ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2540
เป็นปีที่ 52 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540"
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[รก.2540/51ก/4/1 ตุลาคม 2540]
มาตรา 3 บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติ ไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้ พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ "มหาวิทยาลัย" หมายความว่า มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
"สภามหาวิทยาลัย" หมายความว่า สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย
"สภาวิชาการ" หมายความว่า สภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย
"วิทยาเขต" หมายความว่า เขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่มีคณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ วิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า คณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ หรือวิทยาลัย ตั้งแต่สองส่วนงานขึ้นไปตั้งอยู่ในเขตนั้น ตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้
หมวด 1
การจัดตั้ง วัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่
_________
มาตรา 7 ให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ
มาตรา 8 มหาวิทยาลัยอาจแบ่งส่วนงานดังนี้
(1) สำนักงานอธิการบดี
(2) สำนักงานวิทยาเขต
(3) บัณฑิตวิทยาลัย
(4) คณะ
(5) สถาบัน
(6) สำนัก
(7) ศูนย์
(8) วิทยาลัย
มหาวิทยาลัยอาจให้มีหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า คณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ หรือวิทยาลัย เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุ ไว้ในมาตรา 6 เป็นส่วนงานในมหาวิทยาลัยอีกได้ สำนักงานอธิการบดีและสำนักงานวิทยาเขต อาจแบ่งส่วนงานเป็นกอง หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัณฑิตวิทยาลัย อาจแบ่งส่วนงานเป็นสำนักงานคณบดี กอง หรือหน่วยงาน ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง คณะ หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ อาจแบ่ง ส่วนงานเป็นสำนักงานคณบดี ภาควิชา กอง หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มี ฐานะเทียบเท่าภาควิชาหรือกอง สถาบัน สำนัก ศูนย์ วิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเทียบเท่าสถาบัน สำนัก ศูนย์ หรือวิทยาลัย อาจแบ่งส่วนงานเป็น สำนักงานบริหาร กอง หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
มาตรา 9 การจัดตั้ง การรวม และการยุบเลิกสำนักงานวิทยาเขต บัณฑิตวิทยาลัย คณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ วิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เรียกชื่อ อย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ สถาบัน สำนัก ศูนย์ หรือวิทยาลัย ให้ทำเป็น ข้อกำหนดของมหาวิทยาลัยโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา การแบ่งส่วนงานเป็นกอง สำนักงานคณบดี ภาควิชา สำนักงานบริหาร หรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าส่วนงานดังกล่าว ให้ทำเป็น ประกาศของมหาวิทยาลัยโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 10 ภายใต้วัตถุประสงค์ตามมาตรา 6 มหาวิทยาลัยจะรับ สถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันวิจัยด้านพระพุทธศาสนาเข้าสมทบในมหาวิทยาลัย ก็ได้ และมีอำนาจให้ปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรชั้นใดชั้นหนึ่ง แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันวิจัยด้านพระพุทธศาสนา นั้นได้ การรับเข้าสมทบหรือยกเลิกการสมทบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และให้ทำเป็นประกาศของมหาวิทยาลัยโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา การควบคุมสถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันวิจัยด้านพระพุทธศาสนา ที่รับเข้าสมทบตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 11 กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกัน สังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่ผู้ปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยต้องได้รับ ประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจค้ำประกันหนี้เงินกู้ หรือหนี้ใด ๆ ของ มหาวิทยาลัยได้เสมือนมหาวิทยาลัยเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการให้ อำนาจกระทรวงการคลังในการค้ำประกัน
มาตรา 12 มหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่กระทำการต่าง ๆ ภายใน วัตถุประสงค์ตามที่กำหนดในมาตรา 6 และอำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง
(1) ซื้อ สร้าง จัดหา โอน รับโอน เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน
ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง หรือมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ ในทรัพย์สิน
และจำหน่ายสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุดหนุนหรืออุทิศให้
การจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัย
ให้กระทำได้เฉพาะอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาตามมาตรา 13 วรรคสาม ซึ่งมี
วัตถุประสงค์ให้จำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนได้
(2) รับค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน เบี้ยปรับ และค่าบริการ
ในการให้บริการภายในอำนาจและหน้าที่ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งทำความตกลง
และกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าตอบแทนและค่าบริการนั้น
(3) ร่วมมือกับหน่วยงานอื่นไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือของเอกชนใน
กิจการที่เกี่ยวกับการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนา แก่สังคม
และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
(4) กู้ยืมเงิน ให้กู้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือทรัพย์สิน หรือลงทุน
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย ที่กำหนดในมาตรา
6
(5) ร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานต่างประเทศหรือระหว่างประเทศ
ในกิจการที่เกี่ยวกับการสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการพระพุทธศาสนา แก่สังคม
และการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
(6) จัดให้มีทุนการศึกษาและทุนการวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ
มาตรา 13 รายได้ของมหาวิทยาลัยมีดังนี้
(1) เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี
(2) เงินอุดหนุนและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย
(3) เงินอุดหนุนจากศาสนสมบัติกลาง เงินผลประโยชน์ ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน
เบี้ยปรับ และค่าบริการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
(4) รายได้หรือผลประโยชน์ที่ได้มาจากการลงทุนและจากทรัพย์สิน ของมหาวิทยาลัย
(5) รายได้หรือผลประโยชน์อย่างอื่น เงินอุดหนุนทั่วไปตาม (1) นั้น
รัฐบาลพึงจัดสรรให้แก่มหาวิทยาลัย โดยตรง โดยการเสนอแนะของกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นจำนวนที่เพียงพอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย
ที่กำหนดในมาตรา 6
ให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือซื้อด้วย เงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยเป็น กรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย ให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และ จัดหาประโยชน์จากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง ตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ในกรณีรายได้มีจำนวนไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ของมหาวิทยาลัยและค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม และมหาวิทยาลัยไม่สามารถ หาเงินจากแหล่งอื่นได้ รัฐบาลพึงจัดสรรเงินงบประมาณแผ่นดินให้แก่มหาวิทยาลัย เท่าจำนวนที่จำเป็น
มาตรา 14 ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการ บังคับคดี และบุคคลใดจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่อง ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยมิได้
มาตรา 15 บรรดารายได้และทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยจะต้อง จัดการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยตามที่กำหนดในมาตรา 6 หรือ ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งผู้อุทิศทรัพย์สินให้แก่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้
มาตรา 16 ภายใต้บังคับของมาตรา 12 (1) กรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัยจะจำหน่ายหรือโอนได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ
| หน้าถัดไป »