ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ การสวนครัว และการเลี้ยงสัตว์ เพื่อประโยชน์แห่งครัวเรือน พุทธศักราช 2482
ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร
ลงวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480)
อาทิตย์ทิพอาภา
พล.อ. เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน
ตราไว้ ณ วันที่ 20 ตุลาคม พุทธศักราช 2482
เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรส่งเสริมการสวนครัว และ การเลี้ยงสัตว์ เพื่อประโยชน์แห่งครัวเรือน จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำ และยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการสวนครัว และการเลี้ยงสัตว์ เพื่อประโยชน์แห่งครัวเรือน พุทธศักราช 2482" มาตรา 2* ให้ใช้พระราชบัญญัติตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2482/-/1323/26 ตุลาคม 2482] มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ "เจ้าบ้าน" หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการครอบครองที่ดินใน ฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใด เมื่อเจ้าบ้านไม่อยู่ ให้ผู้ที่ดูแลรักษาที่ดินอยู่ตามความจริงมีหน้าที่ ของเจ้าบ้านตามพระราชบัญญัตินี้ "ที่ดิน" หมายความว่า ที่ดินที่อยู่นอกเขตเทศบาลนคร หรือเทศบาล เมืองซึ่งเป็นที่ดินของเอกชน
"สวนครัว" หมายความว่า สวนผักต่าง ๆ หรือพืชผลบางชนิด ที่สำหรับใช้ในการทำครัว และบริโภคในครัวเรือนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง "การเลี้ยงสัตว์" หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ที่สำหรับใช้ ในการบริโภค หรือขายเป็นรายได้เพิ่มเติมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่รักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า กรมการจังหวัด กรมการ อำเภอ และบุคคลซึ่งรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น มาตรา 4 เจ้าบ้านมีหน้าที่จัดทำการสวนครัว และการเลี้ยงสัตว์ บนที่ดินที่ตนอาศัยอยู่ตามชนิดที่กรมการอำเภอในเขตนั้นกำหนดไว้ และให้ มีปริมาณพอเพียงแก่การช่วยเหลือการใช้จ่ายในครัวเรือน มาตรา 5 ให้คณะกรมการจังหวัด และคณะกรมการอำเภอภายใน เขตจังหวัด หรือเขตอำเภอ แล้วแต่กรณี มีอำนาจกำหนดชนิดของผัก พืชผล หรือสัตว์ จากชนิดที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง เพื่อให้เจ้าบ้านในเขตจังหวัดหรือ อำเภอนั้น ๆ มีหน้าที่จัดการปลูกหรือเลี้ยง
มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานและ กรรมการไม่น้อยกว่า 5 นาย ซึ่งรัฐมนตรีจะได้แต่งตั้งขึ้นและประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา คณะกรรมการนี้มีหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาแก่รัฐมนตรีใน เรื่องการสวนครัวและการเลี้ยงสัตว์ และเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่นี้ คณะกรรมการ มีอำนาจที่จะเชิญบุคคลใด ๆ มาแสดงความเห็นได้ และจะตั้งอนุกรรมการเพื่อ พิจารณากิจการอันใดเป็นการเฉพาะก็ได้ มาตรา 7 ในการสั่งให้เจ้าบ้านปฏิบ ัติการใด ๆ ให้ผู้ดำเนินการ หรือผู้สั่งการตามพระราชบัญญัตินี้คำนึงถึงภาวะของเจ้าบ้าน จำนวนบุคคลที่อยู่ ในครัวเรือน ตลอดจนสภาพของที่ดิน และเหตุอย่างอื่นอันสมควรจะได้รับการ พิจารณา มาตรา 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจภายในเขตที่กล่าวไว้ใน มาตรา 5 สอดส่องและตรวจตรา ให้เจ้าบ้านปฏิบัติตามคำสั่ง และให้มีอำนาจ ให้คำแนะนำตามสมควร ถ้าปรากฏว่าเจ้าบ้านไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ให้ตักเตือน เป็นหนังสือ พร้อมทั้งกำหนดเวลาอันสมควรที่จะให้เจ้าบ้านปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ภายในเวลาเช่นว่านั้น
มาตรา 9 เจ้าบ้านผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำตักเตือนของพนักงาน เจ้าหน้าที่ภายในกำหนดระยะเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สิบสองบาท อนึ่งให้เจ้าบ้านผู้ฝ่าฝืนทำคำรับรองไว้ด้วยว่า จะปฏิบัติตามคำสั่ง นั้นภายในกำหนดระยะเวลาซึ่งไม่ต่ำกว่าสามเดือน แต่ไม่เกินหกเดือน ตามที่ พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้กำหนดโดยคำนึงถึงสภาพของสิ่งที่ให้เจ้าบ้านนั้นจัดทำ ถ้าเวลาดังกล่าวมานี้ล่วงพ้นไป เจ้าบ ้านยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นอีก ให้ถือว่าเจ้าบ้านนั้นมีความผิด และให้นำความในวรรคก่อนมาบังคับแก่เจ้าบ้าน ผู้มีความผิดนั้น เงินที่ได้จากค่าปรับเช่นว่านี้ ให้ถือเป็นเงินช่วยบำรุงท้องที่ตาม ความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 10 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รักษาการ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา และมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้ บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี