ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

ร้อยกรอง

เป็นรูปแบบของคำประพันธ์ประเภทหนึ่งต่างจากคำประพันธ์ร้อยแก้ว ร้อยกรองเป็นคำประพันธ์ที่วิจิตรบรรจง เพราะมีกฎเกณฑ์ และอลังการทางภาษาประกอบ ทำให้มีความไพเราะซาบซึ้ง ซึ่งกวีเท่านั้นจึงจะสามารถรจนาได้ ดังนั้นบางทีจึงมีผู้เรียกบทประพันธ์ร้อยกรองว่า กวีนิพนธ์ หรือกวีวัจนะ

ลักษณะที่สำคัญที่สุดอันเป็นเครื่องบังคับของการแต่งบทร้อยกรองก็คือสัมผัส ซึ่งแบ่งออกเป็นสามชนิด คือ

1. สัมผัสพยัญชนะหรือสัมผัสอักษร
2. สัมผัสสระ
3. สัมผัสวรรณยุกต์

การประพันธ์ร้อยกรองแบ่งเป็นหกประเภทคือ โคลง กลอน ร่าย กาพย์ ฉันท์ และเพลงพื้นเมือง คำประพันธ์ประเภทกลอน  คือ เอากลอนแปดเป็นหลักบางทีเรียกว่า กลอนตลาด แต่ถ้าลดคำลงเป็นกลอนหก และกลอนเจ็ด ถ้าเพิ่มคำอีกคำหนึ่งจะเป็นกลอนเก้า รวมทั้งหมดเรียกว่า กลอนสุภาพ หรือกลอนผสม

กลอนสุภาพใช้แต่งบทละครใน ละครนอก เสภา นิราศ เพลงยาว นิทาน ดอกสร้อย และสักวา และยังใช้แต่กลบทชนิดต่าง ๆ อีกด้วย

ยังมีกลอนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า กลอนเพลงพื้นเมือง เช่น เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย เพลงเรือ เพลงปรบไก่ เพลงชาวไร่ (ระบำชาวไร่) เพลงชาวนา เพลงเกี่ยวข้าว เพลงพิษฐาน (อธิษฐาน) เพลงโคราช และเพลงรำอีแซว

คำประพันธ์ประเภทโคลง  เดิมเป็นโคลงโบราณแปดชนิดที่มีระบุไว้ในคัมภีร์กาพย์สารวิลาสินีและคัมภีร์กาพยคันถะ ต่างกับโคลงในสมัยปัจจุบัน คือ โคลงสี่สุภาพ โคลงคั้นวิวิธมาลี และโคลงคั้นบาทกญชรตรงที่โคลงโบราณเหล่านั้นไม่บังคับเอก - โท แต่โคลงปัจจุบันบังคับเอกโท ตามตำแหน่งที่กำหนดไว้ในแผนคือ เอกเจ็ดแห่งและโทสี่แห่ง

คำประพันธ์ประเภทร่าย  เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่ใช้แต่งผสมกับโคลงในลิสิตสายชนิดคือ ร่ายโบราณ ร่ายสุภาพ และร่ายคั้น ส่วนร่ายอีกชนิดหนึ่งใช้แต่งโดด ๆ ไม่ใช้แต่งลิสิต คือร่ายยาว ซึ่งบางทีเรียกว่า กลอนเทศน์ ตัวอย่างร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก

คำประพันธ์ประเภทกาพย์  เป็นคำประพันธ์ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับฉันท์เพียงแต่ไม่บังคับ ครุ - ลหุ เท่านั้นเอง ตัวอย่างคือ กาพย์ยานี ซึ่งก็คืออินทรวิเชียรฉันท์ที่ไม่บังคับครุ - ลหุ นั่นเอง กาพย์อาจจะแต่งโดด ๆ ก็ได้ แต่ถ้าใช้แต่งประสมกับคำประพันธ์ชนิดอื่น ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น กาพย์ยานีหนึ่งบท ผสมโคลงสี่สุภาพหนึ่บท เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง ถ้าขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพหนึ่งบทต่อด้วยกาพย์ยานีกี่บทก็ได้เรียกว่า กาพย์เห่ หรือกาพย์เห่เรือ ถ้าขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพ แล้วต่อด้วยกาพย์สุรางคนางค์ก็เรียกว่า กาพย์ขับไม้

คำประพันธ์ประเภทฉันท์  ได้แบบแผนมาจากอินเดียและลังกาโดยตรงคำว่าฉันท์แบ่งฉันท์ออกเป็นสองชนิดคือ ฉันท์ประเภทวรรณพฤติ 81 ชนิด และมาตราพฤติ 27 ชนิด ฉันท์วรรณพฤติประกอบด้วยพยางค์ คือ หนึ่งพยางค์นับเป็นหนึ่งคำ แต่ฉันท์มาตราพฤติกำหนดด้วยมาตรา โดยนับเลียงเบาหรือลหุเป็นหนึ่งมาตรา

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย