ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2541

หน้า 3

หมวด 3
คณาจารย์
 _______

มาตรา 26 คณาจารย์ประจำซึ่งสอนระดับปริญญาตรีในสถาบัน มีตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ (1) ศาสตราจารย์ (2) รองศาสตราจารย์ (3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (4) อาจารย์ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนคณาจารย์ประจำ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู

มาตรา 27 ศาสตราจารพิเศษนั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นอาจารย์พิเศษในวิชาที่ผู้นั้นมีความชำนาญเป็นพิเศษ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสถาบัน คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ให้เป็นไป ตามข้อบังคับของสถาบัน

มาตรา 28 คณะกรรมการสถาบันอาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติ เหมาะสม และมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของสถาบันเป็นรองศาตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ หรืออาจารย์พิเศษได้ คุณสมบัติ และหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งรองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของ สถาบัน

มาตรา 29 ศาสตราจารย์ซึ่งมีความรู้ความสามารถและความ ชำนาญเป็นพิเศษ และพ้นจากหน้าที่ในสถาบันไปโดยไม่มีความผิด คณะกรรมการ สถาบันอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณในวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความ เชี่ยวชาญได้ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งศาสตราจารย์เกียรติคุณ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน

มาตรา 30 ให้ผู้เป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ มีสิทธิใช้ตำแหน่งทางวิชาการ ดังกล่าว เป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป การใช้คำนำหน้านามตามความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้อักษรย่อ ดังนี้ ศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ศ. ศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ศ. (พิเศษ) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ใช้อักษรย่อ ศ. (เกียรติคุณ) รองศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ รศ. รองศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ รศ. (พิเศษ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ผศ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ผศ. (พิเศษ)

หมวด 4
ปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ
________

มาตรา 31 สถาบันมีอำนาจให้ปริญญาตรีในสาขาที่มีการสอนใน สถาบันได้ ปริญญาในสาขาวิชาใดจะเรียกชื่ออย่างไร และจะใช้อักษรย่อสำหรับ สาขานั้นอย่างไร ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 32 คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับกำหนดให้ ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับสองได้

มาตรา 33 คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มี อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรอย่างหนึ่งอย่างใดในสาขาวิชาที่มีการสอนใน สถาบันได้ ดังนี้

(1) อนุปริญญา ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในสาขาวิชา หนึ่งสาขาวิชาใดก่อนถึงขั้นได้รับปริญญาตรี
(2) ประกาศนียบัตร ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะวิชา

มาตรา 34 สถาบันมีอำนาจให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่บุคคลซึ่งสถาบัน เห็นว่าทรงคุณวุฒิสมควรแก่ปริญญานั้น แต่จะให้ปริญญาดังกล่าวแก่คณาจารย์ประจำ ของสถาบันหรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในสถาบัน หรือคณะกรรมการสถาบันในขณะ ดำรงตำแหน่งนั้นมิได้ สาขาของปริญญาและหลักเกณฑ์การให้ปริญญากิตติมศักดิ์ ให้เป็นไป ตามข้อบังคับของสถาบัน

มาตรา 35 คณะกรรมการสถาบันอาจกำหนดให้มีครุยวิทยฐานะหรือ เข็มวิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของผู้ได้รับปริญญา อนุปริญญา และ ประกาศนียบัตรได้ และอาจกำหนดให้มีครุยประจำตำแหน่งกรรมการสถาบัน ครุย ประจำตำแหน่งผู้บริหาร หรือครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์ของสถาบันได้

การกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยประจำ ตำแหน่ง ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ครุยประจำตำแหน่ง ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ จะใช้ใน โอกาสใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบัน

มาตรา 36 คณะกรรมการสถาบันอาจออกข้อบังคับให้มีเครื่องหมาย ของสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายนักศึกษาได้โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา

หมวด 5
บทกำหนดโทษ
 _________

มาตรา 37 ผู้ใดใช้ครุยประจำตำแหน่ง ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ เครื่องหมายของสถาบัน เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายนักศึกษา ของสถาบัน โดยไม่มีสิทธิที่จะใช้หรือแสดงด้วยประการใด ๆ ว่าตนมีตำแหน่งปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรของสถาบัน โดยที่ตนไม่มีสิทธิ ถ้าได้กระทำเพื่อให้ บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิจะใช้ หรือมีตำแหน่งหรือวิทยฐานะเช่นนั้น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล
________

มาตรา 38 ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบัน ตามมาตรา 11 ให้คณะกรรมการสถาบันประกอบด้วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการสถาบัน อธิบดีกรมอาชีวศึกษาเป็นรองประธานกรรมการสถาบัน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการ ครู ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัยเป็นกรรมการสถาบัน และผู้อำนวยการวิทยาลัยช่างกล ปทุมวันผู้ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นผู้รักษาราชการแทน อธิการ ทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสถาบัน ทั้งนี้ จนกว่า จะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อย แปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 39 บรรดาผู้ซึ่งได้รับประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง และประกาศนียบัตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ของวิทยาลัยช่างกลปทุมวันตาม หลักสูตรของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ ให้มีศักดิ์และสิทธิเท่ากับผู้ได้รับปริญญาตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี

_________________

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการ สมควรส่งเสริมการศึกษาวิชาการและผลิตบุคลากรผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสนองความต้องการของตลาดแรงงาน และ เป็นการขยายโอกาสสำหรับผู้สำเร็จอาชีวศึกษาในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพ เฉพาะทางระดับปริญญาตรีให้กว้างขวางขึ้นตลอดจนการถ่ายทอดและพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการนี้สมควรให้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

« ย้อนกลับ |

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย