ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรพ.ศ. 2530

หน้า 2

มาตรา 6 ถ้าอธิบดีกรมศุลกากรเห็นว่ามีการหลีกเลี่ยงอากรที่พึงเก็บ แก่สิ่งที่สมบูรณ์แล้ว โดยวิธีนำสิ่งนั้นเข้ามาเป็นส่วน ๆ ต่างหากจากกัน จะเป็นใน วาระเดียวกันหรือต่างวาระกันก็ดี ก็ให้เรียกเก็บอากรส่วนนั้น ๆ รวมกันใน อัตราที่ถือเสมือนว่าเป็นสิ่งที่ได้ประกอบมาสมบูรณ์แล้วมาตรา 7 การสำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าและใบขนสินค้า ขาออกนั้นมิให้ถือว่าบริบูรณ์ นอกจากจะสำแดงประเภทของและเกณฑ์ปริมาณที่ ต้องใช้ในการเก็บอากรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่จำแนกและกำหนดไว้ในพิกัด อัตราอากรท้ายพระราชกำหนดนี้

มาตรา 8 ของที่ต้องเสียอากรตามสภาพนั้น

(1) ถ้าเป็นของประเภทอาหารที่บรรจุภาชนะโดยมีของเหลวหล่อเลี้ยง ด้วยเพื่อประโยชน์ในการถนอมอาหาร น้ำหนักที่ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณอากรให้ถือ เอาน้ำหนักแห่งของรวมทั้งของเหลวที่บรรจุในภาชนะนั้น

(2) ถ้าบรรจุในหีบห่อหรือภาชนะใด ๆ เพื่อจำหน่ายทั้งหีบห่อหรือ ภาชนะ และมีเครื่องหมายหรือป้ายแสดงปริมาณแห่งของติดไว้ที่หีบห่อหรือ ภาชนะนั้น เพื่อประโยชน์ในการคำนวณอากร อธิบดีกรมศุลกากรจะถือว่าหีบห่อ หรือภาชนะนั้น ๆ บรรจุของตามปริมาณดังที่แสดงไว้ก็ได้

มาตรา 9 ของที่ต้องเสียอากรตามราคานั้น อธิบดีกรมศุลกากรจะ ประกาศเป็นครั้งคราวก็ได้ว่า ราคาในท้องตลาดเป็นรายเฉลี่ยสำหรับของ ประเภทหนึ่งประเภทใดกำหนดเป็นเงินเท่าใด ให้ถือราคาเช่นว่านี้เป็นเกณฑ์ ประเมินเงินอากรในประเภทของที่ประกาศนั้นแทนราคาอันแท้จริงในท้องตลาด นับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง การประกาศ การยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงประกาศในวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 10 ของใดซึ่งในเวลานำเข้าได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร เพราะเหตุที่นำเข้ามาเพื่อใช้เองโดยบุคคลมีสิทธิเช่นนั้น หรือเพราะเหตุที่นำเข้ามา เพื่อใช้ประโยชน์อย่างใดที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ ถ้าหากของนั้นได้โอนไป เป็นของบุคคลที่ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร หรือได้นำไปใช้ในการอื่น นอกจากที่กำหนดไว้ หรือสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรสิ้นสุดลง ของนั้นจะต้องเสียอากรโดยถือสภาพของของ ราคา และอัตราอากรที่เป็นอยู่ในวัน โอนหรือนำไปใช้ในการอื่น หรือวันที่สิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรสิ้นสุดลง เป็นเกณฑ์ในการคำนวณอากร

สำหรับกรณีที่ได้รับลดหย่อนอากร ให้เสียอากร เพิ่มจากที่ได้เสียไว้แล้วให้ครบถ้วนตามจำนวนเงินอากรที่จะพึงต้องเสียทั้งหมด ในเมื่อได้คำนวณตามเกณฑ์เช่นว่านั้น ทั้งนี้ ให้แจ้งขอชำระอากรหรืออากรเพิ่ม ต่อกรมศุลกากรหรือด่านศุลกากรที่ได้นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร ภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ความรับผิดในอันจะต้องชำระอากรหรืออากรเพิ่มเกิดขึ้น และต้องชำระ ณ ที่ทำการศุลกากรซึ่งกรมศุลกากรกำหนดให้เสร็จสิ้นภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจำนวนเงินอากรหรืออากรเพิ่มอันจะพึงต้องชำระ ถ้ามิได้มีการปฏิบัติเช่นว่านั้น ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงการเสียอากร แต่มิให้นำมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พุทธศักราช 2482 มาใช้บังคับในกรณีที่ของนั้นได้โอนไปโดยสุจริต การชำระอากรหรืออากรเพิ่มตามความในวรรคแรก ให้เป็นความรับผิด ของผู้โอนของนั้นไปเป็นของบุคคลที่ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร หรือผู้ที่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรได้นำหรือยินยอมให้นำของนั้นไปใช้ ในการอื่น หรือผู้ที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรสิ้นสิทธิลงในขณะเป็น เจ้าของ แล้วแต่กรณี

เว้นแต่ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร ถึงแก่ความตายในขณะเป็นเจ้าของ ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาท แล้วแต่กรณี เป็นผู้รับผิดชำระอากรหรืออากรเพิ่ม โดยให้แจ้งขอชำระอากรหรืออากรเพิ่ม ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รู้ว่าของนั้นผู้ตายได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากร บทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในอันจะต้องเสียอากรหรืออากรเพิ่มตาม มาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่ของนั้นนำเข้าโดยกระทรวง ทบวง กรม หรือ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งถ้ามีการจำหน่ายของนั้นจะต้องส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หัก รายจ่าย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศกำหนดให้ของบางประเภทหรือบางชนิดซึ่งบุคคลที่มีสิทธิได้รับ ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรนำเข้ามาเพื่อใช้เอง หรือของบางประเภทหรือ บางชนิดที่นำเข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์ที่กำหนดไว้โดยเฉพาะตามความใน วรรคหนึ่ง ได้รับยกเว้นจากบทบังคับแห่งมาตรานี้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ การประกาศให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 11 ของใดซึ่งในเวลานำเข้าได้รับยกเว้นอากรโดยมี เงื่อนไขว่าจะต้องส่งกลับออกไปภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าภายในระยะ เวลาที่กำหนดนั้น ของนั้นได้โอนไปเป็นของบุคคลที่มีสิทธิได้รับยกเว้นอากร หากนำของนั้นเข้ามาเองหรือได้นำไปใช้ประโยชน์ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับ ยกเว้นอากรในการนำเข้าโดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะต้องส่งกลับออกไป ให้ของนั้น หลุดพ้นจากเงื่อนไขดังกล่าว แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับของที่ได้รับยกเว้นอากรเพราะนำเข้าโดยบุคคลที่มีสิทธิหรือเพราะ นำเข้าเพื่อใช้ประโยชน์ที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ให้ถือว่าของนั้นได้นำเข้า โดยผู้รับโอนหรือเพื่อใช้ประโยชน์ดังกล่าวตั้งแต่เวลาที่โอนหรือนำไปใช้ ประโยชน์นั้น

มาตรา 12 เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศหรือเพื่อ ความผาสุกของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศลดอัตรา อากรสำหรับของใด ๆ จากอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากร หรือยกเว้น อากรสำหรับของใด ๆ หรือเรียกเก็บอากรพิเศษเพิ่มขึ้นสำหรับของใด ๆ ไม่เกินร้อยละห้าสิบของอัตราอากรที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากรสำหรับ ของนั้น ทั้งนี้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ การประกาศ การยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงประกาศในวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 13 ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นว่า ของใดที่นำเข้ามาเป็นของที่ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศหรือบุคคลใด โดยวิธีอื่นนอกจากการคืนหรือชดเชยเงินค่าภาษีอากร อันก่อหรืออาจก่อให้ เกิดความเสียหายแก่การเกษตรหรือการอุตสาหกรรมในประเทศ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศ ให้เรียกเก็บอากรพิเศษแก่ของนั้นในอัตราตามที่เห็นสมควรนอกเหนือไปจาก อากรที่พึงต้องเสียตามปกติ แต่อากรพิเศษที่เรียกเก็บนี้จะต้องไม่เกินจำนวน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นว่าได้มีการช่วยเหลือดังกล่าวข้างต้น การประกาศ การยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงประกาศในวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 14* เพื่อปฏิบัติตามข้อผูกพันตามสัญญาหรือความตกลงระหว่าง ประเทศที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศยกเว้น ลดหรือ เพิ่มอากรจากอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากร หรือประกาศเรียกเก็บอากร ตามอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตราศุลกากร สำหรับของที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ ที่ร่วมลงนามหรือลักษณะตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือความตกลงดังกล่าว ทั้งนี้ จะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้ การประกาศ การยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา *

[มาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมฯ(ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2537]

มาตรา 15 อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราศุลกากร ท้ายพระราชกำหนดนี้โดยวิธีออกประกาศแจ้งพิกัดอัตราศุลกากร การตีความตามวรรคหนึ่ง มิให้มีผลย้อนหลัง การตีความให้ถือตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดนี้ ประกอบกับคำอธิบายพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ของ คณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากรที่จัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาว่าด้วยการจัดตั้ง คณะมนตรีความร่วมมือทางศุลกากร ซึ่งทำเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2493 และประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515

มาตรา 16 บรรดาบทกฎหมายที่ถูกยกเลิกตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดนี้ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บอากรที่ค้าง ชำระ หรือที่พึงชำระหรือในการคืนอากรก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ

มาตรา 17 บรรดาประกาศหรือคำสั่งที่ออกตามกฎหมายที่ถูกยกเลิก ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดนี้ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือ แย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชกำหนดนี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีประกาศหรือคำสั่งที่ ออกตามพระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ มาตรา 18 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตาม พระราชกำหนดนี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ป.ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี

_____________________________

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจาก พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนั้น ได้ ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้พิกัดอัตราศุลกากรท้ายพระราชกำหนดดังกล่าว ซึ่งนำมาจากระบบพิกัดศุลกากรซึ่งเรียกว่า CCCN ล้าสมัย ขาดรายละเอียด และความชัดแจ้ง ซึ่งเป็นผลเสียแก่การค้า การอุตสาหกรรมและการลงทุนของ ประเทศ สมควรปรับปรุงพระราชกำหนดดังกล่าวเสียใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับ สถานการณ์ปัจจุบัน โดยนำหลักการและโครงสร้างการจำแนกประเภทพิกัดสินค้า ซึ่งเรียกว่าระบบฮาร์โมไนซ์อันเป็นระบบที่ชัดแจ้งกว่ามาใช้แทน และเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษา ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

 ________________________________

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2537

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ ปัจจุบันการตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการกำหนดอัตราศุลกากรมีแนวโน้ม ที่จะเพิ่มมากขึ้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรให้ รัฐบาลสามารถยกเว้น ลดหรือเพิ่มอากรจากอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตรา ศุลกากร หรือประกาศเรียกเก็บอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดอัตรา ศุลกากรเพื่อรองรับพันธกรณีต่าง ๆ ที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกของ องค์การการค้าโลกหรือที่ประเทศไทยจะร่วมลงนามหรือเข้าเป็นสมาชิก ในอนาคต จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2537/62ก./3/28 ธันวาคม 2537]

« ย้อนกลับ |

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย