ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
ในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔
เป็นปีที่ ๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทยขึ้นเป็นเอกเทศ พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.๒๔๙๔/๓๐/๑พ./๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๔]
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกบรรดากฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นซึ่งขัดหรือแย้งกับบท แห่งพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ การท่าเรือแห่งประเทศไทย หมายความว่า การท่าเรือซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราช บัญญัตินี้ *กิจการท่าเรือ หมายความว่า ธุรกิจเกี่ยวกับท่าเรือ และให้หมายความรวมถึง อู่เรือและกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือเป็นส่วนประกอบกับท่าเรือ *[นิยามคำว่า กิจการท่าเรือ เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๓] คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการ หมายความว่า ผู้อำนวยการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม *อาณาบริเวณ หมายความว่า เขตซึ่งอยู่ในความควบคุม และการบำรุงรักษา ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยทั้งทางบกและทางน้ำ *[นิยามคำว่า อาณาบริเวณ เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๙]
มาตรา ๕* ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงว่าด้วยการควบคุม ปรับปรุง และให้ความสะดวก และความปลอดภัยแก่กิจการท่าเรือ และการเดินเรือภายในอาณา บริเวณ และการอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ *[มาตรา ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๙]
หมวด ๑
การจัดตั้ง ทุน และเงินสำรอง
________
*การท่าเรือแห่งประเทศไทย เรียกโดยย่อว่า กทท. และให้ใช้ชื่อเป็น ภาษาอังกฤษว่า PORT AUTHORITY OF THAILAND เรียกโดยย่อว่า PAT *[มาตรา ๖ วรรคสอง เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๓]
มาตรา ๗ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๘ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยตั้งสำนักงานใหญ่ในจังหวัดพระนคร และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ที่อื่นใดในราชอาณาจักรก็ได้ และจะตั้งสาขาหรือตัวแทนขึ้น ณ ต่างประเทศในเมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีก็ได้
มาตรา ๘ ทวิ* อาณาบริเวณให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา และให้มีแผนที่ แสดงอาณาบริเวณท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย แผนที่นั้นให้ถือว่าเป็นส่วนแห่งพระราชกฤษฎีกา *[มาตรา ๘ ทวิ เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๙]
มาตรา ๙ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยมีอำนาจที่จะกระทำการต่าง ๆ ภายใน ขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๖ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า และดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องใช้ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือ
(๒) ซื้อ จัดหา เช่า ให้เช่า ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง จำหน่าย หรือดำเนินงาน เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์
(๓) กำหนดอัตราค่าภาระการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของ กิจการท่าเรือ และออกระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าภาระดังกล่าว
(๔) จัดระเบียบว่าด้วยความปลอดภัย การใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวก ต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือ
(๕) กู้ยืมเงิน *
(๖) ขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำภายในอาณาบริเวณ
*(๗) ควบคุม ปรับปรุง และให้ความสะดวกและความปลอดภัยแก่กิจการท่าเรือ และการเดินเรือภายในอาณาบริเวณ *
(๘) กำหนดอัตราค่าภาระต่าง ๆ ภายในอาณาบริเวณ *
(๙) ออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน *
(๑๐) จัดตั้งบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดเพื่อประกอบกิจการท่าเรือและ กิจการอื่นภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ บริษัทจำกัดหรือ บริษัทมหาชนจำกัดดังกล่าว จะมีคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของ คนต่างด้าวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของทุนจดทะเบียนของบริษัทนั้นไม่ได้
*(๑๑) เข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด เพื่อประโยชน์แก่กิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย *[มาตรา ๙ (๖) (๗) และ (๘) เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๙ (๙) เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๖ และ มาตรา ๙ (๑๐) และ (๑๑) เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๓]
มาตรา ๑๐ ให้โอนสินทรัพย์และหนี้สินทั้งสิ้นของสำนักงานท่าเรือกรุงเทพฯ ในกรมการขนส่ง ตลอดจนบรรดาที่ดินซึ่งได้เวนคืนไว้แล้วเพื่อการท่าเรือให้แก่การท่าเรือแห่ง ประเทศไทย
มาตรา ๑๑ ที่ดินซึ่งการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้มาด้วยอำนาจแห่งพระราช บัญญัตินี้หรือบทกฎหมายอื่นจะโอนต่อไปมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะ
มาตรา ๑๒ ให้จ่ายเงินในงบประมาณรายจ่ายวิสามัญลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๔ ประเภทการบำรุงการขนส่งเป็นจำนวน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท กับงบประมาณส่วนที่ เกี่ยวกับการขุดสันดอน การก่อสร้างและค่าซื้อสิ่งของให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทย งบประมาณรายจ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับการขุดสันดอน การก่อสร้าง และค่าซื้อ สิ่งของนั้น ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยใช้จ่ายตามรายการที่ปรากฏในงบประมาณ
มาตรา ๑๓ ทุนประเดิมของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้ประกอบด้วย (๑) สินทรัพย์ที่รับโอนมาเมื่อได้หักหนี้สินตามมาตรา ๑๐ ออกแล้ว (๒) เงินที่การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับตามมาตรา ๑๒
มาตรา ๑๔ ทรัพย์สินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยย่อมไม่อยู่ในความรับผิด แห่งการบังคับคดี
มาตรา ๑๕ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ บรรดา ที่กฎหมายให้ไว้แก่สำนักงานท่าเรือกรุงเทพ ฯ ในกรมการขนส่ง
มาตรา ๑๖ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้อำนวยการ และพนักงานของ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา
มาตรา ๑๗* ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษี อากรตามประมวลรัษฎากร และให้ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ตามกฎหมายอื่นบรรดาที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทยนอกจาก อาคารและที่ดินที่ให้เช่า *[มาตรา ๑๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๙]
มาตรา ๑๗ ทวิ* ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากการเสีย ค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยการศุลกากร *[มาตรา ๑๗ ทวิ เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๙]
มาตรา ๑๗ ตรี* อสังหาริมทรัพย์ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยไม่ว่าจะได้ ให้เช่าก่อนหรือหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อจะต้องการใช้ในกิจการของการท่าเรือแห่ง ประเทศไทย ให้ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการควบคุมค่าเช่าในภาวะ คับขัน *[มาตรา ๑๗ ตรี เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๙๙]
มาตรา ๑๘ เงินสำรองของการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ประกอบด้วยเงินสำรอง เผื่อขาดและเงินสำรองอื่น ๆ เพื่อความประสงค์แต่ละอย่างโดยเฉพาะ เช่น ค่าเสื่อมราคาและ ค่าทำให้ดีขึ้น เป็นต้น ตามแต่คณะกรรมการจะเห็นสมควร
มาตรา ๑๙ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารตาม ระเบียบของคณะกรรมการซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
| หน้าถัดไป »