ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2541
หน้า 3
หมวด 3
ตำแหน่งทางวิชาการ
_______
(1) ศาสตราจารย์
(2) รองศาสตราจารย์
(3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(4) อาจารย์ คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนคณาจารย์ประจำ
ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย
มาตรา 44 ศาสตราจารย์พิเศษนั้นจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัยจากผู้ซึ่งมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของ มหาวิทยาลัย คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ให้เป็นไป ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 45 สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม และมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยเป็นรองศาสตราจารย์พิเศษและผู้ช่วย ศาสตราจารย์พิเศษได้โดยคำแนะนำของอธิการบดี อธิการบดีอาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมและมิได้เป็นคณาจารย์ ประจำของมหาวิทยาลัยเป็นอาจารย์พิเศษได้โดยคำแนะนำของคณบดี ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ แล้วแต่กรณี คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งรองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 46 ศาสตราจารย์ซึ่งมีความรู้ความสามารถและความชำนาญ เป็นพิเศษและพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิด สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งให้ เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณในสาขาวิชาที่ศาสตราจารย์ผู้นั้นมีความเชี่ยวชาญเพื่อ เป็นเกียรติยศได้ คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งศาสตราจารย์เกียรติคุณ ให้เป็น ไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 47 ให้ผู้เป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ มีสิทธิใช้ชื่อศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ แล้วแต่กรณี เป็นคำนำหน้านามเพื่อแสดงวิทยฐานะได้ตลอดไป การใช้คำนำหน้านามตามความในวรรคหนึ่ง ให้ใช้อักษรย่อดังนี้
ศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ศ.
ศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ศ. (พิเศษ)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ใช้อักษรย่อ ศ. (เกียรติคุณ)
รองศาสตราจารย ใช้อักษรย่อ รศ.
รองศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ รศ. (พิเศษ)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ผศ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ผศ. (พิเศษ)
หมวด 4
ปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ
________
มาตรา 49 มหาวิทยาลัยมีอำนาจให้ปริญญาในสาขาวิชาที่มีการสอน ในมหาวิทยาลัย
การกำหนดให้สาขาวิชาใดมีปริญญาชั้นใด และจะใช้อักษรย่อสำหรับ สาขาวิชานั้นอย่างไร ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 50 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับให้ผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นปริญญาตรีได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง หรือปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ สองได้ มาตรา 51 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับให้มีประกาศนียบัตร บัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตร สำหรับสาขาวิชาใดได้ ดังนี้
(1) ประกาศนียบัตรบัณฑิต ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขา วิชาใดสาขาวิชาหนึ่งภายหลังที่ได้รับปริญญาแล้ว
(2) อนุปริญญา ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในสาขา วิชาหนึ่งสาขาวิชาใดก่อนถึงขั้นได้รับปริญญาตรี (3) ประกาศนียบัตร ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะวิชา
มาตรา 52 มหาวิทยาลัยมีอำนาจให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่บุคคลซึ่ง สภามหาวิทยาลัยเห็นว่าทรงคุณวุฒิสมควรแก่ปริญญานั้น ๆ แต่จะให้ปริญญาดังกล่าว แก่คณาจารย์ประจำ หรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย หรือกรรมการ สภามหาวิทยาลัยในขณะที่ดำรงตำแหน่งนั้นมิได้ ชั้น สาขาของปริญญากิตติมศักดิ์ และหลักเกณฑ์การให้ปริญญากิตติมศักดิ์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 53 มหาวิทยาลัยอาจกำหนดให้มีครุยวิทยฐานะหรือเข็ม วิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตร และอาจกำหนดให้มีครุยประจำตำแหน่งนายกสภา มหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครุยประจำตำแหน่งผู้บริหาร และ ครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ การกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งจะใช้ในโอกาสใด โดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 54 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับให้มีเครื่องแบบ เครื่องหมาย และเครื่องแต่งกายนักศึกษาได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด 5
บทกำหนดโทษ
_______
มาตรา 55 ผู้ใดใช้ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจำตำแหน่ง เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายนักศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยไม่มีสิทธิ ที่จะใช้ หรือแสดงด้วยประการใด ๆ ว่าตนมีตำแหน่ง ปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรของมหาวิทยาลัย โดยที่ตนไม่มี ถ้าได้กระทำเพื่อให้ บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิจะใช้หรือมีตำแหน่งหรือมีวิทยฐานะเช่นนั้น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
______
มาตรา 57 ให้ผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนวยการสำนัก หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มี ฐานะเทียบเท่าคณะหรือภาควิชาของมหาวิทยาลัยอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา รักษาการในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ดำรง ตำแหน่งดังกล่าวขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งรองหรือผู้ช่วยของผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่า ผู้ดำรงตำแหน่งตามวรรคหนึ่งจะพ้นจากตำแหน่ง
มาตรา 58 การนับวาระการดำรงตำแหน่งของอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะ เทียบเท่าคณะหรือภาควิชา ให้นับวาระการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นวาระแรก
มาตรา 59 ให้ผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและกรรมการใน คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย คณะกรรมการประจำคณะ คณะกรรมการประจำ สถาบัน และคณะกรรมการประจำสำนักของมหาวิทยาลัยอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะได้มีคณะกรรมการประจำ บัณฑิตวิทยาลัย คณะกรรมการประจำคณะ คณะกรรมการประจำสถาบัน และ คณะกรรมการประจำสำนักตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 60 ให้คณาจารย์ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ รอง ศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ศาสตราจารย์พิเศษ และศาสตราจารย์ เกียรติคุณของมหาวิทยาลัยอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รอง ศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยต่อไป ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยต่อไปตามพระราช บัญญัตินี้จนครบกำหนดเวลาที่ได้รับแต่งตั้ง
มาตรา 61 ให้ผู้ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูงตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรบัณฑิตตาม พระราชบัญญัตินี้
มาตรา 62 ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกา ประกาศทบวง มหาวิทยาลัย ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำ พระราชกฤษฎีกา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ระเบียบ และข้อบังคับซึ่งออกตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 ที่ใช้ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
_______________________________
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ โดยที่มหาวิทยาลัย รามคำแหงซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2514 มีขอบเขตในการให้การศึกษาและอำนาจหน้าที่อย่างจำกัดไม่สอดคล้องกับการ ดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันที่ได้เพิ่มขยายภารกิจในการตอบสนองความ ต้องการของสังคมมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาต่าง ๆ ตลอดจน การค้นคว้า การวิจัย และการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และภารกิจด้านอื่น ๆ สมควรปรับปรุงโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และระบบบริหารงานของมหาวิทยาลัย รามคำแหงเสียใหม่ เพื่อให้สามารถรองรับการขยายงานและการจัดการศึกษาของ มหาวิทยาลัย และมีความคล่องตัวในการดำเนินงานในด้านวิชาการและการบริหาร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
« ย้อนกลับ |