ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37

โดยที่คณะปฏิวัติพิจารณาเห็นว่า ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีองค์การ รัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้ทำความตกลงกับองค์การ ดังกล่าวตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทยกับองค์การรัฐมนตรีศึกษา แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับสำนักงานใหญ่ขององค์การรัฐมนตรีศึกษา แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทย ลงนามเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ซึ่งกำหนดให้ประเทศไทยให้เอกสิทธิและความคุ้มกันดังที่ระบุไว้ ในการนี้จำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อดำเนินการตามความตกลงนั้น หัวหน้าคณะ ปฏิวัติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 เพื่อคุ้มครองการดำเนินงานในประเทศไทยขององค์การ รัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้บรรลุผลตามความมุ่งประสงค์

(1) ให้ยอมรับนับถือว่า องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้เป็นนิติบุคคล และให้ถือว่ามีถูมิลำเนาในประเทศไทย

(2) ให้องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้แทน ของรัฐสมาชิก ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่ขององค์การหรือพนักงานใด ๆ ซึ่งได้ รับแต่งตั้งให้ทำการแทนผู้อำนวยการ พนักงานระหว่างประเทศ พนักงานอื่น ๆ ของสำนักงานใหญ่ขององค์การ รวมตลอดถึงผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาผู้ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อสำนักงานใหญ่ขององค์การ ได้รับเอกสิทธิและความคุ้มกันตามที่ระบุไว้ในความ ตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกี่ยวกับสำนักงานใหญ่ขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน ประเทศไทย ลงนามเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2513 ท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับนี้ ทั้งนี้ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยหรือเข้ามาในประเทศไทย เพื่อปฏิบัติหน้าที่หรือในการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

ข้อ 2 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้

ข้อ 3* ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

*[รก.2515/6/1พ/13 มกราคม 2515]

ประกาศ ณ วันที่ 12 มกราคม พุทธศักราช 2515

จอมพล ถ.กิตติขจร
หัวหน้าคณะปฏิวัติ

ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศไทย กับ องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกี่ยวกับสำนักงานใหญ่ขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทย

ท้ายประกาศของคณะปฏิวัติ

ฉบับที่ 37 ลงวันที่ 12 มกราคม พุทธศักราช 2515
___________

รัฐบาลแห่งประเทศไทย
(ซึ่งต่อไปในความตกลงนี้เรียกว่า รัฐบาล)
และ
องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(ซึ่งต่อไปในความตกลงนี้เรียกว่า องค์การ)
___________

โดยคำนึงถึงความปรารถนาขององค์การรัฐมนตรีแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ที่จะจัดตั้งสำนักงานใหญ่ (ซึ่งต่อไปในความตกลงนี้เรียกว่า ซีเมส) ขึ้น ในกรุงเทพ ฯ ในประเทศไทย และเพื่อที่จะให้ความสะดวกแก่การปฏิบัติการหน้าที่ ของสำนักงานใหญ่อย่างมีประสิทธิผล รัฐบาลกับองค์การจึงได้ทำความตกลงกัน ดังต่อไปนี้

ข้อ 1

รัฐบาลยอมรับนับถือสภาพนิติบุคคล และความสามารถขององค์การ ที่จะ ก) ทำสัญญา ข) ได้มาและจำหน่ายซึ่งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ ค) เป็นคู่กรณีในการดำเนินคดีของศาล

ข้อ 2

1) รัฐบาลให้โดยไม่คิดมูลค่าแก่องค์การ และองค์การรับนับแต่ วันที่เริ่มใช้บังคับ และชั่วอายุของความตกลงนี้ ซึ่งการใช้และครอบครองที่ที่จัดให้ เริ่มแรกในสถานที่ส่วนหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ จนกว่าจะถึงเวลาที่ได้สร้าง สถานที่ขึ้นใหม่ เพื่อการใช้ของซีเมส และการใช้สิ่งติดตั้ง เครื่องเรือนและบริภัณฑ์ ประจำสำนักงานซึ่งมีอยู่ ณ สถานที่นั้น ตลอดจนความสะดวกอื่น ๆ ด้วย สถานที่ สิ่งติดตั้ง บริภัณฑ์ และเครื่องเรือนเช่นว่านั้น ตลอดจนความสะดวกอื่น ๆ จะได้ ทำความตกลงกันในรายละเอียดต่อไประหว่างเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่เกี่ยวข้องกับ องค์การ

2) ในส่วนที่เกี่ยวกับซีเมส และสิ่งติดตั้ง ณ สถานที่นั้นซึ่งรัฐบาล เป็นผู้จัดหาให้

