ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี พ.ศ. 2533

หน้า 3

หมวด 3
ตำแหน่งทางวิชาการ
_______

มาตรา 39 คณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมีตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้

(1) ศาสตราจารย์
(2) รองศาสตราจารย์
(3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(4) อาจารย์

คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนคณาจารย์ประจำ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย

มาตรา 40 ศาสตราจารย์พิเศษนั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัยจากผู้ที่มิได้เป็นคณาจารย์ประจำของ มหาวิทยาลัย คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ให้เป็นไป ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา 41 สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม และมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย เป็นรองศาสตราจารย์พิเศษ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษได้โดยคำแนะนำของอธิการบดี อธิการบดีอาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมและมิได้เป็นคณาจารย์ ประจำของมหาวิทยาลัยเป็นอาจารย์พิเศษได้ โดยคำแนะนำของคณบดี ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งรองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไป ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา 42 ศาสตราจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญ เป็นพิเศษซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิดและทำคุณประโยชน์ให้กับ มหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณใน สาขาวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นเกียรติยศได้ คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา 43* ผู้ที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หรือได้รับ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ให้มีสิทธิใช้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นคำนำหน้านาม ได้ตลอดไป โดยใช้อักษรย่อ ดังนี้

ศาสตราจารย์ ใช้อักษณย่อ ศ.
ศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ศ. (พิเศษ)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ใช้อักษรย่อ ศ. (เกียรติคุณ)
รองศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ รศ.
รองศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ รศ. (พิเศษ)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ผศ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ผศ. (พิเศษ)*

[แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541]

หมวด 4
ปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ
 ____________

มาตรา 44 ปริญญามีสามชั้น คือ

เอก เรียกว่า ดุษฎีบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ด.
โท เรียกว่า มหาบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ม.
ตรี เรียกว่า บัณฑิต ใช้อักษรย่อ บ.

มาตรา 45 มหาวิทยาลัยมีอำนาจให้ปริญญาในสาขาวิชาที่มีการสอน ในมหาวิทยาลัย กำหนดให้สาขาวิชาใดมีปริญญาชั้นใด และจะใช้อักษรย่อสำหรับสาขา วิชานั้นอย่างไร ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 46 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับให้ผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นปริญญาตรีได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งหรือปริญญาตรีเกียรตินิยม อันดับสองก็ได้

มาตรา 47 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มี ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตรสำหรับสาขาวิชาใดได้ ดังนี้

(1) ประกาศนียบัตรบัณฑิต ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขา วิชาหนึ่งสาขาวิชาใดภายหลังที่ได้รับปริญญาแล้ว

(2) อนุปริญญา ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในสาขา วิชาหนึ่งสาขาวิชาใดก่อนถึงขั้นได้รับปริญญาตรี

(3) ประกาศนียบัตร ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะวิชา

มาตรา 48 มหาวิทยาลัยมีอำนาจให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่บุคคลซึ่งสภา มหาวิทยาลัยเห็นว่าทรงคุณวุฒิสมควรแก่ปริญญานั้น ๆ แต่จะให้ปริญญาดังกล่าว แก่คณาจารย์ประจำ หรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยหรือกรรมการ สภามหาวิทยาลัยมิได้ ชั้น สาขาของปริญญา และหลักเกณฑ์การให้ปริญญากิตติมศักดิ์ ให้เป็นไป ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา 49 มหาวิทยาลัยอาจกำหนดให้มีครุยวิทยฐานะหรือเข็ม วิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร บัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตร และอาจกำหนดให้มีครุยประจำตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัย หรือครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ การกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งจะใช้ในโอกาส ใดโดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา 50 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับให้มีเครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายนักศึกษาได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย