ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ 6
ลักษณะ 6
อายุความ
________
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของ เจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด หนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อ พ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
*[มาตรา 1754 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535]
มาตรา 1755 อายุความหนึ่งปีนั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก
_______________________
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่
[รก.2468/-/1/11 พฤศจิกายน 2468]
_______________________
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 3 ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่
[รก.2471/-/1/1 มกราคม 2471]
_______________________
พระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[รก.2473/-/442/18 มีนาคม 2473]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477
[รก.2477/-/441/2 กันยายน 2477]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 2)
[รก.2478/-/71/21 เมษายน 2478]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 (ฉบับที่ 3)
[รก.2478/-/337/5 พฤษภาคม 2478]
_______________________
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477
[รก.2478/-/474/29 พฤษภาคม 2478]
______________________
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 6 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477
[รก.2478/-/529/7 มิถุนายน 2478]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2478
[รก.2478/-/1320/29 กันยายน 2478]
______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2479
[รก.2479/-/634/22 พฤศจิกายน 2479]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2495
[รก.2495/12/189/26 กุมภาพันธ์ 2495]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2496
[รก.2496/8/176/27 มกราคม 2496]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2519
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทย มาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติว่า ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน จำต้องแก้ไขบทบัญญัติ ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 20 เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มบทบัญญัติ มาตรา 1445 ซึ่งให้ศาลมีอำนาจอนุญาตให้ชายและหญิงที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ทำการ สมรสได้โดยบัญญัติให้ชายหญิงซึ่งได้รับอนุญาตจากศาลทำการสมรสได้ก่อนอายุครบสิบแปดปี บริบูรณ์บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส นอกจากนี้ได้พิจารณาเห็นว่า มาตรา 37 มาตรา 38 มาตรา 39 มาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 42 มาตรา 43 มาตรา 50 และวรรคสองของมาตรา 137 เป็นบทบัญญัติที่ จำจัดสิทธิสตรี สมควรยกเลิกเสีย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น [รก.2519/129/1พ./15 ตุลาคม 2519]
_______________________
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยมาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติว่าชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน จำต้องแก้ไข บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น [รก.2519/129/4พ./15 ตุลาคม 2519]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2521
มาตรา 11 การเสนอขายหุ้นและหุ้นกู้ต่อประชาชนที่ได้มีการจดทะเบียนหนังสือ ชี้ชวน หนังสือบอกกล่าวป่าวร้อง หรือหนังสืออย่างอื่นในการชี้ชวนให้ซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้โดยถูกต้อง ตามกฎหมายในวันประกาศพระราชบัญญัตินี้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้คงดำเนินการต่อไป ได้อีกไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำมาตรา 1230 มาตรา 1231 มาตรา 1232 มาตรา 1233 มาตรา 1234 และมาตรา 1235 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับจนกว่าจะพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว
มาตรา 12 บริษัทใดจัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่หนึ่งร้อยคนอยู่แล้ว หรือมีผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งร้อย คนขึ้นไปภายหลังที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงเป็นบริษัทตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ต่อไป
หมายเหตุ:-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากได้มีการประกาศใช้
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2521
ซึ่งกำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดต้องมีผู้ถือหุ้น ตั้งแต่หนึ่งร้อยคน
และมีบทบัญญัติควบคุมการเสนอขายหุ้นและหุ้นกู้ เพื่อป้องกันมิให้ประชาชน
ถูกหลอกลวงแล้ว สมควรกำหนดห้ามมิให้บริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มี
ผู้ถือหุ้นถึงหนึ่งร้อยคนและเสนอขายหุ้น หรือหุ้นกู้ต่อประชาชน
ซึ่งจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 หมวด 4
เฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องให้ สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533
มาตรา 62 ในกรณีที่มีการให้ของหมั้นกันไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ของหมั้นดังกล่าวตกเป็นสิทธิแก่หญิงเมื่อได้ทำการสมรสแล้ว
มาตรา 63 นิติกรรมที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้กระทำไปในการจัดการสินสมรส โดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การให้ สัตยาบันหรือการขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้น ให้เป็นไปตามมาตรา 1480 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 64 ถ้ามีคดีฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะเพราะเหตุสมรส ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 1452 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ค้างพิจารณาอยู่ในศาลใด ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ศาลนั้นพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปได้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
มาตรา 65 ในกรณีที่มีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1452 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพหรือสิทธิในมรดกของคู่สมรสที่ตายซึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ที่สมรสโดยสุจริตมีอยู่แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตามมาตรา 1499 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 66 ในการจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ถ้าเจ้าหน้าที่ได้ส่ง แจ้งความการขอจดทะเบียนไปยังเด็กหรือมารดาเด็กแล้ว แต่ยังไม่มีการจดทะเบียนก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายให้บังคับตามบทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 67 บิดาซึ่งได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ถอนความเป็นผู้ปกครองได้ตามมาตรา 1552 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าบิดาจะได้เคย ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอนความเป็นผู้ปกครองมาก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม
มาตรา 68 ในกรณีที่มีการตั้งผู้ปกครองโดยพินัยกรรม ถ้าผู้ที่ทำพินัยกรรม ตายก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ การตั้งผู้ปกครองให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 69 บทบัญญัติมาตรา 1598/22 และมาตรา 1598/23 แห่งประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความ สมบูรณ์ของการให้ความยินยอมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่ได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา 70 บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส สัญญา ก่อนสมรส การเป็นบิดามารดากับบุตร การเป็นผู้ปกครอง และการรับบุตรบุญธรรมที่ได้มีอยู่แล้ว ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 71 บรรดาอายุความหรือระยะเวลาที่บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ได้กำหนดไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากยังไม่สิ้นสุดลงในวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ และอายุความหรือระยะเวลาที่กำหนดขึ้นใหม่นั้นแตกต่างกับอายุความหรือระยะ เวลาที่กำหนดไว้เดิม ก็ให้นำอายุความหรือระยะเวลาที่ยาวกว่ามาบังคับ
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทบัญญัติบรรพ 5
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยความสมบูรณ์ของการหมั้นและผลของการหมั้น
การคุ้มครองคู่สมรสที่วิกลจริต การจัดการสินสมรส การแยกสินสมรสและรวมสินสมรส
การสมรสที่เป็นโมฆะ เหตุหย่า ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรในกรณีมีการหย่า
บทสันนิษฐานความเป็น บุตรชอบด้วยกฎหมาย การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร
การฟ้องปฏิเสธความเป็นบุตร การจดทะเบียน เด็กเป็นบุตร การฟ้องให้รับเด็กเป็นบุตร
อำนาจปกครอง การเป็นผู้อนุบาลและผู้พิทักษ์ การจัดการ ทรัพย์สินของผู้เยาว์
สิทธิหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร ผู้ปกครอง และบุตรบุญธรรม นั้น ยังไม่
สอดคล้องและไม่เอื้ออำนวยต่อสภาพความเป็นอยู่ในสังคมปัจจุบัน สมควรปรับปรุงแก้ไขให้
เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
_______________________
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2535
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากบทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บทบัญญัติ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และบรรพ 2 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2468 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานและบทบัญญัติหลายประการล้าสมัย ไม่เหมาะสมและสอดคล้อง กับสภาพสังคมปัจจุบัน สมควรปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราช บัญญัตินี้
[รก.2535/42/1/8 เมษายน 2535]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2521
ให้ยกเลิกการกำหนดอัตราส่วนการถือหุ้น และจำนวนผู้ถือหุ้น ของบริษัทมหาชนจำกัด
และเพื่อให้การแปรสภาพบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เป็นไป โดยความสมัครใจ
ในกรณีที่บริษัทจำกัดประสงค์จะชี้ชวนให้ประชาชนร่วมลงทุน จึงจำเป็น
ต้องตราพระราชบัญญัตินี้
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2541
มาตรา 6 บทบัญญัติมาตรา 499 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ มิให้ใช้บังคับแก่สัญญาขายฝากที่ได้ทำไว้ก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับหมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ในเรื่องขายฝากมีบทบัญญัติยังไม่เหมาะสม เป็นเหตุให้มีการเอาเปรียบผู้ขายฝาก โดยการกำหนดสินไถ่ที่สูงเกินควร เพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา รวมทั้งในกรณี ที่ถึงกำหนดเวลาไถ่ผู้ซื้อฝากมักจะหลีกเลี่ยงไม่ยอมให้มีการไถ่จนเป็นเหตุให้ผู้ขายฝากต้องสูญเสีย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไปโดยไม่ชอบธรรม นอกจากนี้ เห็นควรปรับปรุงระยะเวลาในการใช้สิทธิไถ่ ในสัญญาขายฝากให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[รก.2541/18ก/1/9 เมษายน 2541]
_______________________
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2541
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541
ได้บัญญัติให้หนี้ที่เกิดจากการไม่ชำระค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ เงินสะสม เงินสมทบ
หรือเงินเพิ่มให้ลูกจ้าง หรือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่กรณี
มีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของนายจ้าง
ซึ่งเป็นลูกหนี้ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ดังนั้น จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 253
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้สอดคล้องกับ
กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของลูกจ้าง โดยให้รวมความถึง
สิทธิ ของเสมียน คนใช้ และคนงาน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 253 เดิมด้วย
โดยกำหนดลำดับบุริมสิทธิ
ในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับอยู่ในลำดับเดียวกับบุริมสิทธิในค่าภาษีอากร
ประกอบกับสภาวะ เศรษฐกิจและสังคมได้เปลี่ยนแปลงไป สมควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 257
แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และจำนวนเงินสูงสุดของบุริมสิทธิในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิ
ได้รับให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในปัจจุบันด้วย จึงจำเป็นต้องตรา
พระราชบัญญัตินี้
- บรรพ 1
- บรรพ 2
- บรรพ 3
-
บรรพ 4
- บรรพ 5
- บรรพ 6
- ลักษณะ 1
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
- ลักษณะ 2
สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
- ลักษณะ 3
พินัยกรรม
- ลักษณะ 4
วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
- ลักษณะ 5
มรดกที่ไม่มีผู้รับ
- ลักษณะ 6 อายุความ