ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

พระราชบัญญัติ การจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2541

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.

ให้ไว้ ณ วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2541
เป็นปีที่ 53 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับ ปริญญาตรีในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการจัดการ ศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2541"

มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2541/79ก/1/2 พฤศจิกายน 2541]

มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ "สถาบัน" หมายความว่า สถาบันเทคโนโลยีปทุมวันในสังกัด กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ "คณะกรรมการสถาบัน" หมายความว่า คณะกรรมการสถาบัน เทคโนโลยีปทุมวัน

มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด 1
บททั่วไป
 _______

มาตรา 5 ให้สถาบันมีอำนาจจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาตรา 6 การจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกสำนักงานอธิการคณะ หรือภาควิชา หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือ ภาควิชา ให้ทำเป็นประกาศกระทรวงศึกษาธิการ การจัดระบบบริหารงานในสำนักงานอธิการ คณะหรือภาควิชา หรือ หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับของสถาบัน

มาตรา 7 ให้กระทรวงศึกษาธิการจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่ กรมอาชีวศึกษาตามที่เห็นสมควรเพื่อดำเนินกิจการของสถาบัน นอกจากเงินงบประมาณตามวรรคหนึ่ง สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษา อาจมีรายได้ ดังนี้

(1) เงินผลประโยชน์ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ที่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาได้รับจากการดำเนินกิจการของสถาบัน
(2) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการใช้ที่ราชพัสดุที่กรม อาชีวศึกษา ปกครอง ดูแล หรือใช้ประโยชน์เพื่อการดำเนินกิจการของสถาบัน
(3) เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของสถาบัน
(4) เงินอุดหนุนจากราชการส่วนท้องถิ่น หรือเงินอุดหนุนอื่น ที่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาได้รับเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของสถาบัน
(5) รายได้หรือผลประโยชน์อื่น ให้กรมอาชีวศึกษามีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกรมอาชีวศึกษาที่มีไว้เพื่อการดำเนินกิจการ ของสถาบัน ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่น ของสถาบัน รายได้รวมทั้งเบี้ยปรับที่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาได้รับจากการ ดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของสถาบัน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวง การคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เว้นแต่เบี้ยปรับที่เกิดจากการผิดสัญญาลาศึกษาหรือเบี้ยปรับที่เกิดจากการผิด สัญญาซื้อทรัพย์สินหรือสัญญาจ้างทำของที่ดำเนินการโดยใช้เงินงบประมาณ

มาตรา 8 บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่กรมอาชีวศึกษาได้มาโดยมี ผู้ยกให้แก่กรมอาชีวศึกษาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของสถาบัน หรือได้มา โดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่กรมอาชีวศึกษา เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบันตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมอาชีวศึกษา

มาตรา 9 บรรดารายได้และทรัพย์สินที่สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษา ได้มาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบัน หรือได้มาเนื่องจากการ ดำเนินกิจการของสถาบัน สถาบันหรือกรมอาชีวศึกษาจะต้องจัดสรรเพื่อประโยชน์ ในการดำเนินกิจการของสถาบัน การจัดสรรรายได้และทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ให้อยู่ภายในขอบ แห่งวัตถุประสงค์ของสถาบันและเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้กำหนดไว้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับของสถาบัน

มาตรา 10 การจัดการรายได้และทรัพย์สินที่สถาบันได้รับจัดสรร ตามมาตรา 9 ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสถาบันและตามเงื่อนไขที่ผู้อุทิศให้ กำหนดไว้

| หน้าถัดไป »

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย