ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
เป็นปีที่ 11 ในรัชกาลปัจจุบัน
หน้า 2
หมวด 1
ความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
__________
(1) ถ้าเป็นอักษรไทย ไม่ใช่คำว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ประกอบชื่อ แล้วแต่กรณี
(2) ถ้าเป็นอักษรต่างประเทศ ไม่ใช้คำซึ่งมีความหมายว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตามประกาศของ กระทรวงเศรษฐการประกอบชื่อ แล้วแต่กรณี *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน ห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง *[อัตราโทษตามมาตรา 3 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 4 ผู้ใดใช้ชื่อหรือยี่ห้อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า ห้างหุ้นส่วน สามัญนิติบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรืออักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมาย ดังกล่าวประกอบ ในดวงตรา ป้ายชื่อ หนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจ โดยมิได้เป็นห้างหุ้นส่วน จดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด เว้นแต่เป็นการใช้ในการขอจดทะเบียนเกี่ยวกับ
การตั้งห้างหุ้นส่วน *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกวันละ ไม่เกินห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้เลิกใช้หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วแต่กรณี *[อัตราโทษตามมาตรา 4 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 5 บริษัทจำกัดใด นอกจากธนาคาร ในกรณีใช้ชื่อในดวงตรา ป้ายชื่อ หนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่น เกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท
(1) ถ้าเป็นอักษรไทย ไม่ใช้คำว่า บริษัท ไว้หน้าชื่อ และ จำกัด ไว้ท้ายชื่อ
(2) ถ้าเป็นอักษรต่างประเทศ ไม่ใช้คำซึ่งมีความหมายว่า บริษัทจำกัด ตามประกาศของกระทรวงเศรษฐการประกอบชื่อ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน ห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้เลิกใช้หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วแต่กรณี
*[อัตราโทษตามมาตรา 5 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 6 ผู้ใดใช้ชื่อหรือยี่ห้อซึ่งมีอักษรไทยประกอบว่า บริษัทจำกัด บริษัท หรือ จำกัด หรืออักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายดังกล่าวประกอบ ในดวงตรา ป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความหรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับธุรกิจ โดยมิได้เป็นบริษัทจำกัด เว้นแต่เป็นการใช้ในการขอจดทะเบียนเกี่ยวกับการตั้ง บริษัท หนังสือชี้ชวนให้เข้าชื่อซื้อหุ้นหรือหนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง
*ต้องระวาง โทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกวันละไม่เกินห้าร้อยบาท จนกว่าจะได้ เลิกใช้หรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง แล้วแต่กรณี
*[อัตราโทษตามมาตรา 6 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 7* บริษัทจำกัดใดไม่เอาหุ้นซึ่งริบแล้วออกขายทอดตลาด ไม่หักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยค้างชำระ หรือไม่ส่งคืนเงินเหลือให้แก่ ผู้ถือหุ้นตามมาตรา 1125 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวาง โทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 7 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 8 บริษัทจำกัดใดไม่ทำใบหุ้นมอบให้เป็นคู่มือแก่ผู้ถือหุ้น หรือ เรียกค่าธรรมเนียมเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามมาตรา 1127 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ หรือไม่ทำใบหุ้นตามมาตรา 1128 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 8 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 9* บริษัทจำกัดใดออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือโดยฝ่าฝืน มาตรา 1134 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท *[มาตรา 9 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 10 บริษัทจำกัดใด ไม่มีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามมาตรา 1138 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 10 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 11 บริษัทจำกัดใดไม่รักษาสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น หรือเมื่อ ผู้ถือหุ้นร้องขอไม่เปิดสมุดทะเบียนให้ผู้ถือหุ้นดูตามมาตรา 1139 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 11 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 12 บริษัทจำกัดใดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเองหรือ รับจำนำหุ้นของตนเอง โดยฝ่าฝืนมาตรา 1143 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 12 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535]
มาตรา 13 บริษัทจำกัดใดไม่จดทะเบียนตามมาตรา 1146 มาตรา 1157 มาตรา 1228 มาตรา 1239 หรือมาตรา 1241 แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 13 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 14 บริษัทจำกัดใดไม่มีสำนักงานบอกทะเบียน หรือไม่ส่ง คำบอกกล่าวตามมาตรา 1148 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้อง ระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 14 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 15 บริษัทจำกัดใดลงพิมพ์หรือแสดงจำนวนต้นทุนของบริษัท โดยฝ่าฝืนมาตรา 1149 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวาง โทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 15 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 16 บริษัทจำกัดใดไม่เรียกประชุมตามมาตรา 1171 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 16 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 17 บริษัทจำกัดใดไม่ลงพิมพ์โฆษณาคำบอกกล่าวเรียก ประชุมใหญ่ ไม่ส่งคำบอกกล่าวไปยังผู้ถือหุ้น หรือไม่ระบุสถานที่ วัน เวลา และ สภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันในคำบอกกล่าวตามมาตรา 1175 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 17 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 18 บริษัทจำกัดใด (1) ไม่ทำบัญชีงบดุลตามมาตรา 1196 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ (2) ไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบดุล ไม่นำบัญชีงบดุลเสนอเพื่อ อนุมัติในที่ประชุมใหญ่ ไม่ส่งสำเนางบดุล หรือไม่มีสำเนางบดุล ตามมาตรา 1197 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ (3) ไม่จำหน่ายสำเนางบดุลแก่ผู้ปรารถนาจะซื้อตามมาตรา 1199 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
*ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 18 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 19 บริษัทจำกัดใดจ่ายเงินปันผลโดยฝ่าฝืนมาตรา 1201 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือแจกเงินปันผลโดยฝ่าฝืนมาตรา 1202 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เงินใด ๆ ที่จ่าย หรือแจก ให้แก่ผู้ถือหุ้นในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นนอกจาก เงินค่าหุ้น ให้ถือว่าเป็นเงินปันผลตามมาตรานี้ *[อัตราโทษตามมาตรา 19 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 20 บริษัทจำกัดใดไม่บอกกล่าวว่าจะปันผลอย่างใด ๆ อันได้อนุญาตให้จ่ายตามมาตรา 1204 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 20 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 21 บริษัทจำกัดใดไม่เสนอบรรดาหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้น ตามมาตรา 1222 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 21 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 22 บริษัทจำกัดใดไม่โฆษณา หรือไม่มีหนังสือบอกกล่าวความ ประสงค์จะลดทุนตามมาตรา 1226 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ หรือจัดการลดทุนโดยฝ่าฝืนมาตรา 1226 วรรคสาม แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
*[อัตราโทษตามมาตรา 22 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 23 บริษัทจำกัดใดออกหุ้นกู้โดยฝ่าฝืนมาตรา 1229 มาตรา 1230 หรือมาตรา 1232 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 23 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 24 บริษัทจำกัดใดไม่โฆษณาหรือไม่ส่งคำบอกกล่าวให้ทราบ รายการที่ประสงค์จะควบบริษัทเข้ากันตามมาตรา 1240 วรรคหนึ่ง แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือจัดการควบบริษัทเข้าด้วยกันโดยฝ่าฝืน มาตรา 1240 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวาง โทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 24 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 25 ในกรณีที่บริษัทจำกัดใดกระทำความผิดตามมาตรา 7 ถึงมาตรา 24 กรรมการของบริษัทนั้น หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการ ดำเนินงานของบริษัทนั้น *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 25 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 26 กรรมการใดของบริษัทจำกัดไม่ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อ ผู้ถือหุ้นและผู้ที่ขาดจากเป็นผู้ถือหุ้นตามมาตรา 1139 วรรคสอง แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 26 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 27 กรรมการใดของบริษัทจำกัดไม่เรียกประชุมวิสามัญตาม มาตรา 1172 วรรคสอง หรือมาตรา 1174 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 27 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 28 กรรมการใดของบริษัทจำกัด (1) ไม่ส่งสำเนางบดุลตามมาตรา 1199 วรรคสองแห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (2) ไม่จัดให้ถือบัญชีตามมาตรา 1206 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ หรือ (3) ไม่จัดให้จดบันทึก หรือไม่เก็บรักษาสมุดตามมาตรา 1207 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
*ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 28 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 29* บริษัทจำกัดใดเสนอหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ถือหุ้นที่ซื้อ หุ้นใหม่โดยฝ่าฝืนมาตรา 1223 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[มาตรา 29 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 30 ผู้ถือหุ้นใด รับหรือยอมจะรับประโยชน์เป็นพิเศษ สำหรับตนหรือผู้อื่นเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะลงคะแนนเสียง หรืองด การลงคะแนนเสียงในที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัด *ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ใดให้ หรือสัญญาว่าจะให้ประโยชน์เป็นพิเศษแก่ผู้ถือหุ้นเพื่อเป็น การตอบแทนในการที่ผู้ถือหุ้นนั้นจะลงคะแนนเสียงหรืองดการลงคะแนนเสียง ในที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัด ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน *[อัตราโทษตามมาตรา 30 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 31 ผู้สอบบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน จำกัด หรือบริษัทจำกัด รับรองงบดุลหรือบัญชีอื่นใดอันไม่ถูกต้อง หรือทำรายงาน เท็จ *ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ *[อัตราโทษตามมาตรา 31 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 32 ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน จำกัดหรือบริษัทจำกัด ไม่กระทำตามมาตรา 1253 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 32 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 33 ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน จำกัดหรือบริษัทจำกัด ไม่จดทะเบียนตามมาตรา 1254 มาตรา 1258 มาตรา 1262 หรือมาตรา 1270 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 33 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 34 ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน จำกัดหรือบริษัทจำกัด ไม่ร้องขอต่อศาลตามมาตรา 1266 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 34 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 35 ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน จำกัดหรือบริษัทจำกัด (1) ไม่ทำงบดุล หรือไม่เรียกประชุมใหญ่ตามมาตรา 1255 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (2) ไม่ทำรายงาน หรือไม่เปิดเผยรายงานตามมาตรา 1267 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (3) ไม่ทำรายงาน ไม่เรียกประชุมใหญ่ หรือไม่ชี้แจงกิจการตาม มาตรา 1270 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ (4) ไม่มอบบัญชีและเอกสารตามมาตรา 1271 วรรคหนึ่ง แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 35 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 36 ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน จำกัดหรือบริษัทจำกัด ไม่เรียกประชุมใหญ่ ไม่ทำรายงาน หรือไม่แถลงตาม มาตรา 1268 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 36 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 37 ผู้ชำระบัญชีใดของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน จำกัดหรือบริษัทจำกัด แบ่งคืนทรัพย์สินโดยฝ่าฝืนมาตรา 1269 แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 37 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 38 กรรมการหรือผู้ชำระบัญชีใดของบริษัทจำกัดโดยทุจริต แสดงออกซึ่งความเท็จ หรือปกปิดความจริงต่อที่ประชุมใหญ่ในเรื่องฐานะ การเงินของบริษัทนั้น *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 38 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 39 บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วน จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด เอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์สินอันนิติบุคคลดังกล่าวจำนำไว้ ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนำ *ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ *[อัตราโทษตามมาตรา 39 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 40 บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วน จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด รู้ว่าเจ้าหนี้ของนิติบุคคล ดังกล่าว หรือเจ้าหนี้ของบุคคลอื่นซึ่งจะใช้สิทธิของเจ้าหนี้ของนิติบุคคล ดังกล่าว บังคับการชำระหนี้จากนิติบุคคลดังกล่าว ใช้หรือน่าจะใช้สิทธิเรียกร้อง ทางศาลให้ชำระหนี้ (1) ย้าย ซ่อน หรือโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์สินของนิติบุคคลดังกล่าว หรือ (2) แกล้งให้นิติบุคคลดังกล่าวเป็นหนี้ซึ่งไม่เป็นความจริง
ถ้าได้กระทำเพื่อมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน *ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ *[อัตราโทษตามมาตรา 40 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 41 บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วน จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด กระทำการหรือไม่กระทำการ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อตนเองหรือผู้อื่นอัน เป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลดังกล่าว *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 41 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 42 บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของห้างหุ้นส่วน จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด กระทำหรือยินยอมให้กระทำการ ดังต่อไปนี้ (1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท หรือ (2) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชี หรือเอกสาร ของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำการเพื่อลวงให้ห้างหุ้นส่วน บริษัท ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ *ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน เจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ *[อัตราโทษตามมาตรา 42 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 43 ผู้ใดโฆษณาชวนให้เข้าชื่อซื้อหุ้นโดยฝ่าฝืนมาตรา 1102 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 43 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 44 *[ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 45 *[ยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 46 ผู้ใดโฆษณาโดยอ้างถึงบุคคล ตำแหน่งหน้าที่ บัญชี รายงาน หรือกิจการอันเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจำกัด อันเป็นเท็จในสารสำคัญ หรือปกปิดข้อความอันเป็นสารสำคัญ เพื่อ (1) ลวงผู้มีส่วนได้เสียในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้ขาดประโยชน์ อันควรได้จากห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทนั้นหรือ (2) จูงใจบุคคลให้เข้าเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ให้มอบหมายหรือให้ ส่งทรัพย์สินให้แก่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น หรือให้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันหรือให้ให้ ทรัพย์สินเป็นประกันห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น *ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ *[อัตราโทษตามมาตรา 46 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 47 ผู้ใดเข้าร่วมในที่ประชุมตั้งบริษัทจำกัด หรือใน ที่ประชุมใหญ่ของบริษัทจำกัด และลงคะแนนออกเสียงหรืองดลงคะแนนออก เสียง โดยลวงว่าตนเป็นผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ผู้ถือหุ้น หรือผู้มีสิทธิออกเสียง แทนผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น หรือผู้ถือหุ้น *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ผู้ใดให้อุปการะแก่การกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคหนึ่ง โดย ส่งมอบเอกสารแสดงการเข้าชื่อซื้อหุ้น หรือใบหุ้นซึ่งได้ใช้เพื่อการดังกล่าว แล้ว ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน *[อัตราโทษตามมาตรา 47 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]
มาตรา 48 ผู้ใดโดยทุจริต กำหนดค่าแรงงาน หรือทรัพย์สินที่นำ มาลงในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัทจำกัด แทนเงิน ค่าหุ้นให้สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง *ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท *[อัตราโทษตามมาตรา 48 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535]