ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2542
เป็นปีที่ 54 ในรัชกาลปัจจุบัน
หน้า 4
หมวด 7
ระยะเวลาการไต่สวน
_______
หมวด 8
ระยะเวลาตอบโต้การทุ่มตลาดและการทบทวน
_______
มาตรา 56 การทบทวนความจำเป็นในการใช้บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ต่อไป ให้กระทำใดเมื่อคณะกรรมการเห็นสมควรหรือเมื่อมีคำขอจากผู้มีส่วนได้เสียหลังจากได้ใช้ บังคับอากรตอบโต้การทุ่มตลาดมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี โดยในคำขอดังกล่าวผู้มีส่วนได้เสียอาจ ขอให้คณะกรรมการพิจารณาทบทวนเพื่อยุติการเรียกเก็บหรือเปลี่ยนแปลงอัตราอากรตอบโต้การ ทุ่มตลาดได้ แต่ต้องเสนอพยานหลักฐานเพียงพอเกี่ยวกับปัญหาการทุ่มตลาดหรือความเสียหายที่ สมควรให้มีการทบทวนการใช้บังคับอาการดังกล่าวในระหว่างนั้น การพิจารณาการทบทวนจะต้องพิจารณาโดยรวดเร็ว และจะต้องเสร็จสิ้น ภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศให้มีการทบทวน การพิจารณาทบทวนไม่กระทบถึงกาเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ในระหว่างนั้น
มาตรา 57 อากรตอบโต้การทุ่มตลาดให้เรียกเก็บได้เป็นระยะเวลาไม่เกินห้าปี นับแต่วันเริ่มใช้บังคับหรือนับแต่มีการทบทวนครั้งสุดท้ายซึ่งมีการพิจารณาทบทวนทั้งปัญหาการ ทุ่มตลาดและปัญหาความเสียหาย เว้นแต่เมื่อคณะกรรมการเห็นสมควรหรือเมื่อบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งทำการแทนอุตสาหกรรมภายในมีคำขอภายในระยะเวลาอันสมควรก่อนครบกำหนด ดังกล่าว ว่าการยุติการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจะทำให้มีการทุ่มตลาดต่อไป หรือทำให้ การทุ่มตลาดฟื้นคืนมาอีก
มาตรา 58 ผู้ส่งออกจากต่างประเทศหรือผู้ผลิตสินค้าในประเทศรายใดซึ่ง มิได้ส่งสินค้าทุ่มตลาดเข้ามาในช่วงระหว่างการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด อาจขอให้ทบทวน การเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับตนเป็นการเฉพาะรายได้ แต่ผู้ขอทบทวนต้องพิสูจน์ ว่าตนไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ส่งออกจากต่างประเทศหรือผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศ ซึ่งอยู่ใน บังคับถูกเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดดังกล่าว ในการนี้ ให้นำมาตรา 24 วรรคสอง มาใช้ บังคับโดยอนุโลม ในระหว่างการทบทวนตามวรรคหนึ่งจะเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดจาก ผู้ส่งออกจากต่างประเทศหรือผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศดังกล่าวไม่ได้ แต่ถ้าต่อมาคณะกรรมการ มีคำวินิจฉัยว่ามีการทุ่มตลาดหรือผู้ขอทบทวนมีความเกี่ยวข้องกับผู้ส่งออกจากต่างประเทศ หรือผู้ผลิตสินค้าในต่างประเทศซึ่งอยู่ในบังคับถูกเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดดังกล่าว คณะกรรมการจะกำหนดอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับระยะเวลาที่งดเก็บนั้นก็ได้ และให้นำ มาตรา 31 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 59 ผู้นำเข้าอาจขอคืนอากรตอบโต้การทุ่มตลาดในขณะหนึ่งขณะใดได้ ถ้าผู้นั้นพิสูจน์ได้ว่าไม่มีส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาด หรือส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดลดลงต่ำกว่าอากร ตอบโต้การทุ่มตลาดที่ใช้บังคับ การขอคืนอากรตามวรรคหนึ่งต้องยื่นคำขอต่อคณะกรรมการภายในหกเดือน นับแต่วันชำระอากรดังกล่าว
มาตรา 60 ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 1 ส่วนที่ 2 ส่วนที่ 3 ของหมวด 5 และหมวด 6 มาใช้บังคับกับการทบทวนและการขอคืนอากรตามหมวดนี้โดยอนุโลม
หมวด 9
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาล
________
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการเรียกเก็บหรือคืนอากรตาม พระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจะสั่งเป็นอย่างอื่น
หมวด 10
การอุดหนุน
______
มาตรา 64 การอุดหนุนดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นการอุดหนุนโดยเจาะจง
(1) การให้การอุดหนุนแก่วิสาหกิจเพียงบางแห่งไม่ว่าโดยนิตินัยหรือโดยพฤตินัย การอุดหนุนที่มีหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ใช้ทั่วไปกับวิสาหกิจทุกแห่งในช่วง การค้าเดียวกันโดยไม่ลำเอียงและสอดคล้องกับเหตุผลพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และมีการปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์นั้นอย่างเคร่งครัด ไม่ให้ถือว่าเป็นการอุดหนุนโดยเจาะจง
ในการพิจารณาว่ามีการอุดหนุนแก่วิสาหกิจบางแห่งหรือไม่นั้น จะต้องนำปัจจัย นอกจากหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามวรรคสองมาพิจารณาประกอบด้วย ปัจจัยดังกล่าวให้รวมถึง
(ก) การที่วิสาหกิจบางแห่งได้รับหรือได้ใช้ประโยชน์จากการอุดหนุนนั้นมากกว่าวิสาหกิจแห่งอื่น และ
(ข) การมีดุลพินิจที่จะเลือกให้การอุดหนุน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ที่เกี่ยวข้องและระยะเวลาที่มีโครงการอุดหนุนดังกล่าว
(2) การให้การอุดหนุนแก่วิสาหกิจบางแห่งที่ตั้งอยู่ในบางพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ แต่การกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีอากรที่มีหลักเกณฑ์หรืองเอนไขใช้บังคับเป็นการทั่วไป ไม่ถือเป็นการอุดหนุนโดยเจาะจงตามมาตรานี้ การพิจารณาว่ามีการอุดหนุนโดยเจาะจงตามวรรคหนึ่งหรือไม่นั้นต้องมีพยาน หลักฐานโดยตรงสนับสนุน
มาตรา 65 การอุดหนุนดังต่อไปนี้ ที่มีลักษณะเจาะจงตามมาตรา 64 เป็นการ อุดหนุนที่ตอบโต้ได้ (1) การให้การอุดหนุนแก่การส่งออกไม่ว่าโดยทางนิตินัยหรือโดยทางพฤตินัยตาม ลักษณะที่กำหนดในกฎกระทรวง (2) การให้การอุดหนุนเพื่อให้มีการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศมากกว่าสินค้านำเข้า (3) การให้การอุดหนุนที่มีผลเสียต่อประโยชน์ของประเทศ ซึ่งหมายความถึง (ก) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายใน (ข) ทำให้ผลประโยชน์ทั้งในทางตรงและทางอ้อมของประเทศต้องสูญสิ้น หรือเสื่อมเสียโดยเฉพาะผลประโยชน์ของข้อลดหย่อนที่ผูกพันไว้ตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (ค) ผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์ของประเทศตามลักษณะที่กำหนดใน กฎกระทรวง การใช้บทบัญญัติตามมาตรานี้กับสินค้าเกษตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 66 การอุดหนุนโดยเจาะจงตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประกาศกำหนดอันเกี่ยวกับ กรณีดังต่อไปนี้ ไม่อยู่ในข่ายถูกเรียกเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุน (1) การให้ความช่วยเหลือด้านการวิจัย (2) การให้ความช่วยเหลือแก่ภูมิภาคที่เสียเปรียบ หรือ (3) การให้ความช่วยเหลือเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
มาตรา 67 ในกรณีมีการอุดหนุนตามมาตรา 65 (1) ให้กรมการค้าต่างประเทศแจ้งให้ประเทศที่ให้การอุดหนุนทราบเพื่อปรึกษา หารือกันและเสนอเรื่อง ให้มีการระงับข้อพิพาท ตามขั้นตอนและวิธีการพิจารณาตามข้อตกลงของ องค์การการค้าโลกว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ และให้คณะกรรมการกำหนดมาตรการ ตอบโต้อย่างหนึ่งอย่างใดที่เหมาะสมแก่กรณี (2) ให้คณะกรรมการดำเนินการเพื่อพิจารณาตอบโต้การอุดหนุน โดยกำหนด อากรตอบโต้การอุดหนุน ในกรณีที่ได้ดำเนินการตาม (1) และ (2) พร้อมกัน หากในชั้นที่สุดปรากฏว่า สามารถใช้มาตรการตอบโต้ได้ทั้งตาม (1) และ (2) ก็ให้คณะกรรมการกำหนดมาตรการตอบโต้ได้ มาตรการใดมาตรการหนึ่ง เพียงมาตรการเดียว