ก) เว้นแต่ในกรณีความผิดเนื่องมาจากองค์การรัฐบาลจะ รับผิดชอบสำหรับค่าซ่อมแซมรายใหญ่ ๆ ที่มีลักษณะไม่เกิดเสมอ ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการซ่อมแซมความเสียหายอันเกิดจากอัคคีภัย เหตุสุดวิสัย ข้อบกพร่อง หรือการเสื่อมสภาพในทางโครงสร้าง และจะรับผิดชอบสำหรับการหาสิ่งติดตั้ง เช่นว่านั้นมาแทน เมื่อและหากจำเป็นและสำหรับการหาอาคารใด ๆ หรือส่วน แห่งอาคารนั้นในซีเมสซึ่งอาจถูกทำลายไปทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนมาแทน

ข) องค์การจะรับผิดชอบสำหรับการซ่อมแซมเล็ก ๆ น้อย ๆ ทุกรายเพื่อการทนุบำรุงและรักษาส่วนของสถานที่ที่ซีเมสได้ครอบครองอยู่

ข้อ 3

1) รัฐบาลยอมรับนับถือความละเมิดมิได้ของซีเมส เจ้าพนักงาน หรือข้าราชการของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ตุลาการ ทหารหรือตำรวจ จะเข้ามาในซีเมสเพื่อปฏิบัติหน้าที่ราชการใด ๆ ในที่นั้นมิได้ เว้นแต่จะได้ รับความยินยอมและเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้อำนวยการซีเมสได้ตกลงด้วยแล้ว

2) เจ้าหน้าที่ของไทยที่เหมาะสมจะใช้ความพยายามอันควรที่จะ รับรองว่าความสงบสุขของซีเมสจะไม่ถูกรบกวนจากบุคคลหรือคณะบุคคลที่พยายาม จะเข้ามาโดยมิได้รับอำนาจหรือก่อความไม่สงบขึ้นในบริเวณใกล้ชิดกับซีเมส

3) หากได้รับการขอร้องจากซีเมส เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของไทย ที่เหมาะสมจะจัดตำรวจมีจำนวนเพียงพอเพื่อรักษากฎหมายและความสงบในซีเมส และเพื่อนำตัวผู้กระทำผิดออกไปจากที่นั้น

4) องค์การจะป้องกันมิให้ใช้ซีเมสเป็นที่ลี้ภัยของบุคคลผู้หลบหนี การจับกุมตามกฎหมายใด ๆ ของประเทศไทย หรือผู้ซึ่งรัฐบาลต้องการตัวเพื่อ การส่งข้ามแดนไปยังอีกประเทศหนึ่งหรือผู้ที่พยายามจะหลีกเลี่ยงไม่รับ กระบวนการทางกฎหมายหรือการดำเนินคดีของศาล

ข้อ 4

บรรณสารของซีเมส และโดยทั่วไป เอกสารทั้งปวงที่เป็นของซีเมส จะถูกละเมิดมิได้ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด

ข้อ 5

รัฐบาลรับที่จะรับรองว่า องค์การจะได้รับบริการสาธารณะที่จำเป็น และจะได้อุปโภคผลประติบัติเช่นเดียวกับองค์การระหว่างประเทศอื่นที่ตั้งอยู่ใน ประเทศ สำหรับการสื่อสารเป็นทางการขององค์การ

ข้อ 6

ตามมูลฐานแห่งการไม่ค้ากำไร สินทรัพย์ รายได้และทรัพย์สินอื่น ขององค์การจะได้รับยกเว้น

ก) จากการเก็บภาษีอากรทางตรงไม่ว่าในรูปใด อย่างไรก็ตาม องค์การจะไม่เรียกร้องให้มีการยกเว้นภาษี ซึ่งอันที่จริงมิได้มากไปกว่าค่าภาระ เพื่อบริการสาธารณูปโภค

ข) จากศุลกากรและภาษีใด ๆ นอกเหนือจากค่าบริการที่ได้ให้ และจากข้อห้ามและข้อกำกัดใด ๆ ในเรื่องการนำเข้าและส่งออกในส่วนที่เกี่ยวกับ สิ่งของที่องค์การนำเข้าหรือส่งออกเพื่อการใช้เป็นทางการขององค์การ โดยเป็น ที่เข้าใจกันว่าสิ่งของที่นำเข้าโดยได้รับยกเว้นเช่นว่านี้ หากได้ใช้เพื่อความมุ่ง ประสงค์อย่างอื่น หรือได้จำหน่ายไปในภายหลัง หรือได้โอนไปภายในประเทศไทย ให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งไม่มีสิทธิได้รับการยกเว้น สิ่งของนั้น ๆ จะอยู่ในบังคับแห่ง ศุลกากรและภาษีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

ค) รัฐบาลจะให้ส่วนแบ่งสำหรับน้ำมันและน้ำมันหล่อลื่นสำหรับยาน พาหนะที่ซีเมสจำเป็นต้องใช้อย่างเป็นทางการในปริมาณและอัตราที่ให้แก่คณะ ทูตานุทูตในประเทศไทย

ข้อ 7

โดยไม่อยู่ในบังคับแห่งการควบคุมทางการเงิน ข้อบังคับหรือคำสั่ง ประวิงการชำระหนี้ใด ๆ องค์การอาจ

ก) รับและถือครองกองทุนและเงินตราต่างประเทศทุกชนิด และ ดำเนินการทางบัญชีเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศทุกสกุล

ข) โอนกองทุน และเงินตราต่างประเทศขององค์การภายใน ประเทศไทยและจากประเทศไทยไปยังอีกประเทศหนึ่งได้โดยเสรี ในการใช้สิทธิขององค์การตามข้อนี้ องค์การจะรับฟังข้อทักท้วงใด ๆ ที่มีมาจากรัฐบาลเท่าที่จะให้ผลตามข้อทักท้วงเช่นว่านั้นได้ โดยไม่เสียผลประโยชน์ ขององค์การ

ข้อ 8

รัฐบาลจะให้การตรวจลงตราซึ่งอาจจำเป็นในการเข้าประเทศไทย โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมแก่บุคคลดังต่อไปนี้

ก) ผู้แทนของรัฐสมาชิก

ข) พนักงานของซีเมส คู่สมรส และบุตรที่พึ่งพิงตน ค) บุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้ซีเมส

ข้อ 9

ผู้แทนของรัฐสมาชิกซึ่งมีส่วนร่วมในงานขององค์การหรือในการประชุม ใด ๆ ซึ่งอาจเรียกประชุมโดยองค์การ ณ ที่ทำงาน จะมีสิทธิได้รับเอกสิทธิและ ความคุ้มกันในอาณาเขตประเทศไทยขณะปฏิบัติการหน้าที่ของตน และระหว่างการ เดินทางไปยังและมาจากที่ทำงานเช่นเดียวกับที่ได้ประสาทให้แก่สมาชิกของคณะ ทูตานุทูตในชั้นที่เทียบกันได้ เอกสิทธิและความคุ้มกันที่ระบุไว้ข้างต้นจะไม่ขยายไปถึงบุคคลที่มี สัญชาติไทย

ข้อ 10

1. ผู้อำนวยการซีเมส หรือพนักงานใด ๆ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ทำการ แทนผู้อำนวยการจะได้อุปโภคเอกสิทธิและความคุ้มกันในระหว่างพำนักอยู่ใน ประเทศไทย เช่นเดียวกับสมาชิกของคณะทูตานุทูตในชั้นที่เทียบกันได้

2. บุคคลที่กล่าวถึงในวรรค 1 ของข้อนี้ ถ้ามีสัญชาติไทยจะไม่เรียก ร้องความคุ้มกันในศาลไทยในส่วนการดำเนินคดีของศาลเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ที่อยู่ นอกหน้าที่เป็นทางการของบุคคลนั้น ๆ

ข้อ 11

ความคุ้มกันซึ่งบัญญัติไว้ในข้อ 9 และ 10 ได้ประสาทให้ก็เพื่อผล ประโยชน์ขององค์การและมิใช่เพื่อคุณประโยชน์ส่วนตัวของปัจเจกบุคคลนั้น ๆ เอง ความคุ้มกันเช่นว่านั้นอาจสละเสียได้โดยรัฐบาลของรัฐที่เกี่ยวข้องในส่วนที่เกี่ยวกับ ผู้แทนและโดยคณะมนตรีรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เกี่ยวกับ ผู้อำนวยการ

ข้อ 12

1) พนักงานระหว่างประเทศซึ่งมีชื่อส่งไปและได้รับความเห็นชอบ จากเจ้าหน้าที่ของไทยที่เหมาะสมแล้ว จัก

ก) ได้รับความคุ้มกันจากกระบวนการทางกฎหมายในส่วนที่ เกี่ยวกับกิจกรรมทั้งปวงที่พนักงานนั้นได้ปฏิบัติไปในการปฏิบัติการหน้าที่เป็นทางการ ของตน (รวมถึงถ้อยคำที่ได้กล่าวหรือได้เขียนด้วย)

ข) ได้รับยกเว้นจากภาษีทางตรงทั้งปวงสำหรับเงินเดือนและ รายได้ ซึ่งองค์การได้จ่ายให้

ค) ได้รับยกเว้นพร้อมทั้งคู่สมรสและบุตรที่พึ่งพิงตนจากข้อกำกัด ในการเข้าเมืองและการจดทะเบียนคนต่างด้าว

ง) ได้รับความสะดวกในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศเช่นเดียวกันกับที่ได้ให้แก่สมาชิกของคณะทูตานุทูตที่อยู่ในประเทศ ในชั้นที่เทียบกันได้

