนวน ประชากรพอเพียงสำหรับการเป็นเขตเลือกตั้ง แต่จะแยกหรือรวมเฉพาะเพียง บางส่วนของตำบลไม่ได้
(3) ในกรณีที่การกำหนดพื้นที่ตามเกณฑ์ใน (2) จะทำให้จำนวนราษฎร ในแต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนไม่ใกล้เคียงกันหรือไม่มีสภาพเป็นชุมชนเดียวกัน ให้ ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งตามสภาพของชุมชนที่ราษฎรมีการติดต่อกันเป็นประจำ ในลักษณะที่เป็นชุมชนเดียวกันหรือใกล้เคียงกันและสามารถเดินทางติดต่อกันได้โดย สะดวก โดยจะต้องทำให้จำนวนราษฎรของแต่ละชุมชนในเขตเลือกตั้งแต่ละแห่ง มีจำนวนใกล้เคียงกันมากที่สุด เมื่อได้ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดการแบ่งเขตเลือกตั้ง ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงเขต เลือกตั้งให้กระทำได้เฉพาะเมื่อต้องมีการรวมเขตเลือกตั้งหรือเพิ่มเขตเลือกตั้งใหม่ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ในวรรคสอง
ในกรณีที่มีการเลือกตั้งทั่วไป ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศ กำหนดเขตเลือกตั้งในคราวนั้นโดยถือเขตเลือกตั้งที่มีการประกาศกำหนดไว้ตาม มาตรานี้ เว้นแต่มีกรณีจำเป็นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเขตเลือกตั้งตามมวรรคสาม
มาตรา 19 ในกรณีที่มีเหตุให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องสืบสวน สอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริง และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับ การปฏิบัติตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ หรือกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งดำเนินการโดยพลัน ในการสืบสวนสอบสวนตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้งต้อง ให้โอกาสผู้ร้อง ผู้ถูกคัดค้านหรือผู้ถูกกล่าวหา มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดง หลักฐาน รวมทั้งต้องให้โอกาสมาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อของกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคน วิธีการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามระเบียบที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 20 องค์การเอกชนใดที่มีความประสงค์จะช่วยเหลือการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการตรวจสอบการเลือกตั้ง ให้ยื่นคำขอ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง และเมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ตรวจสอบแล้ว เห็นว่าองค์การเอกชนที่ยื่นคำขอมีความเป็นกลางในทางการเมือง คณะกรรมการ การเลือกตั้งมีอำนาจรับรองให้องค์การเอกชนนั้นช่วยเหลือในการตรวจสอบการ เลือกตั้งได้ ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจแต่งตั้ง ผู้แทนขององค์การเอกชนที่ได้รับรองตามวรรคหนึ่ง เพื่อช่วยดูแลตรวจสอบการเลือกตั้ง และรายงานให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบในกรณีที่พบเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นไป โดยไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม หรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หลักเกณฑ์และวิธีการการขอให้รับรอง การรับรอง การเพิกถอนการ รับรอง และการปฏิบัติงานขององค์การเอกชนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการ การเลือกตั้งกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 21 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(1) ให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วน
ท้องถิ่นมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงหรือให้ความเห็นในการปฏิบัติงาน หรือส่งเอกสาร
หลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
(2) ให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานตาม (1) เจ้าหน้าที่ของรัฐ พนักงานอัยการ
พนักงานสอบสวนหรือบุคคลใด มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง หรือมาให้ถ้อยคำ
หรือส่งเอกสาร หลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณา
(3) ขอให้ศาลส่งเอกสาร หลักฐาน หรือพยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อประกอบการพิจารณา
(4) เข้าไปในที่เลือกตั้ง ที่ออกเสียงประชามติ หรือสถานที่นับคะแนน เลือกตั้ง
หรือนับคะแนนการออกเสียงประชามติ
มาตรา 22 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการ เลือกตั้งประจำจังหวัด และอนุกรรมการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งเป็น เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 23 เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่น ของประธานกรรมการการเลือกตั้งและกรรมการการเลือกตั้งให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น
มาตรา 24 ห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัด ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และอนุกรรมการที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่เพื่อเป็นคุณหรือ เป็นโทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด หรือกระทำการหรือละเว้นกระทำการ โดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งกระทำตามหน้าที่โดยสุจริตย่อมได้รับ ความคุ้มครองไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งหรือทางอาญา
| หน้าถัดไป »