มาตรา 68 อากรตอบโต้การอุดหนุนให้คำนวณจากประโยชน์ที่ได้รับในระหว่าง ระยะเวลาที่ปรากฏในการพิจารณาว่ามีการอุดหนุน โดยกำหนดเป็นอัตราต่อหน่วยของสินค้าของ ผู้ที่ได้รับการอุดหนุนแต่ละราย ถ้าผู้รับการอุดหนุนมีภาระหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนใดให้แก่รัฐบาลที่ให้การ อุดหนุน ผู้รับการอุดหนุนจะขอให้หักค่าใช้จ่ายดังกล่าวออกก็ได้ แต่ภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ดังกล่าวเป็นของผู้รับการอุดหนุน อากรตอบโต้การอุดหนุนนั้นให้กำหนดเพียงเพื่อขจัดความเสียหาย และจะเกินกว่า ประโยชน์ที่ผู้รับการอุดหนุนได้รับมิได้
มาตรา 69 การคำนวณ หาประโยชน์ ที่ได้รับให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) การร่วมลงทุนของรัฐบาลไม่ถือเป็นการให้ประโยชน์ เว้นแต่การลงทุนนั้น ไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติตามปกติของภาคเอกชนในประเทศแหล่งกำเนิดหรือประเทศผู้ส่งออก (2) การให้เงินกู้ไม่ถือเป็นการให้ประโยชน์ เว้นแต่มีส่วนต่างระหว่างจำนวน ทรัพย์สินที่ผู้กู้ต้องให้ในการกู้ยืมจากรัฐบาลกับการกู้ยืมทางพาณิชย์ที่เปรียบเทียบกันได้ในตลาด ในกรณีนี้ประโยชน์ที่ได้รับคือส่วนต่างของจำนวนดังกล่าว (3) การค้ำประกันเงินกู้ไม่ถือเป็นการให้ประโยชน์ เว้นแต่มีส่วนต่างระหว่าง ทรัพย์สินที่ผู้ได้รับการค้ำประกันต้องให้ระหว่างการค้ำประกันโดยรัฐบาลกับการค้ำประกันโดย เอกชนในทางพาณิชย์และให้นำความใน (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลม (4) กรณีที่รัฐบาลให้ทรัพย์สินหรือบริการหรือการซื้อสินค้าไม่ถือเป็นการให้ ประโยชน์ เว้นแต่เป็นการให้โดยมีค่าตอบแทนที่น้อยกว่าอัตราที่สมควรหรือการซื้อสินค้าที่ให้ ค่าตอบแทนสูงกว่าอัตราที่สมควร ซึ่งอัตราที่สมควรให้พิจารณาจากสภาพทางการตลาดที่เป็นอยู่ ในประเทศที่ให้ทรัพย์สินหรือบริการหรือที่ซื้อสินค้านั้น การคำนวณประโยชน์ที่ได้รับให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง กฎกระทรวงดังกล่าวจะกำหนดให้กรณีหนึ่งกรณีใดเป็นไปตามที่กระทรวง พาณิชย์ประกาศกำหนดก็ได้
มาตรา 70 การพิจารณากำหนดอากรตอบโต้การอุดหนุน ให้นำบทบัญญัติ หมวด 2 หมวด 3 หมวด 4 หมวด 5 หมวด 6 หมวด 7 หมวด 8 และหมวด 9 มาใช้บังคับโดย อนุโลม เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) บทบัญญัติแห่งมาตรา 42 (2) และ (3) มิให้ใช้บังคับในการใช้มาตรการ ชั่วคราว (2) ความตกลงเพื่อระงับการอุดหนุนระหว่างผู้ส่งออกกับกรมการค้า ต่างประเทศจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้ส่งออกด้วย
มาตรา 71 เมื่อคณะกรรมการได้รับคำขอจากผู้ทำการแทนอุตสาหกรรมภายใน หรือข้อเสนอของกรมการค้าต่างประเทศให้พิจารณาตอบโต้การอุดหนุนแล้วให้คณะกรรมการแจ้ง ให้ประเทศซึ่งสินค้าดังกล่าวถูกพิจารณาว่าได้มีการอุดหนุนทราบและขอให้ประเทศนั้นมาปรึกษา หารือโดยไม่ชักช้า เพื่อทำความตกลง ให้ยุติการพิจารณาตอบโต้การอุดหนุนหรือเพื่ออำนวยความ ตกลงระงับการอุดหนุน การปรึกษาหารือจะดำเนินการในขั้นตอนใดระหว่างการพิจารณาตอบโต้การ อุดหนุนก็ได้และคณะกรรมการต้องให้โอกาสตามควรในการปรึกษาหารือนั้นแต่การปรึกษาหารือ ไม่เป็นเหตุกระทบการดำเนินการต่าง ๆ ในขั้นตอนการพิจารณาตอบโต้การอุดหนุน ในการปรึกษาหารือคณะกรรมการต้องให้โอกาสประเทศซึ่งสินค้าที่ถูกพิจารณาได้ รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการพิจารณาได้ เว้นแต่ในส่วนที่คณะกรรมการเห็นว่าเป็นความลับ
หมวด 11
คณะกรรมการ
______
มาตรา 73 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนตามพระราชบัญญัตินี้ (2) ให้ความเห็นชอบในการทำความตกลงเพื่อระงับการทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน (3) ให้คำแนะนำในการออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อดำเนินการตามพระราช บัญญัตินี้ (4) ปฏิบัติการอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะรัฐมนตรี มอบหมาย
มาตรา 74 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี ในวาระเริ่มแรกเมื่อครบสองปีให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิออกจากตำแหน่ง เป็นจำนวนกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดโดยวิธีจับสลาก และให้ถือว่าการ ออกจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยวิธีจับสลากเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
มาตรา 75 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่องหรือไม่ สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ (4) ต้องโทษจำคุก ตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดที่กระทำ โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (5) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (6) เป็นบุคคลล้มละลาย
มาตรา 76 ในกรณีตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิว่างลงก่อนครบกำหนด วาระให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนโดยเร็ว เว้นแต่วาระการอยู่ในตำแหน่ง ของ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีการแต่งตั้งใหม่จะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่ดำเนินการแต่งตั้งก็ได้ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการแต่งตั้งแทนตามวรรคหนึ่งอยู่ในตำแหน่ง เท่าวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนแทน
มาตรา 77 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด ในการประชุม ถ้ามีความเห็นแย้งให้บันทึกความเห็นแย้งพร้อมทั้งเหตุผลไว้ใน รายงานการประชุมด้วยแต่กรรมการคนใดจะขอให้รวมความเห็นแย้งของตนไว้ในคำวินิจฉัยก็ได้
มาตรา 78 เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
หมวด 12
บทเฉพาะกาล
_______
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
____________________
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติป้องกัน การทุ่มตลาด พ.ศ. 2507 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติของพระราชบัญญัติดังกล่าว บางประการไม่เหมาะสมกับการขยายตัวและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการค้า ของประเทศ ไม่มีหลักการเรื่องการตอบโต้การอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้ามายัง ประเทศไทย และไม่สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่าง ประเทศที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน สมควร บัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่ให้มีมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่าง ประเทศที่นำเข้ามาในประเทศเพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศและให้สอดคล้องกับ ข้อตกลงระหว่างประเทศด้วย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
« ย้อนกลับ |