จ) ได้รับความสะดวกพร้อมทั้งคู่สมรสและบุตรที่พึ่งพิงตนในการ กลับประเทศ ในขณะมีวิกฤติกาลระหว่างประเทศเช่นเดียวกันกับที่ได้ประสาทให้แก่ สมาชิกของคณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ในประเทศไทย

ฉ) ได้รับยกเว้นจากศุลกากรสำหรับสิ่งของซึ่งได้นำเข้าภายใน หกเดือนหลังจากได้เดินทางมาถึงครั้งแรกเพื่อเข้ารับหน้าที่ในประเทศไทย หรือ หลังจากที่ความตกลงนี้เริ่มมีผลบังคับ แล้วแต่กรณีใดจะเกิดทีหลัง ได้แก่

1. ของใช้ส่วนตัว
2. ของใช้ในครัวเรือน
3. ยานยนต์หนึ่งคันสำหรับพนักงานคนหนึ่งในบังคับแห่งข้อบังคับ เกี่ยวกับการนำรถยนต์เข้า การโอน และการเปลี่ยนรถยนต์ดังที่ใช้บังคับแก่สมาชิก ของคณะทูตที่อยู่ในประเทศในชั้นที่เทียบกันได้

2) พนักงานอื่น ๆ ของซีเมสจะได้รับเอกสิทธิตามที่ระบุไว้ใน ข้อ 1 (ข), (ค) และ (ฉ) 1 - 2

ข้อ 13

ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษานอกจากพนักงานของซีเมสผู้ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อซีเมสจักได้รับเอกสิทธิและความคุ้มกันดังที่ระบุไว้ในข้อ 12

วรรค 1, เว้นแต่เอกสิทธิและความคุ้มกันใน (ฉ) 2 - 3

ข้อ 14

1) ชื่อของพนักงานและบุคคลที่กล่าวถึงในข้อ 12 และ 13 จะได้ ส่งให้เจ้าหน้าที่ของไทยที่เหมาะสมเป็นครั้งคราว 2) พนักงานทั้งปวงของซีเมสจะได้รับบัตรประจำตัวพิเศษรับรองว่า เป็นพนักงานของซีเมส ผู้อุปโภคเอกสิทธิและความคุ้มกันดังที่ระบุไว้ในความตกลงนี้

ข้อ 15

ผู้อำนวยการซีเมสตกลงจะสละความคุ้มกันของพนักงานหรือบุคคลใด ที่อ้างถึงในข้อ 12 และ 13 ในกรณีใด ๆ ที่ความคุ้มกันเช่นว่านั้นจะขัดขวาง กระบวนความยุติธรรมและอาจสละเสียได้โดยไม่เสียหายต่อผลประโยชน์ของ ซีเมส

ข้อ 16

ซีเมสและพนักงานของซีเมสจะร่วมมือในทุกโอกาสกับเจ้าหน้าที่ของ ไทยที่เหมาะสม ในการให้ความสะดวกแก่การรักษาความยุติธรรมที่ถูกต้อง ประกัน การปฏิบัติตามข้อบังคับของตำรวจและป้องกันมิให้เกิดการใช้ในทางที่ผิดอย่างหนึ่ง

อย่างใดเกี่ยวกับเอกสิทธิและความคุ้มกันที่ได้ให้ไว้ในความตกลงนี้

ข้อ 17

ความตกลงนี้จะเริ่มมีผลบังคับในวันที่สามสิบหลังจากการแลกเปลี่ยน สัตยาบันสารโดยรัฐบาลกับตราสารให้ความเห็นชอบโดยองค์การแล้ว ความตกลงนี้และความตกลงเพิ่มใด ๆ ที่ได้กระทำกันระหว่างรัฐบาล กับองค์การโดยอนุวัติตามความตกลงนี้จะเลิกใช้บังคับเมื่อครบสิบสองเดือน หลังจาก ที่รัฐบาลหรือองค์การฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่ง ทราบความตกลงใจของตนที่จะเลิกความตกลงนี้ เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้แทนซึ่งได้รับอำนาจจากรัฐบาลและองค์การ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ ได้ลงนามความตกลงนี้ ทำคู่กันเป็นสองฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ณ กรุงเทพ ฯ วันที่เก้าเดือน ตุลาคม พุทธศักราชสองพันห้าร้อยสิบสาม ตรงกับคริสต์ศักราชหนึ่งพันเก้าร้อยเจ็ดสิบ

สำหรับรัฐบาลแห่งประเทศไทย

พลตำรวจตรี ส. กิตติขจร
(สง่า กิตติขจร)

พลเอก น. เขมะโยธิน
(เนตร เขมะโยธิน)
รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ รักษาราชการแทน

สำหรับองค์การ

ผู้อำนวยการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
องค์การซีเมสรับรองว่าเป็นคำแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง
บุญถิ่น อัตถากร
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ผู้ใช้อำนาจของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย