ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
เมารยะ
หรือโมริยะ เป็นนามเรียกกษัตริย์พวกหนึ่งในอินเดียสมัยพุทธกาล และเป็นชื่อราชวงศ์สำคัญราชวงศ์หนึ่งของอินเดียภายหลังพุทธกาล คัมภีร์ปราณะกล่าวว่า พระเจ้าจันทรคุปต์ ซึ่งเป็นผู้ตั้งราชวงศ์เมารยะ ในเวลาต่อมาเป็นโอรสของนางมุรา สนมองค์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายศุทร ของกษัตริย์นันทะองค์สุดท้าย แห่งกรุงปาฏีลบุตร เพราะเหตุที่สืบเชื้อสายมาจากนางมุรา พระเจ้าจันทรคุปต์จึงได้ชื่อว่าเป็น "โมริยะ หรือ เมารยะด้วย
ประมาณปี พ.ศ.200 พระเจ้าอะเล็กซานเดอร์แห่งมะเซดอนได้นำกองทัพรุกรานผ่านเปอร์เซียเอเซียกลาง เข้ามาจนถึงภาคเหนือของอินเดียได้ตีเมืองต่าง ๆ ในอินเดียตอนเหนือไว้ได้มากมาย ในสมัยนั้นพระราชบิดาของจันทรคุปต์ ถูกปลงพระชนม์ที่ชายแดนโมริยนคร พระมารดาซึ่งกำลังทรงครรภ์ ได้อพยพหนีภัยเข้ามาอยู่ในเมืองปาฏลีบุตร และได้คลอดบุตรที่นั่น ต่อมามีชาวเมืองดักศิลาคนหนึ่งชื่อ จาณักยะ ได้รับจันทรคุปต์ไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม แล้วพาไปศึกษาศิลปศาสตร์ต่าง ๆ ที่เมืองตักศิลาเวลานั้น ดินแดนในอินเดียทางตะวันตก รวมทั้งเมืองตักศิลา ตกอยู่ในอำนาจของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์แล้ว จาณักยะกับจันทรคุปต์ จึงได้คิดอ่านกอบกู้เอกราช โดยซ่องสุมผู้คนไว้มากมาย แล้วส่งไปเป็นกองโจร ออกรังควานกองทัพพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์อยู่ตลอดเวลา
เมื่อพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์แล้ว จันทรคุปต์ก็ประกาศเข็งแมือง และดำเนินการอำนาจกรีกให้พ้นไปจากอินเดียตะวันตก จนเป็นผลสำเร็จ โดยโจมตีเมืองปัญจาปก่อน แล้วจึงยกกองทัพไปตีเมืองต่าง ๆ แถบลุ่มน้ำคงคาได้สำเร็จ และตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นในเขตปัญจาปแล้วยกกองทัพไปตีเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นกับอาณาจักรมคธก่อน แล้วจึงเข้าตีเมืองปาฏลีบุตรได้ จับกษัตริย์นันทะได้ จึงตั้งตนเป็นใหญ่ในเมืองปาฏลีบุตร เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์โมริยะ และได้แผ่อาณาเขตเข้าไปถึงอัฟกานิสถาน และบาลูชิสถาน แล้วได้สร้างสันติภาพถาวรกับพวกกรีก โดยได้อภิเษกกับธิดาของซีลิวกุสเจ้าเมืองกรีก พระเจ้าจันทรคุปต์ครองราชย์อยู่ได้ 24 พรรษาก็มอบราชสมบัติให้พระราชโอรสพระนามว่า พินทุสาร และสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ.243
พระเจ้าพินทุสารได้แผ่อำนาจไปจนถึงไมซอร์ทางภาคใต้ พระองค์มีศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์มาก ต่างจากพระราชบิดา ที่เลื่อมใสในศาสนาเชนองค์หนึ่ง ของพระองค์พระนามว่า ธรรมมามีพระราชโอรสสององค์คือ เจ้าชายอโศกกับเจ้าชายติสสะเจ้าชายอโศก ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราช ปกครองแคว้นอวันตี ซึ่งมีเมืองอุชเชนีเป็นเมืองหลวง เมื่อพระเจ้าพินทุสารสวรรคต พระองค์ได้ยึดราชสมบัติ ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา เมื่อปี พ.ศ.271
ในคัมภีรมหาวงศ์กล่าวว่า พระเจ้าอโศกสั่งให้ประหารชีวิตพระเชษฐา และพระอนุชาต่างพระมารดาทั้งหมดรวม 99 องค์ เหลือแต่เจ้าชายติสสะ ซึ่งพระองค์แต่งตั้งให้เป็นอุปราช แต่ต่อมาได้ออกผนวช และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
ในระยะแรก ๆ ที่ขึ้นครองราชย์พระเจ้าอโศกมิได้สนพระทัยในเรื่องศาสนา เลยมุ่งแต่จะแผ่อำนาจอย่างเดียว สามารถขยายอาณาจักรไปเกือบทั่วดินแดน ที่เรียกว่า อินเดีย ปัจจุบันนี้ยกเว้นดินแดนภาคใต้ที่อยู่ในปกครองของพวกทมิฬ ทางเหนือได้แผ่อาณาจักรไปจดภาคใต้ของอาณาจักรซีเรีย ซึ่งอยู่ในปกครองของกรีก เอเชียตะวันตก แคชเมียร์ เนปาล เบงกอลภาคเหนือ และภาคตะวันออก การทำสงครามโดยไม่ปราณีศัตรูทำให้พระองค์ได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย
ครั้งหลังสุดเมื่อพระองค์ทรงพิชิตแคว้นกสิงคราษฎร์ ซึ่งเป็นแคว้นใหญ่ และมีอำนาจมากแคว้นหนึ่งทางภาคใต้ของอินเดีย ได้แล้วทรงรู้สึกสลดใจมาก เพราะในสงครามครั้งนั้นได้มีผู้คนล้มตายกว่าแสนคน เป็นจำนวนมากยิ่งกว่าครั้งใด ๆ จึงทรงคิดจะหันมาเผยแผ่ธรรมานุภาพแทน จึงทรงสอบถามหาความรู้ เกี่ยวกับศาสนาต่าง ๆ ได้พบนิโครชสามเณร จึงให้อาราธนาไปสนทนาสอบถามธรรมสามเณรนิโครธ เป็นโอรสของเจ้าชายสุมนะพระราชโอรสองค์หนึ่ง ของพระเจ้าพินทุสาร และได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เทศนาเรื่องความไม่ประมาท พระเจ้าอโศกทรงเลื่อมใสมากทรงประกาศรับไตรสรฌาคมนี้นับถือพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาเลิกนับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งพระราชธิดานับถือมาก่อน
เมื่อพระเจ้าอโศกทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา แล้วก็บำเพ็ญตนเป็นอุบาสกที่ดีให้เป็นแบบอย่างของประชาชน ทรงผนวชอยู่ระยะหนึ่ง ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ในการทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สาม เมื่อปี พ.ศ.303 แล้วส่งพระเถระออกประกาศพระพุทธศาสนาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมเก้าสายด้วยกัน พระองค์ได้เสด็จธรรมยาตราไปนมัสการสถานที่สำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนาและรับสั่งให้สร้างเสาศิลา และแผ่นศิลาจารึกคำสอนของพระพุทธเจ้า และคำแนะนำของพระองค์ให้ประชาชนตั้งอยู่ในธรรมไว้ทั่วทุกหนทุกแห่งที่พระองค์เสด็จไปถึง ทำให้พระองค์ได้รับสมญานามใหม่ว่า ธรรมาโศก แปลว่าอโศกผู้ทรงธรรม และอโศกเทวานัมปิยทัสสี แปลว่าอโศกผู้เป็นที่รักของทวยเทพ พระองค์ทรงครองราชย์อยู่ 37 พรราา สวรรคตเมื่อปี พ.ศ.308 พระราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบต่อมา กษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาล้วนแต่ทรงอ่อนแอ และได้ถูกแม่ทัพใหญ่ชื่อ ปุษยมิตร ยึดอำนาจแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ตั้งราชวงศ์ศุงดงขึ้น
>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>