ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2533
หน้า 3
หมวด 3
ตำแหน่งทางวิชาการ
_______
(1) ศาสตราจารย์
(2) รองศาสตราจารย์
(3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
(4) อาจารย์ คุณสมบัติ
หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนคณาจารย์ประจำ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนใน มหาวิทยาลัย
มาตรา 39 ศาสตราจารย์พิเศษนั้นจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งโดยคำแนะนำของสภามหาวิทยาลัยจากผู้ที่มิได้เป็นคณาจารย์ประจำ ของมหาวิทยาลัย คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ ให้เป็นไป ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 40 สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสม และมิได้เป็นคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัย เป็นรองศาสตราจารย์พิเศษ และผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษได้ โดยคำแนะนำของอธิการบดี อธิการบดีอาจแต่งตั้งผู้ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมและมิได้เป็นคณาจารย์ ประจำของมหาวิทยาลัยเป็นอาจารย์พิเศษได้โดยคำแนะนำของคณบดี ผู้อำนวยการ หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งรองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์พิเศษ และอาจารย์พิเศษตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไป ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 41 ศาสตราจารย์ที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญ เป็นพิเศษซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปโดยไม่มีความผิดและทำคุณประโยชน์ให้กับ มหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยอาจแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณใน สาขาวิชาที่ศาสตราจารย์นั้นมีความเชี่ยวชาญเพื่อเป็นเกียรติยศได้ คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ ให้ เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 42 ผู้ที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง หรือได้รับ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ให้มีสิทธิใช้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นคำนำหน้านามได้ โดยใช้อักษรย่อดังนี้
ศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ศ.
ศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ศ. (พิเศษ)
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ใช้อักษรย่อ ศ. (เกียรติคุณ)
รองศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ รศ.
รองศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ รศ. (พิเศษ)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใช้อักษรย่อ ผศ.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ใช้อักษรย่อ ผศ. (พิเศษ)
หมวด 4
ปริญญาและเครื่องหมายวิทยฐานะ
_______
มาตรา 43 ปริญญามีสามชั้น คือ
เอก เรียกว่า ดุษฎีบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ด.โท เรียกว่า มหาบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ม.
ตรี เรียกว่า บัณฑิต ใช้อักษรย่อ บ.
มาตรา 44 มหาวิทยาลัยมีอำนาจให้ปริญญาในสาขาวิชาที่มีการสอน ในมหาวิทยาลัย การกำหนดให้สาขาวิชาใดมีปริญญาชั้นใด และจะใช้อักษรย่อสำหรับ สาขาวิชานั้นอย่างไร ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา 45 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับให้ผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นปริญญาตรีได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่งหรือปริญญาตรีเกียรตินิยม อันดับสองก็ได้
มาตรา 46 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับกำหนดให้มี ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตรสำหรับสาขาวิชาใดได้ ดังนี้
(1) ประกาศนียบัตรบัณฑิต ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในสาขา วิชาหนึ่งสาขาวิชาใดภายหลังที่ได้รับปริญญาแล้ว
(2) อนุปริญญา ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรในสาขา วิชาหนึ่งสาขาวิชาใดก่อนถึงขั้นได้รับปริญญาตรี
(3) ประกาศนียบัตร ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะวิชา
มาตรา 47 มหาวิทยาลัยมีอำนาจให้ปริญญากิตติมศักดิ์แก่บุคคลซึ่ง สภามหาวิทยาลัยเห็นว่าทรงคุณวุฒิสมควรแก่ปริญญานั้น ๆ แต่จะให้ปริญญา ดังกล่าวแก่คณาจารย์ประจำ หรือผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย หรือกรรมการสภามหาวิทยาลัยมิได้ ชั้น สาขาของปริญญา และหลักเกณฑ์การให้ปริญญากิตติมศักดิ์ ให้ เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 48 มหาวิทยาลัยอาจกำหนดให้มีครุยวิทยฐานะหรือเข็ม วิทยฐานะเป็นเครื่องหมายแสดงวิทยฐานะของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตร บัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตร และอาจกำหนดให้มีครุยประจำตำแหน่ง กรรมการสภามหาวิทยาลัยหรือครุยประจำตำแหน่งคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้ การกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งจะใช้ในโอกาส ใดโดยมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
มาตรา 49 สภามหาวิทยาลัยอาจออกข้อบังคับให้มีเครื่องแบบ เครื่องหมาย และเครื่องแต่งกายนิสิตได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
หมวด 5 บทกำหนดโทษ ______
มาตรา 50 ผู้ใดใช้ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ ครุยประจำตำแหน่ง เครื่องแบบ เครื่องหมาย หรือเครื่องแต่งกายนิสิตของมหาวิทยาลัยโดยไม่มีสิทธิ ที่จะใช้ หรือแสดงด้วยประการใด ๆ ว่าตนมีปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา ประกาศนียบัตร หรือตำแหน่งของมหาวิทยาลัยโดยที่ตนไม่มีสิทธิ ถ้าได้กระทำเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิจะใช้ หรือมีวิทยฐานะหรือตำแหน่ง เช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
