ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. 2542
หน้า 4
หมวด 3
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
_______
มาตรา 40 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ กิจการทั่วไปของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) รับผิดชอบงานธุรการของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(2) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภา
(3) เผยแพร่วิชาการและให้ความรู้และการศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับสิทธิที่จะ
ร้องเรียนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(4) ปฏิบัติการอื่นตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามอบหมาย
มาตรา 41 ในการกำกับดูแลสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ให้ผู้ตรวจ การแผ่นดินของรัฐสภามีอำนาจออกระเบียบหรือประกาศเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงาน บุคคล การงบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน และดำเนินการอื่นในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) การจัดแบ่งส่วนงานของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาและขอบเขต หน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว
(2) การกำหนดตำแหน่ง อัตราเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นของเลขาธิการ รองเลขาธิการ พนักงาน และลูกจ้างของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(3) การคัดเลือก การบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน วินัย และการลงโทษทางวินัย การออกจากตำแหน่ง การร้องทุกข์ และการอุทธรณ์การลงโทษ สำหรับเลขาธิการ รองเลขาธิการ และพนักงานของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา รวมทั้งวิธีการ และเงื่อนไขในการจ้าง ลูกจ้างของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(4) การคัดเลือก การกำหนดอัตราค่าจ้างหรือค่าตอบแทน ตลอดจนการกำหนด เงินเพิ่มพิเศษให้แก่ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้าง ซึ่งมาปฏิบัติงานเป็นพนักงานของสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 46
(5) การบริหารและจัดการการเงินและทรัพย์สินของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ของรัฐสภา
(6) การจัดสวัสดิการหรือการสงเคราะห์อื่นแก่เลขาธิการ รองเลขาธิการ พนักงาน หรือลูกจ้างของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา 42 ให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีเลขาธิการคนหนึ่ง ซึ่ง แต่งตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและ ลูกจ้างของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และรับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขึ้นตรงต่อผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และจะให้มีรองเลขาธิการ เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติงานรองจากเลขาธิการก็ได้
มาตรา 43 เลขาธิการต้องเป็นผู้มีความเป็นกลางทางการเมือง มีความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และมีคุณวุฒิ ประสบการณ์และความสำเร็จในการบริหารตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภากำหนด เลขาธิการมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง และอาจได้รับ แต่งตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา 44 เลขาธิการมีหน้าที่ควบคุมดูแลงานโดยทั่วไปของสำนักงานผู้ตรวจการ แผ่นดินของรัฐสภา ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และมติของผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภา และให้มีอำนาจ ดังนี้
(1) บรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อน ลดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยพนักงาน หรือลูกจ้างของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตลอดจนให้พนักงานหรือลูกจ้างของ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาออกจากตำแหน่ง
(2) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพนักงานหรือลูกจ้างในสำนักงาน ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้าง ซึ่งมาปฏิบัติงานเป็น พนักงานในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(3) วางระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภากำหนด และ เท่าที่ไม่ขัดกับระเบียบหรือประกาศ หรือมติของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
มาตรา 45 ในกิจการของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาที่เกี่ยวกับบุคคล ภายนอกให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อการนี้เลขาธิการ จะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบที่ผู้ตรวจการ แผ่นดินของรัฐสภากำหนด ระเบียบที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภากำหนดตามวรรคหนึ่ง ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 46 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอาจขอให้ข้าราชการ พนักงานหรือ ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น มาปฏิบัติงานเป็นพนักงานหรือลูกจ้างในสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นการชั่วคราว ได้ ทั้งนี้ เมื่อได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นแล้วแต่กรณี ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างผู้ใดได้รับอนุมัติให้มาปฏิบัติงานเป็นพนักงาน ของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตให้ออก จากราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างที่มาปฏิบัติงานในสำนักงานผู้ตรวจการ แผ่นดินของรัฐสภา สำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ แล้วแต่กรณี
มาตรา 47 ในกรณีที่ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างตามมาตรา 46 ขอกลับเข้ารับ ราชการหรือปฏิบัติงานในสังกัดเดิมภายในกำหนดเวลาที่อนุมัติ ให้ผู้มีอำนาจบรรจุและแต่งตั้งสั่งบรรจุ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและรับเงินเดือนเหมือนกรณีข้าราชการผู้ซึ่งได้รับอนุมัติให้ออกจาก ราชการไปปฏิบัติงานใด ๆ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นสำหรับการคำนวณบำเหน็จบำนาญเหมือนเต็ม เวลาราชการเพื่อขอกลับเข้ารับราชการ หรือตามข้อตกลงที่ทำไว้ในการอนุมัติตามมาตรา 46 แล้วแต่ กรณี
มาตรา 48 ให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเสนองบประมาณรายจ่ายต่อ คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนของ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาและสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ไว้ในร่างพระราช บัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ในการนี้ คณะรัฐมนตรีอาจนำความเห็นเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณของสำนักงานผู้ตรวจการ แผ่นดินของรัฐสภารวมไว้ในรายงานการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมด้วยก็ได้
มาตรา 49 ให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุง รักษาทรัพย์สินของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ทรัพย์สินของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
มาตรา 50 ให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาจัดทำงบดุล งบการเงินและ บัญชีแล้วส่งผู้สอบบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ของรัฐสภาและให้ทำการตรวจสอบ รับรองบัญชีและการเงินทุกประเภท รวมทั้งประเมินผลการ ใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา โดยแสดงให้เห็นด้วยว่าการ ใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ประหยัด และได้ผลตามเป้าหมายเพียงใด แล้วทำรายงาน เสนอผลการสอบบัญชีต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรีโดยไม่ชักช้า
หมวด 4
บทกำหนดโทษ
________
มาตรา 52 ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 27 (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 53 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
_________
(1) ให้สภาผู้แทนราษฎรดำเนินการให้มีการสรรหาและเลือกผู้สมควรได้รับการ เสนอชื่อเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามมาตรา 6 ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ
(2) ให้วุฒิสภาดำเนินการให้มีการเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามมาตรา 6 (4) และ (5) ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ตรวจการ แผ่นดินของรัฐสภาจากประธานสภาผู้แทนราษฎร กำหนดวันตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงวันในสมัยประชุม
มาตรา 55 ในวาระเริ่มแรก ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาที่ได้รับเลือกตาม มาตรา 54 มีวาระการดำรงตำแหน่งสามปีนับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และมิให้นำความ ในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาที่ได้รับเลือกตามมาตรา 54 และพ้นจากตำแหน่ง ตามวาระในวรรคหนึ่ง หรือพ้นจากตำแหน่งในกรณีอื่นก่อนครบวาระตามมาตรา 13 อาจได้รับเลือก และแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาได้อีก และมิให้นำความในมาตรา 9 วรรคหนึ่ง และมาตรา 11 (4) มาใช้บังคับ ให้นำความในมาตรา 9 มาใช้บังคับกับผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาที่ได้รับเลือก และแต่งตั้งเป็นคราวที่สองตามวรรคสองด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 56 ให้จัดตั้งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญนี้ขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ในระหว่างที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเป็นหน่วยธุรการของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และ มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้สำหรับสำนักงานของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาโดยให้ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
____________
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือ โดยที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้มีผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา และให้มีการ กำหนดคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การสรรหา และการเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
« ย้อนกลับ |