ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กฎหมายไทย - พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด แก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2516
เป็นปีที่ 28 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราช โองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ทวีสูงขึ้นเป็นลำดับ และน้ำมันดิบ ที่จะหาซื้อได้มีปริมาณลดน้อยลง ซึ่งจะมีผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายใน ประเทศสูงตามไปด้วย และจะก่อให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ขึ้นในประเทศไทย ฉะนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศและ ความผาสุกของประชาชน จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ ดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ ในการนี้นายกรัฐมนตรีจำต้องมีอำนาจในการ กำหนดมาตรการต่าง ๆ ได้โดยฉับพลัน ไม่จำต้องให้กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ แยกปฏิบัติการตามกฎหมายที่มีอยู่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งธรรมนูญการปกครอง ราชอา ณาจักร พุทธศักราช 2515 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตรา พระราชกำหนดขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกำหนดนี้เรียกว่า พระราชกำหนดแก้ไข และป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516
มาตรา 2* พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก.2516/176/1พ./27 ธันวาคม 2516]
มาตรา 3 เพื่อประโยชน์ในการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลน น้ำมันเชื้อเพลิง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งเพื่อกำหนดมาตรการ เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) การผลิต การจำหน่าย การขนส่ง การมีไว้ในครอบครอง การสำรองและการส่งออกนอกราชอาณาจักรและการนำเข้ามาใน ราชอาณาจักรซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด
(2) การผลิตหรือการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น
(3) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานอื่น หรือการดำเนินกิจการที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้าหรือ พลังงานอื่น เช่น
(ก) กำหนดว ันเวลาและเงื่อนไขการดำเนินกิจการโรงงาน
(ข) กำหนดวันเวลาในการเปิดและปิดและเงื่อนไขในการ ดำเนินกิจการของโรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สถานบริการ ภัตตาคาร หรือสถานบันเทิงอื่น ๆ
(ค) กำหนดวันเวลาและเงื่อนไขในการใช้ยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นยานพาหนะที่ใช้ในกิจการสาธารณะหรือยานพาหนะส่วนบุคคล
(ง) การใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคาร ในการโฆษณาและ ในสถานที่อื่น ๆ
(4) การปันส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด
ในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมาย ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือคณะกรรมการซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นปฏิบัติการ แทนได้ โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ คำสั่งของนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายซึ่งได้ สั่งการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลทั่วไป และคำสั่งมอบหมายของ นายกรัฐมนตรีตามวรรคสอง ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 4 เมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดตาม มาตรา 3 แล้ว ใ ห้แจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ และเมื่อได้มีการปฏิบัติการ อย่างหนึ่งอย่างใดตามพระราชกำหนดนี้ ให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้คณะรัฐมนตรี ทราบเป็นระยะ ๆ มาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชกำหนดนี้
มาตรา 6 ให้บุคคลและกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 3 วรรคสอง และพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 5 เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 7 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ให้บุคคลตามมาตรา 6 มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ หรือสั่งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดให้ข้อเท็จจริง หรือส่งเอกสารใด ๆ ได้
มาตรา 8 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีซึ่งสั่งตามมาตรา 3 ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 9 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่สั่งตามมาตรา 7 หรือขั ดขวาง หรือไม่ให้ความสะดวกแก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีหรือพนักงาน เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน หกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 10* (ถูกยกเลิกทั้งหมด) *[มาตรา 10 ถูกยกเลิกโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไข เพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2520]
มาตรา 11 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกำหนดนี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
____________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ทวีสูงขึ้นเป็นลำดับ และน้ำมันดิบที่จะหาซื้อได้ มีปริมาณลดน้อยลง ซึ่งจะมีผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศสูง ตามไปด้วยและจะก่อให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นใน ประเทศไทย ฉะนั้น เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของประเทศและความ ผาสุกของประชาชน จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขและป้องกันภ าวการณ์ ดังกล่าวให้ทันต่อเหตุการณ์ ในการนี้นายกรัฐมนตรีจำต้องมีอำนาจในการ กำหนดมาตรการต่าง ๆ ได้โดยฉับพลัน ไม่จำต้องให้กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ แยกปฏิบัติการตามกฎหมายที่มีอยู่ จึงจำเป็นต้องตราพระราช กำหนดนี้ขึ้น
____________________________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการ ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2517
หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 มีกำหนดระยะเวลาให้ใช้บังคับได้เพียงหนึ่งปี และจะสิ้นสุด ลงในวันที่ 26 ธันวาคม 2517 แต่ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ยังไม่มีแนวโน้มที่จะสิ้นสุดลง สมควรขยายระยะเวลาการใช้บังคับพระราช กำหนดดังกล่าวออกไปอีกหนึ่งปี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
[รก.2517/221/527/24 ธันวาคม 2517]
____________________________________
พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2518
หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ โดยที่ พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 กำหนดเวลาใช้บังคับได้เพียงสองปี และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 26 ธันวาคม 2518 แต่ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงยังไม่มีแนวโน้ม ที่จะสิ้นสุดลง สมควรขยายระยะเวลาการใช้บังคับออกไปอีกหนึ่งปี แต่เนื่องจากขณะนี้ไม่อยู่ในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภา และเรื่องนี้เป็น กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ขึ้น
[รก.2518/260/1พ./23 ธันวาคม 2518]
____________________________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการ ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519
หมายเหตุ :-เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ กำหนดเวลาการใช้บังคับพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการ ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ซึ่งแก้ไขเพ ิ่มเติมครั้งสุดท้าย โดยพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2518 จะสิ้นสุดลงในวันที่ 26 ธันวาคม 2519 แต่เนื่องจากขณะนี้ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงในราชอาณาจักร ยังคงมีอยู่ สมควรขยายเวลาการใช้บังคับพระราชกำหนดดังกล่าวต่อไป อีกระยะหนึ่ง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
[รก.2519/756/49พ./24 ธันวาคม 2519]
____________________________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการ ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2520
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 กำหนดเวลาการใช้บังคับไว้เพียงหนึ่งปี ซึ่งต่อมาได้มีการ ขยายเวลาการใช้บังคับรวม 3 ครั้ง ๆ ละหนึ่งปี บัดนี้กำหนดเวลาการ ใช้บังคับกฎหมายดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2520 แต่โดยที่ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีอยู่และมีความจำเป็นต้อง ใช้กฎหมายนี้ต่อไปอีกโดยไม่อาจกำหนดระยะเวลาไว้ได้ ดังนั้นเพื่อให้ สามารถใช้บังคับกฎหมายนี้ได้ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่นเดียวกับ กฎหมายอื่นทั่ว ๆ ไป สมควรยกเลิกมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนด ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
[รก.2520/133/1พ./26 ธันวาคม 2520]