_______
มาตรา 52 คณะ กองธุรการวิทยาเขต และส่วนราชการอื่น ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ตามพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้คงอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้ตราพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งส่วนราชการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 53 ให้รองอธิการบดีซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบ การบริหารงานของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก อยู่ใน วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา รักษาการในตำแหน่ง อธิการบดีจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีขึ้นใหม่ตาม มาตรา 18 ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ
มาตรา 54 ในระยะเริ่มแรก ให้สภามหาวิทยาลัยประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย ปลัดทบวง มหาวิทยาลัยเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก จำนวนไม่เกินสี่คน ผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีว่าการทบวง มหาวิทยาลัยแต่งตั้งอีกจำนวนสามคน เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย และ ผู้รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นกรรมการและ เลขานุการสภามหาวิทยาลัย ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีสภามหาวิทยาลัยตาม พระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ
มาตรา 55 ให้รองคณบดี รองผู้อำนวยการ และหัวหน้าภาควิชา ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ใน วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา รักษาการในตำแหน่งคณบดี ผู้อำนวยการ และหัวหน้าภาควิชาจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่ง คณบดี ผู้อำนวยการ และหัวหน้าภาควิชาตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 56 การนับวาระการดำรงตำแหน่งของอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ และหัวหน้าภาควิชา ให้นับวาระการดำรงตำแหน่งตามพระราช บัญญัตินี้เป็นวาระแรก
มาตรา 57 ให้ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ประจำ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ ประจำ หรืออาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 อยู่ในวันที่ พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นศาสตราจารย์ประจำ ศาสตราจารย์พิเศษ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ อาจารย์ประจำ หรืออาจารย์พิเศษต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 58 ในระหว่างที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกา ประกาศทบวง มหาวิทยาลัย ระเบียบ และข้อบังคับเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำ พระราชกฤษฎีกา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ระเบียบ และข้อบังคับซึ่งออกตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ที่ใช้อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
________________
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังขาดแคลนบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อกระจายการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ส่วนภูมิภาค และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในภูมิภาคเขตภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดต่าง ๆ 9 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี ที่มีสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศิลปวัฒนธรรมแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ และเพื่อให้ เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูง โดยจะสามารถผลิตบุคลากรระดับ ปริญญาสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและของประเทศ อย่างเร่งด่วน ในการนี้เห็นสมควรจัดตั้งมหาวิทยาลัยนเรศวรขึ้น จึงจำเป็น ต้องตราพระราชบัญญัตินี้
_________________
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
มาตรา 9 บทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่มหาวิทยาลัยได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของมหาวิทยาลัยก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ คือ เนื่องจากได้มี มติคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นหลักการให้มหาวิทยาลัยนำรายได้ของมหาวิทยาลัย ไปใช้ในกิจการของมหาวิทยาลัยได้ โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน และให้มหาวิทยาลัยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมีผู้อุทิศให้หรือ ได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของมหาวิทยาลัย โดยไม่ถือเป็น ที่ราชพัสดุ สมควรกำหนดหลักการดังกล่าวไว้ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย นเรศวร พ.ศ. 2533 ให้ชัดเจน เพื่อความคล่องตัวในการบริหารกิจการ ของมหาวิทยาลัยและการจัดหาประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของมหาวิทยาลัย หรือที่มหาวิทยาลัยปกครอง ดูแล หรือใช้ประโยช์ และสมควรปรับปรุงคุณสมบัติ ของผู้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี และ รองคณบดี เพื่อให้สามารถสรรหาบุคคลที่เหมาะสมในการแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งดังกล่าวได้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
« ย้อนกลับ |