ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2522

หน้า 3

หมวด 3
ตำแหน่งทางวิชาการ
 _______

มาตรา 37 คณาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยมีตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้

(1) ศาสตราจารย์
(2) รองศาสตราจารย์
(3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(4) อาจารย์

มาตรา 38 คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอน คณาจารย์ประจำตามมาตรา 37 ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์นั้นจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งโดย คำแนะนำของสภามหาวิทยาลัย

มาตรา 39 อาจารย์ต้องได้รับปริญญาชั้นหนึ่งชั้นใด หรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง หรือมีความชำนาญในสาขาที่มีการสอนในมหาวิทยาลัย

มาตรา 40 อาจารย์พิเศษนั้น อธิการบดีจะได้แต่งตั้งขึ้นประจำปี การศึกษาแต่ละปีตามคำแนะนำของคณบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัย ผู้อำนวยการ สถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการศูนย์ หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่อ อย่างอื่น แล้วแต่กรณี จากผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมและมิได้เป็นคณาจารย์ ประจำในมหาวิทยาลัย อธิการบดีอาจเสนอแต่งตั้งอาจารย์พิเศษเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ หรือรองศาสตราจารย์พิเศษก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของ มหาวิทยาลัย

มาตรา 41 ศาสตราจารย์พิเศษนั้น จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัยจากผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นอาจารย์ พิเศษในวิชาที่ผู้นั้นมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ คุณสมบัติของผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ให้เป็นไป ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา 42 ศาสตราจารย์ซึ่งมีความรู้ความสามารถและมีความ ชำนาญเป็นพิเศษ และพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิด สภามหาวิทยาลัย อาจแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณได้ คุณสมบัติของผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

หมวด 4
ปริญญาและเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะ
 _______

มาตรา 43 ปริญญามีสามชั้น คือ

เอก เรียกว่า ดุษฎีบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ด.
โท เรียกว่า มหาบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ม.
ตรี เรียกว่า บัณฑิต ใช้อักษรย่อ บ.

มาตรา 44 มหาวิทยาลัยมีอำนาจให้ปริญญาในสาขาที่มีการสอน ในมหาวิทยาลัย การกำหนดให้สาขาวิชาใดมีปริญญาใด และจะใช้อักษรย่อสำหรับ สาขาวิชานั้นอย่างไร ให้ ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 45 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับให้ผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นปริญญาตรี ได้รับปริญญาเกียรตินิยมได้ มาตรา 46 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มี ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตร ได้ดังนี้

(1) ประกาศนียบัตรบัณฑิต ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาหนึ่ง สาขาวิชาใดภายหลังที่ได้รับปริญญาแล้ว

(2) อนุปริญญา ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในสาขาวิชาหนึ่ง สาขาวิชาใดก่อนถึงขั้นได้รับปริญญาตรี

(3) ประกาศนียบัตร ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรเฉพาะวิชา

มาตรา 47 มหาวิทยาลัยมีอำนาจให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ซึ่งสภา มหาวิทยาลัยเห็นว่าทรงคุณวุฒิสมควรแก่ปริญญานั้น แต่จะให้ปริญญาดังกล่าว แก่คณาจารย์ประจำหรือกรรมการสภามหาวิทยาลัยซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ใน วาระนั้นไม่ได้ ชั้น สาขาของปริญญา และหลักเกณฑ์การให้ปริญญากิตติมศักดิ์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา 48 มหาวิทยาลัยจะได้จัดให้มีครุยวิทยฐานะหรือเข็มวิทยฐานะ เป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร บัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตรก็ได้ การกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะ จะใช้ในโอกาสใด โดยมีเงื่อนไข อย่างใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

มาตรา 49 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มีเครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายนักศึกษาได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมวด 5
บทกำหนดโทษ
 _______

มาตรา 50 ผู้ใดใช้ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยไม่มีสิทธิ ที่จะใช้ หรือแสดงด้วยประการใด ๆ ว่าตนมีปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรของมหาวิทยาลัย โดยที่ตนไม่มี ถ้าได้กระทำ เพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิที่จะใช้หรือมีวิทยฐานะเช่นนั้น ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล
 _______

มาตรา 51 ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยและ กรรมการสภามหาวิทยาลัยอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา คงทำหน้าที่นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย ต่อไปจนกว่าจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีการเลือกตั้งกรรมการสภา มหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา 52 ให้ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีและรองอธิการบดีอยู่ใน วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงดำรงตำแหน่งต่อไป สำหรับอธิการบดีถ้ายังดำรงตำแหน่งไม่ครบสองปี นับแต่วันที่ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ให้คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนครบสองปี

มาตรา 53 ให้ผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้า ส่วนราชการที่เรียกชื่อย่างอื่น รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองของตำแหน่งดังกล่าว อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาคงดำรงตำแหน่งต่อไป สำหรับคณบดี หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ถ้ายังดำรงตำแหน่งไม่ครบสี่ปี นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งให้คงดำรงตำแหน่ง ต่อไปจนครบสี่ปี

มาตรา 54 การดำรงตำแหน่งของอธิการบดี คณบดี หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามมาตรา 52 และมาตรา 53 รวมทั้งวาระที่ได้เคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อเนื่องมาก่อนตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511 ให้ถือว่าเป็นการดำรงตำแหน่งตาม วาระตามมาตรา 19 มาตรา 26 มาตรา 27 หรือมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติ นี้แล้วแต่กรณี

มาตรา 55 ในคณะที่ไม่มีการแบ่งภาควิชาหรือมีแต่ไม่ถึงสี่ภาควิชา ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการประจำคณะและดำรงตำแหน่ง อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงทำหน้าที่กรรมการ ประจำคณะต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการประจำคณะขึ้นใหม่ตาม พระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ

มาตรา 56 ให้ผู้เป็นศาสตราจารย์ประจำ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติ นี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีฐานะเป็นศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 57 ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกา หรือออก ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ข้อบังคับ และระเบียบ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติ นี้ให้นำพระราชกฤษฎีกา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ข้อบังคับ และระเบียบที่ใช้อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 ส.โหตระกิตย์
รองนายกรัฐมนตรี

_____________________

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็นแหล่งของสถาบันอุดมศึกษา ในภาคใต้ได้เพิ่มขยายขึ้นเป็นอันมาก ทั้งในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาต่าง ๆ การค้นคว้า วิจัย และการบริการทางวิชาการแก่สังคม ตลอดจนภารกิจ อื่น ๆ ตามความต้องการของการพัฒนาประเทศ สมควรที่จะได้มีการปรับปรุง โครงสร้างและระบบบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อให้การบริหารการศึกษามีความ คล่องตัวและเหมาะสมกับสภาพการณ์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

_____________________

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ โดยที่เป็นการ สมควรกำหนดให้มหาวิทยาลัยสามารถนำรายได้ของมหาวิทยาลัยไปใช้ใน กิจการของมหาวิทยาลัยได้โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และให้ มหาวิทยาลัยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือได้มา โดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของมหาวิทยาลัยโดยไม่ถือเป็น ที่ราชพัสดุเพื่อความคล่องตัวในการบริหารกิจการของมหาวิทยาลัยและ การจัดหาประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยหรือที่มหาวิทยาลัย ปกครอง ดูแล หรือใช้ประโยชน์ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

[รก.2541/6ก/9/17 กุมภาพันธ์ 2541]

« ย้อนกลับ |

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย